เสียวฟัน ใครว่าเรื่องเล็ก

เสียวฟัน ใครว่าเป็นเรื่องเล็ก แต่ความจริงแล้วเป็นปัญหาที่น่าหนักใจ เพราะอาการเสียวฟัน เมื่อเป็นแล้ว สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในตอนกินอาหารที่ ไม่ว่าจะเป็นของร้อนหรือเย็น ของหวานที่คนไทยชอบกิน เช่น ไอศครีม บิงซู น้ำเย็น เท่านั้นยังไม่พอในช่วงหลังจากทำฟัน เช่น ฟอกสีฟัน อาการเสียวฟันก็มักเล่นงานอย่างรุนแรงพอๆ กับในช่วงแปรงฟันเลยทีเดียว

อาการเสียวฟันไม่เพียงเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมรอบตัวเท่านั้น แต่สำหรับบางคนอายุที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยไลฟ์สไตล์การรับประทานอาหาร และการแปรงฟันอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้อีกด้วย ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ตัวเลขของอายุที่เพิ่มขึ้น

 

อาการเสียวฟัน เป็นหนึ่งในปัญหาของช่องปากที่พบได้ร้อยละ 8 – 57 เลยทีเดียว รวมทั้งเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่ห้ามละเลยโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจส่งผลกระทบถึงเหงือกได้

เสียวฟัน เกิดขึ้นเนื่องจากเส้นประสาทในฟันตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอกไวกว่าปกติ ซึ่งสิ่งกระตุ้นที่ว่าก็มีมากมายไม่ว่าจะเป็น ของเย็น ของร้อน ของรสจัด การแปรงฟันที่ผิดวิธี หรือบ่อยเกินไป หรือแม้แต่ลมที่พัดเบาๆ ก็ทำให้เสียวฟันได้เช่นกัน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเคลือบฟัน ที่ช่วยปกป้องเนื้อฟันและเส้นประสาทถูกทำลาย และเมื่อไม่มีเคลือบฟัน สิ่งกระตุ้นเหล่านี้จึงสัมผัสกับเส้นประสาทจนเสียวฟันได้ง่าย

นอกจากเคลือบฟันแล้ว อีกสิ่งที่มีหน้าที่ปกป้องเส้นประสาทในฟัน คือ เหงือก ซึ่งปัญหาที่เกิดกับเหงือก ไม่ว่าจะเป็นเหงือกบวม เหงือกร่น เหงือกอักเสบ ล้วนส่งผลให้เกิดอาการเสียวฟันทั้งสิ้น เพราะเมื่อเหงือกร่นลงไป จนเผยเนื้อฟันมากขึ้น ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสการเสียวฟัน

สำหรับต้นตอที่ทำลายเคลือบฟัน และเหงือกก็มีด้วยกันหลายสาเหตุ คือ

อายุ

เมื่ออายุมากขึ้นเท่ากับการใช้งานฟันที่ผ่านมาเนิ่นนาน มีโอกาสทำให้เคลือบฟันสูญสลายไป นอกจากนั้นแล้ว ฮอร์โมนเพศหญิงที่ลดน้อยลง ก็มีส่วนทำให้เหงือกร่นได้เช่นเดียวกัน

อาหารและเครื่องดื่มที่เป็นกรด

สิ่งเหล่านี้จะไปทำลายเคลือบฟัน จนเผยเนื้อและเส้นประสาทฟัน ทำให้ถูกกระตุ้นได้ง่าย

การฟอกสีฟัน

เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนชอบทำ ด้วยการขัดฟอกสีให้ขาวขึ้น ซึ่งในตัวน้ำยาฟอกสีฟันจะกัดกร่อนเคลือบฟันให้บางลง จนเพิ่มโอกาสเสียวฟันได้

การบดฟัน

ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการกินอาหาร หรือการกัดฟันตอนนอน จะทำเกิดความรู้สึกเสียวแปลบที่ฟันทุกซี่

การแปรงฟัน

ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันผิดวิธี การแปรงแบบขัดถูฟันมากเกินไป รวมทั้งการแปรงฟันมากกว่าสามครั้งต่อวัน ล้วนแล้วแต่เป็นการทำลายเคลือบฟันทั้งสิ้น

ฟันบิ่น

ฟันบิ่น แตกหัก รวมทั้งฟันผุ ทำให้เปิดเนื้อฟัน

สำหรับการป้องกันการเสียวฟัน ควรเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ หากฟันผุ บิ่น หรือแตกหัก ควรพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร โดยลดอาหารรสจัด ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการทำลายเคลือบฟัน

นอกจากนั้นแล้ว การแปรงฟันอย่างถูกวิธีก็เป็นสิ่งที่สำคัญ และไม่ควรแปรงฟันเกิน 3 ครั้งต่อวัน เช่นเดียวกับการเลือกใช้ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟันก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยหากจะรักษาอาการเสียวฟัน ควรเลือกยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสารลดการเสียวฟัน อย่าง Stannous Fluoride ในปริมาณ 0.4% จึงจะช่วยบรรเทาอาการเสียวฟันได้

อีกหนึ่งคุณสมบัติของยาสีฟันที่จะช่วยลดอาการเสียวฟันได้ คือต้องเป็นยาสีฟันที่ลดการสะสมของแบคทีเรีย หรือที่มักเรียกกันว่า คราบพลัคซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดโรคเหงือก

มาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายท่านเริ่มเป็นกังวลว่าจะหายาสีฟันที่ช่วยดูแลและปกป้อง ทั้งเคลือบฟัน และเหงือก รวมถึงมีสารสำคัญในการลดอาการเสียวฟันอย่าง Stannous Fluoride ในปริมาณที่เหมาะสม ในหลอดเดียวกันได้จากที่ไหน แอดก็มีมาแนะนำสำหรับคนที่มีอาการเสียวฟันบ่อย และเหงือกอักเสบระยะเริ่มต้น  นั้นคือ SENSODYNE SENSITIVITY & GUM

SENSODYNE SENSITIVITY & GUM ยาสีฟันที่ทำหน้าที่ถึง 2 ประสิทธิภาพ เป็นการดูแลแบบ DUAL ACTION, DOUBLE PROTECTION เป็นการดูแลปัญหาเสียวฟันอย่างตรงจุด คือ ช่วยทั้งสร้างชั้นปกป้องเคลือบฟัน ลดอาการเสียวฟันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีส่วนผสมของ Stannous Fluoride สารลดการเสียวฟันในปริมาณ 0.454% ตามมาตรฐานเพื่อการลดอาการเสียวฟัน  เริ่มลดอาการเสียวฟันครั้งแรกที่ใช้

ไม่เพียงเท่านั้นยังช่วยขจัดคราบพลัค จากการสะสมของแบคทีเรีย สาเหตุหนึ่งของปัญหาสุขภาพเหงือก นอกจากนั้นแล้ว เซ็นโซดายน์ เซ็นซิทิวิตี้ & กัม ยังผ่านการพิสูจน์ทางคลินิกแล้ว จึงมั่นใจได้ว่าช่วยสร้างชั้นปกป้องฟัน ลดการเสียวฟัน และดูแลเหงือกให้มีสุขภาพดี เมื่อใช้เป็นประจำ

คุณสมบัติดีเด่นสมกับที่เป็นแบรนด์ที่เชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการเสียวฟัน และทันตแพทย์ 9 ใน 10 คนแนะนำให้ใช้เซ็นโซดายน์สำหรับอาการเสียวฟัน   และหากใครมีอาการรุนแรงมาก แนะนำให้ไปปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาให้ถูกจุด

ข้อมูลจาก  อ.ทพญ. สุธารัตน์ ชัยเฉลิมศักดิ์ โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สนับสนุนโดย SENSODYNE SENSITIVITY & GUM

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.