“จากหิ้ง…สู่ห้าง!” คอร์ดี้ไทย…งานวิจัยถั่งเช่าฝีมือคนไทย อนุสิทธิบัตรร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

“จากหิ้ง…สู่ห้าง!” คอร์ดี้ไทย…งานวิจัยถั่งเช่าฝีมือคนไทย อนุสิทธิบัตรร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สมัยก่อนคนมักเรียกงานวิจัยทางวิชาการว่า “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” เพราะถูกมองว่างานวิจัยเป็นงานที่มีเพียงนักวิจัยที่ศึกษาเอง รู้เองไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรกับคนทั่วไป หรือจะเรียกว่าเมื่อวิจัยจบแล้วก็ถูกเก็บขึ้นหิ้งไปตามระเบียบไม่ได้ถูกนำมาพัฒนาต่อแต่อย่างใด แต่ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานพยายามนำงานวิจัยที่เคยถูกมองว่า “อยู่บนหิ้ง” มาพัฒนาต่อและนำเข้าสู่เชิงพาณิชย์หรือ “ขึ้นห้าง” เพื่อให้งานวิจัยเหล่านั้นสร้างประโยชน์ให้แก่คนทั่วไปได้อย่างแท้จริง เช่นเดียวกันกับ CordyThai (คอร์ดี้ไทย) งานวิจัยถั่งเช่าโดยศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน ผู้ทรงคุณวุฒิคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่นำงานวิจัยมาพัฒนาและต่อยอดในเชิงพาณิชย์เพื่อให้เกิดประโยชน์กับคนส่วนรวมมากขึ้น

คอร์ดี้

 

โดยงานวิจัยดังกล่าวเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับ “ถั่งเช่า” หรือที่เรียกในภาษาจีนว่า Dong Chong Xia Cao ถั่งเช่าจัดเป็นยาอายุวัฒนะที่ชาวจีนนิยมรับประทานเพื่อบำรุงร่างกายมากว่าพันปีแล้ว มีรายงานการวิจัยจากทั่วโลกยืนยันตรงกันว่าในถั่งเช่ามีสารออกฤทธิ์คอร์ไดซิปิน (Cordycepin) ซึ่งมีเฉพาะในถั่งเช่าเท่านั้น และมีสรรพคุณทางยา ในขณะที่กำลังวิจัยศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ ได้คัดเลือกสายพันธุ์ถั่งเช่าที่สามารถสร้าง สารคอร์ไดซิปิน ในอัตราที่สูง และเจริญเติบโตเร็วมาทำการเพาะเลี้ยง ผสมผสานกับการเพาะเลี้ยงด้วยอาหารสูตรพิเศษ อนุสิทธิบัตร เลขที่ 11927 ทำให้ถั่งเช่าที่วิจัยและเพาะปลูกให้สารออกฤทธิ์สูงและคงที่ในทุกล็อตการผลิต

ถั่งเช่าไทย
การตรวจสอบ DNA โดย Macrogen,Korea พบว่า DNA ตรงกับถั่งเช่าทิเบต 99%

 

โดยปัจจุบันมีงานวิจัยตรวจพบว่าถั่งเช่าจากธรรมชาติในหลายๆ พื้นที่ รวมไปถึงถั่งเช่าที่เพาะเลี้ยงโดยไม่ได้คัดกรองวัตถุดิบให้ดีนั้น มีการปนเปื้อนจากโลหะหนักโดยเฉพาะสารหนู ตะกั่ว ทองแดง และแคดเมียม แน่นอนว่าถ้าผู้บริโภครับประทานถั่งเช่าที่มีโลหะหนักปนเปื้อนสะสมกัน เป็นเวลานาน สามารถส่งผลให้ไตวายได้ ศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ และทีมวิจัยมองเห็นจุดบกพร่องในประเด็นนี้จึงมีการพัฒนาสูตรอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงถั่งเช่าเพื่อลดการปนเปื้อนดังกล่าว รวมถึงมีการเพาะเลี้ยงถั่งเช่าในถังปฏิกรณ์ชีวภาพแบบแนวนอน (Horizontal Bioreactor) และมีการควบคุมอุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส เพื่อช่วยควบคุมคุณภาพปริมาณสารออกฤทธิ์ให้เหมาะสม และปลอดภัยจากโลหะหนัก มีการตรวจค่าโลหะหนัก และตรวจจุลินทรีย์ปนเปื้อนจาก ALS ทุกล็อต จึงทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ในกระบวนการเพาะเลี้ยง

ถั่งเช่า

 

ศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน เล่าว่าจุดเริ่มต้นของการวิจัยถั่งเช่าเกิดจากคุณแม่ป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ จึงอยากหาการแพทย์ทางเลือกในการช่วยรักษาคุณแม่ เพราะตอนนั้นเข้ารับเคมีบำบัดเพียงสองครั้งก็ปฏิเสธการรักษา เนื่องจากร่างกายทนรับสารเคมีจากการรักษาไม่ไหว ซึ่งตนเองมีความเชี่ยวชาญด้านเชื้อรากินแมลงศัตรูพืช (Entomtpathogenic fungi) รู้ว่าถั่งเช่ามีคุณสมบัติเด่นหลายประการ ในการช่วยบำรุงร่างกาย และมีสารออกฤทธิ์สำคัญ 3 ตัว ที่เกี่ยวกับมะเร็งจึงเริ่มวิจัยเกี่ยวกับถั่งเช่าอย่างจริงจัง  โดยสารออกฤทธิ์ตัวแรก คือ พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) ช่วยในการสร้างภูมิต้านทาน ตัวที่สอง คือ

คอร์ไดซิปิน (Cordycepin) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ที่พบได้เฉพาะในถั่งเช่า มีส่วนช่วยไม่ให้เซลล์มะเร็งเพิ่มปริมาณเพราะโครงสร้างของคอร์ไดซิปินคล้ายคลึงกับอะดีโนซีนในดีเอ็นเอ (DNA) เมื่อรับประทานเข้าไปคอร์ไดซิปินจะเข้าไปแทนที่อะดีโนซีนในดีเอ็นเอ เซลล์มะเร็งจะไม่สามารถแบ่งตัวต่อได้อีก ขณะที่ในเซลล์ปกติสามารถแก้ไขตรงนี้ได้ ตัวที่สามคือ อะดีโนซีน (Adenosine) สารตัวนี้จะช่วยเพิ่มพลังงานให้กับเซลล์และทำให้ร่างกายแข็งแรง

คอร์ดี้

 

แม้ว่าถั่งเช่าจะมีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยในการบำรุงร่างกาย แต่ก็อย่างไรก็ตามเคยเกิดกรณีพิพาทเรื่องการกินถั่งเช่าทำให้ไตวาย กระทั่ง สคบ.ต้องออกมาปราบปรามถั่งเช่าที่อวดสรรพคุณเกินจริง ล่าสุดทีมวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ตรวจพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันจำนวน 11 คน บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของถั่งเช่าสีทองทั้งในรูปแบบแคปซูล ชา หรือกาแฟ พบว่าผู้ป่วยมีค่าการทำงานของไตที่ลดลง ทางคณะผู้วิจัยจึงแนะนำให้เลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของถั่งเช่าสีทอง ซึ่งปัจจัยที่ส่งให้เกิดผลทางลบนั้นอาจจะเป็นสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ซึ่งไม่เกี่ยวกับถั่งเช่าโดยตรง

 

การเลือกรับประทานถั่งเช่านั้น ควรเลือกถั่งเช่าที่มีการตรวจการปนเปื้อนโลหะหนักทุกล็อตการผลิต และเลือกรับประทานถั่งเช่าที่มีสารออกฤทธิ์อย่างเหมาะสม ไม่หลงเชื่อการอวดสรรพคุณเกินจริง ส่วนคุณภาพของถั่งเช่าถูกกำหนดด้วยหลายปัจจัย แต่หลักๆ แล้วคือสายพันธุ์ของถั่งเช่า การเพาะเลี้ยง สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยสร้างสารออกฤทธิ์และลดการปนเปื้อนของโลหะหนักนั่นเอง โดยถั่งเช่าสายพันธุ์ทิเบตมีงานวิจัยรองรับว่าปลอดภัยกว่าถั่งเช่าสีทอง ดังนั้นหากจะเลือกรับประทานถั่งเช่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรเลือกถั่งเช่าที่มาจากแหล่งผลิตที่ปลอดภัยและมีงานวิจัยรองรับชัดเจน

 

 

ในปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดนวัตกรรมและงานวิจัยต่างๆ ออกมาสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนวัตกรรมและงานวิจัยทางด้านการแพทย์ ที่สามารถเข้ามาช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น สิ่งสำคัญอีกประการคือเมื่อมีการวิจัยและพัฒนาแล้ว ควรมีการนำมาต่อยอดเพื่อส่งงานวิจัยเหล่านั้นออกมาสู่สังคมโลกและสร้างประโยชน์ต่อไปในอนาคต

งานวิจัยถั่งเช่าคอร์ดี้ไทยคือตัวอย่างหนึ่งของการนำงานวิจัย “จากหิ้งมาสู่ห้าง” ซึ่งทางผู้วิจัยร่วมกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการนำพางานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ทรัพย์สินทางปัญญา ปัจจุบันงานวิจัยถั่งเช่าคอร์ดี้ไทยได้รับการยอมรับจากทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งบริษัท คอร์ดี้ไบโอเทค จำกัด ได้รับมาตรฐานการส่งออกจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Food and Drug Administration หรือ FDA) ถือเป็นความสำเร็จหนึ่งของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ยกระดับงานวิจัยอย่างแท้จริง

สนับสนุนข้อมูลโดย CordyThai (คอร์ดี้ไทย)

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.