Life in ‘Eco Building’ ชีวิตดีๆ ในอาคารที่ออกแบบเพื่อความยั่งยืน

ชีวิตคนทำงานส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ในอาคารมากกว่าวันละ 6 ชั่วโมง ดังนั้น ลักษณะอาคารที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อผู้ที่ทำงานในอาคาร วันนี้ทาง สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy) จะมาช่วยคุณๆ ไปทำความรู้จักกับอาคารยั่งยืน หรือ อาคารสีเขียวกันค่ะ

Suggestions form the expert คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านอาคารสีเขียว

Dr. Lubo Jankovic อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาคารเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ประจำ Birmingham City University’s คณะ School of Architecture อธิบายว่า ปัจจุบันมีการวัดคะแนนความยั่งยืนตามระบบต่างๆ มากมาย หลักๆ แล้วในระบบสากลจะใช้มาตรฐาน รวมถึง LEED, EDGE, WELL, TREES และ TRUE Zero Waste โดยเกณฑ์ต่างๆ จะมีแนวทางการพิจารณาโดยภาพรวมที่ใกล้เคียงกัน แบ่งเป็นเกณฑ์ในการออกแบบ 6 ข้อ ดังนี้

  • มีเป้าหมายในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นต์ อาคารที่ดีควรส่งเสริมการประหยัดพลังงานเพราะการใช้พลังงานส่งผลต่อการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกถึง 40% ตัวอย่างการประหยัดพลังงานในอาคารที่เห็นได้ชัดเจน เช่น การออกแบบให้มีช่องแสง ทำให้ลดการใช้ไฟฟ้าส่องสว่าง การออกแบบให้มีโครงสร้างที่มีการระบายอากาศที่ดี ช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคารได้จึงลดการประหยัดค่าไฟฟ้าในการใช้เครื่องปรับอากาศได้
  • ลดการใช้วัสดุที่มีสารตกค้าง ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่ในอาคาร เช่น สารฟอร์มาดิไฮด์ สารโลหะหนัก และสารเคมีอื่นๆ หันไปใช้วัสดุจากธรรมชาติ หรือ วัสดุรีไซเคิลเพื่อช่วยลดประมาณขยะ เป็นวัสดุหลักทดแทนของเดิม แม้จะมีราคาสูงแต่จะปลอดภัยทั้งต่อผู้ที่อาศัยในอาคารและดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม
  • ลดปริมาณการใช้วัสดุในการก่อสร้างที่ไม่จำเป็น โดยต้องอาศัยความรู้ทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมผสานเข้าด้วยกัน ปัจจุบัน มีเทคโนโลยีในการคำนวนให้อาคารหนึ่งๆ สามารถคงความแข็งแรงไว้ได้เช่นเดิมโดยลดปริมาณวัสดุส่วนอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นออกให้เหลือเฉพาะวัสดุที่จำเป็นต่อโครงสร้างและการตกแต่งเพียงเท่าที่เหมาะสม นอกจากช่วยลดการสิ้นเปลืองของวัสดุแล้ว ยังทำให้ลดเศษวัสดุที่เหลือทิ้งหลังการก่อสร้างได้โดยปริยาย

  • มีการออกแบบอาคารที่ส่งเสริมให้ผู้ที่ใช้อาคารเข้าถึงขนส่งสาธารณะ เช่น การเลือกพื้นที่ก่อสร้างให้เข้าถึงจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน ป้ายรถเมล์ เพื่อกระตุ้นในผู้ที่ทำงานในอาคารหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นการลดการใช้รถส่วนตัวที่จะเพิ่มไอเสียจากรถยนต์ขึ้นสู่อากาศ กลายเป็นที่มาของก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มปริมาณ PM 2.5 ซึ่งจะกลับมาส่งผลกระทบต่อตัวผู้ที่อาศัยในอาคารและคนอื่นๆ ที่อาศัยรอบๆ อาคาร รวมไปถึงผู้คนที่อยู่ในเส้นทางการใช้รถยนต์ของผู้ที่ทำงานในอาคารแห่งนี้ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย ข้อนี้หลายๆ คนไม่ได้คำนึงถึง ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ ทางสำนักงานควรจัดแคมเปญเพื่อกระตุ้นในเกิดการตระหนักถึงปัญหานี้ควบคู่ไปด้วย เช่น การมี Car Free Day อย่างน้อย 1 วันในทุกๆ สัปดาห์ 
  • ออกแบบโดยคำนึงถึงสุขภาพของผู้ที่ทำงานในอาคาร เช่น การส่งเสริมให้เกิดการเดินเพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่ใช้อาคารได้ออกกำลังกาย การเพิ่มความสูงของเพดาน ช่วยเรื่องการระบายอากาศและเพิ่มความโล่งโปร่งสบายตา สร้างความรู้สึกผ่อนคลายไม่อึดอัด 
  • เพิ่มการใช้พื้นที่ส่วนกลาง พื้นที่สีเขียว และพื้นที่ซึ่งเชื่อมต่อกับชุมชนรอบๆ ทำให้ผู้ที่ทำงานในอาคารได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกันขณะทำงาน ได้ออกไปใช้พื้นที่สีเขียวเพื่อพักผ่อนในช่วงเวลาที่ต้องการการผ่อนคลาย และยังได้มีความรู้สึกเชื่อมต่อกับชุมชนรอบๆ สร้างความรู้สึกกลมกลืนไปกับผู้คนและสิ่งแวดล้อมในบริเวณรอบๆ อาคาร

 

Together, we can do it! ทุกคนช่วยกันสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและสังคมน่าอยู่ได้
เราจะเห็นได้ว่า การส่งเสริมสุขภาพและการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน ทางสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy) หวังว่า เมื่อสังคมของเรามีความรู้ความเข้าใจในประเด็นนี้มากขึ้นแล้ว ในอนาคตจะมีอาคารสีเขียวที่ดีทั้งต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเช่นนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ช่วยให้สมาชิกของสังคมทุกๆ คนพลอยมีสุขภาพกายใจที่ดี มีสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่มากขึ้นตามไปด้วยค่ะ

เราอยากให้ทุกฝ่ายมาร่วมสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับทุกๆ คน ประเทศไทยเราจะได้น่าอยู่และมีประชากรที่มีความสุข สุขภาพแข็งแรง สามารถทำงานและพัฒนาประเทศได้ต่อไปค่ะ

ทั้งนี้ ในวันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00-17:00   ทาง สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy) มีการอบรมหลักสูตรสัมมนาจากความร่วมมือของสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy) โดย สถาบันอีอีซี อคาเดมี ในหัวข้อ ยกระดับสุขภาวะอาคารด้วยแนวคิดวิศวกรรม…ที่ดีกว่า หรือ NEXT VALUE: Building design for Well-Being โดย 3 วิทยากรด้านสุขภาวะและนวัตกรรมอาคาร ได้แก่ รศ.ดร.นพ.นันทวัช สิทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ โดย สสส. คุณเกชา โกเมน ประธานคณะกรรมการ กลุ่มบริษัท EEC ประธานกรรมการบริษัท ยูนิซัส กรีน เอ็นเนอร์จี จำกัด ผู้อำนวยการสถาบัน อีอีซี อคาเดมี และ คุณอรรณพ กิ่งขจี ผู้ทรงคุณวุฒิระบบปรับอากาศและระบายอากาศ วิศวกรปรับอากาศดีเด่น ACAT ประจำปี 2563 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EEC  ณ ห้องสัมมนา ThaiHealth Academy อาคาร SM Tower ชั้น 34 ติดรถไฟฟ้า BTS สถานีสนามเป้า

ผู้สนใจเข้าอบรมในหัวข้อดังกล่าวสมัครได้โดยติดต่อโทร. 098-271-4316 หรือเว็บไซต์ www.eecacademy.com หรือ FB: EEC Academy บัตร Early Birds ค่าสมัครเพียงท่านละ 2,850 บาท รวมค่าเอกสาร อาหารกลางวัน เครื่องดื่ม และ Vat แล้ว 

ผู้เขียน
ดร.สิริพันธุ์​ กระแสร์แสน
ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy)

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.