กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบมอญ

กระเจี๊ยบเขียว ผักสมุนไพร…สรรพคุณชั้นเลิศ ลดไขมัน ขจัดสารพิษ ต้านอนุมูลอิสระ

กระเจี๊ยบเขียว ผักพื้นบ้านที่คนไทยรู้จักมานานแสนนาน ด้วยประโยชน์และสรรพคุณของผักชนิดนี้…นั้นมากมายซะเหลือเกิน จึงไม่แปลกใจเลยที่บ้านไหนๆก็ต่างชอบกินเจ้าผักชนิดนี้เป็นประจำ…เอาล่ะมาดูกันดีกว่าว่ามีดีอย่างไร?

มาทำความรู้จักกับ กระเจี๊ยบเขียว กันเสียก่อน…

ชื่ออื่นๆของกระเจี๊ยบแดงคือ…

  • ภาคกลาง มอญ มะเขือมอญ มะเขือ ทวาย
  • ภาคเหนือ มะเขือมื่น มะเขือละโว้ มะเขือพม่า

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กระเจี๊ยบเขียว okra หรือ Lady’s Finger เป็นพืชล้มลุกลำต้นตรง สูงราว 1.2 ถึง 2.4 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านสีเขียว บางครั้งมีจุดประสีม่วง ผิวเปลือกลำต้น มีขนอ่อนปกคลุมเช่นเดียวกับใบและผล ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ มักเว้าเป็น ๓ แฉก ก้านใบยาว ดอกสีเหลืองอ่อน กลางดอกสีแดงเข้ม ดอกเดี่ยวออกตามง่ามใบ ผลยาวเรียว ปลายแหลม ผิวผลเป็นเหลี่ยมตามลำต้น จำนวนพูซึ่งมีราว 5 ถึง 8 พู ผลอ่อนสีเขียว เมล็ดอ่อนสีขาว ในผลมีน้ำเมือกข้นเหนียวอยู่มาก

ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของกระเจี๊ยบเขียว

สันนิษฐานว่าอยู่ในเขตร้อนของทวีปแอฟริกา เข้ามาในประเทศไทยไม่เกิน ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีหลักฐานว่าเข้ามาเมื่อใด ชื่ออื่นๆของกระเจี๊ยบเขียวคือ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือมอญ มะเขือ ทวาย (ภาคกลาง), มะเขือมื่น มะเขือละโว้ มะเขือพม่า (ภาคเหนือ)

กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบมอญ

ประโยชน์และสรรพคุณ

เป็นแหล่ง “กลูตาไทโอน”  ที่สำคัญ

กลูตาไทโอน มีบทบาทสำคัญควบคุมารอนุมูลอิสระ” ในร่างกาย การสร้างสารซ่อมแซมเซลล์ และทำปฏิกิริยาขจัดสารพิษที่เกิดในร่างกาย ช่วยต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันนิยมใช้สารนี้เพื่อให้ผิวขาวขึ้น เพราะกลูตาไทโอน สามารถกดการทำงานของเอนไซม์ที่ผลิตเม็ดสีได้ชั่วคราว

“อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร” ชนิดไม่ละลายน้ำ

ซึ่งเป็นส่วนของพืชผักที่ร่างกาย ย่อยไม่ได้ และเส้นใยที่ละลายน้ำได้ สารเมือกหรือเส้นใยที่ละลายน้ำได้ของกระเจี๊ยบเขียว เมื่อลงสู่ลำไส้ใหญ่จะช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ (พรีไบโอติกแบคทีเรีย) ซึ่งจะช่วยลดปริมาณพิษที่ผลิตจากแบคทีเรียที่ไม่มีประโยชน์ที่อาศัยอยู่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย กระเจี๊ยบเขียวจึงจัดเป็นผักสุขภาพสำหรับผู้ป่วยมะเร็งอีกชนิดหนึ่ง

“เส้นใยที่ไม่ละลายน้ำ” และ “ละลายน้ำ” ของกระเจี๊ยบเขียว

มีคุณสมบัติช่วยการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี โดยเส้นใยที่ละลายน้ำได้มีคุณสมบัติในการดูดซับสารพิษและขับถ่ายออกทางอุจจาระ จึงไม่มีสารพิษตกค้างในลำไส้ และสำหรับผู้ที่ป่วยโรคเบาหวานและคอเลสเตอรอลสูง เส้นใยที่ละลายน้ำในกระเจี๊ยบเขียวจะช่วยลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอลและน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย ซึ่งเป็นการช่วยกำจัดไขมันปริมาณสูงที่จับอยู่กับน้ำดีได้

เป็นยารักษา “โรคกระเพาะ” และ “ลำไส้อักเสบ” ได้ดี

ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกและท้องเสียสลับกัน และยังช่วยรักษาอาการปวดท้องจากแผลในกระเพาะอาหารและแผลจากลำไส้เล็กส่วนต้น

ช่วยให้ “ระบบขับถ่าย” ดียิ่งขึ้น

เพราะเมือกในกระเจี๊ยบเขียว จะมีสารในกลุ่ม polysaccharide ช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ (พรีไบโอติก) ทั้งยังดูดน้ำเข้ามาในลำไส้ ช่วยให้ขับถ่ายง่ายขึ้น

เป็นยาแก้ “พยาธิ” ตัวจี๊ด!

จาก มูลนิธิหมอชาวบ้าน บอกว่า นำผลกระเจี๊ยบเขียวที่ยังอ่อนมาปรุงเป็นอาหาร เช่น ต้มหรือย่างไฟให้สุก จิ้มกับน้ำพริก หรือทำแกงส้ม แกงเลียง กินวันละ 3 เวลาทุกวัน โดยจะกินเท่าไหร่ก็ได้ แต่อย่างน้อยวันละ 4-5 ผล ติดต่อกัน 15 วัน หรือบางคนต้องกินเป็นเดือนจึงจะหาย หรือตำรับที่ 2 ใช้รากกระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบเขียว ต้มกิน

ใครที่ยังไม่เคยหรือไม่กล้าลองรับประทานกระเจี๊ยบเขียวสดๆนั้น…อยากให้ลองเริ่มรับประทานดูนะคะ ลองนำกระเจี๊ยบเขียวไปชุปแป้งทอดรับประทานคู่กับน้ำพริก จะช่วยให้รับประทานได้ง่ายขึ้น และสำหรับใครที่ชอบรับประทานกระเจี๊ยบเขียวอยู่แล้ว แอดก็อยากจะให้รับประทานเป็นประจำนะคะเพื่อสุขภาพที่ดีของแฟนเพจทุกคนค่ะ^^

ขอบคุณข้อมูลจาก

#ACuisine #เอคูซีน

ติดตาม Instagram ได้ที่ @ amarincuisine Follow มาเยอะๆ นะคะ 😘
ง่าย สนุก สุข อร่อย อยากกิน..อยากฟิน..อยากทำ.. #Acuisine นะจ๊ะ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.