ขยับนิ้ว

ขยับนิ้ว (โป้ง) เปลี่ยนชีวิต

ขยับนิ้ว (โป้ง) เปลี่ยนชีวิต

คุณเคยเป็นแบบนี้รึเปล่า…

เห็นดาราที่คุ้นหน้าคุ้นตาดีทางหน้าจอทีวี แล้วจู่ๆ ก็เกิดนึกชื่อดาราคนนั้นไม่ออก คุยกับเพื่อนอยู่ดีๆ ก็นึกชื่อสิ่งของหรือบุคคลที่พูดถึงไม่ออก ได้แต่พูดว่า เรื่องนั้นไง คนนั้นน่ะ… สุดท้ายก็เลยไม่รู้เรื่องกันพอดี

โยะชิยะ ฮะเซะงะวะ นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคสมองเสื่อมชาวญี่ปุ่น กล่าวถึงประสบการณ์ในการเปิดคลินิกรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมา 15 ปีว่า เขาได้เรียนรู้จากประสบการณ์การรักษาในแต่ละวันคือ เมื่อคนเราแก่ตัวลง ก็มักเป็นทุกข์กับอาการหลงลืม และขาดแรงจูงใจที่จะทำสิ่งต่างๆ

เขาจึงเกิดคำถามขึ้นในในว่า

“ถึงจะอายุมากขึ้น แต่ทำไมบางคนก็ยังมีความจำดี ขณะที่บางคนกลับขี้หลงขี้ลืม”

“ทั้งที่อายุมากขึ้น แต่ทำไมบางคนยังมีพลังใจที่แข็งแรง ขณะที่บางคนโรยราไปแล้ว”

ขณะที่พยายามค้นคว้าวิจัยเรื่องการเคลื่อนไหวของสมองเพื่อหาคำตอบเหล่านั้น เขาก็เริ่มเกิดความสนใจอวัยวะเล็กๆ ส่วนหนึ่งของร่างกาย คือ นิ้วโป้ง

มีคำกล่าวมาตั้งแต่สมัยก่อนแล้วว่า “คนที่เคลื่อนไหวปลายนิ้วอยู่เสมอ จะไม่เป็นโรคหลงลืมได้ง่าย” อย่างเช่น ช่างฝีมือ นักเปียโน หรือแม้แต่การพับกระดาษ (โอะริงะมิ) เป็นรูปต่างๆ ก็ช่วยป้องกันโรคหลงลืมได้ เพราะเป็นการใช้ปลายนิ้วทำงาน จากการค้นคว้าทำให้เขาค้นพบความจริงที่ว่า ในบรรดานิ้วมือทั้งห้านิ้ว นิ้วโป้งมีบทบาทสำคัญเป็นพิเศษอีกด้วย

เมื่อเราเคลื่อนไหวนิ้วโป้ง สมองจะได้รับแรงกระตุ้น ส่งผลให้สมองทำงานได้อย่างกระชุ่มกระชวยอีกครั้ง

ในการรักษาของเขา จึงเน้นความสำคัญไปที่การฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง เพราะมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า การเคลื่อนไหวมีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้เรามีอาการของโรคหลงลืม และช่วยชะลออาการกำเริบของสมองเสื่อม

การเคลื่อนไหวร่างกายวันละประมาณ 1 ชั่วโมงอย่างสม่ำเสมอเป็นกิจวัตรที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด แต่ดูเหมือนว่านี่เป็นเรื่องยากสำหรับผู้ป่วยที่จะกระตุ้นตัวเองให้ทำอย่างต่อเนื่องทุกวัน นายแพทย์โยะชิยะจึงแนะนำให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพสมองที่จัดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านนี้

ปัจจุบัน การฟื้นฟูสมรรถภาพในสถานปฏิบัติงานทางการแพทย์ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ

  1. การฟื้นฟูสมรรถภาพโดย นักกายภาพบำบัด ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวร่างกายขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต เช่น การฝึกเดินเกาะราวสองข้าง และการฝึกพลังกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เป็นต้น
  2. การฟื้นฟูสมรรถภาพโดย นักกิจกรรมบำบัด มีจุดมุ่งหมายเพื่อฟื้นฟูความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อต่อแขนและนิ้ว ตลอดจนการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและนิ้วมือในการทำงานที่ละเอียดและประณีต โดยเน้นการฝึกให้ทำงานที่ต้องอาศัยความละเอียดอ่อน เช่น ใช้ตะเกียบคีบสิ่งของใส่ถ้วย ต่อบล็อกไม้เป็นรูปทรงต่างๆ ฯลฯ

จากการสังเกตงานฟื้นฟูสมรรถภาพนายแพทย์โยะชิยะ ได้ลงความเห็นว่าการฟื้นฟูด้วยการกระตุ้นนิ้วทั้งห้าที่ควบคุมโดยนักกิจกรรมบำบัดนั้น ถือเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันที่ส่งผลในการกระตุ้นสมองได้เป็นอย่างดี

 

สรุป 9 ข้อดีของการ “กระตุ้นนิ้วโป้ง”

1.ป้องกันโรคสมองเสื่อม ไม่หลงลืม

2.ยืดอายุยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี

3.เพิ่มพลังใจและความกระตือรือร้น

4.ขจัดอารมณ์โกรธและหงุดหงิด

5.เสริมความทรงจำให้ดีขึ้น

6.นอนหลับสบาย ช่วยให้ผ่อนคลาย

7.แก้อาการขี้หนาว

8.เสริมกลไกการเคลื่อนไหวร่างกายให้คล่องแคล่วขึ้น

9.ความดันโลหิตเป็นปกติ

หลายคนคงเห็นถึงประโยชน์ของการกระตุ้นนิ้วโป้งกันแล้วใช่มั้ยคะ ท่านที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดการกระตุ้นนิ้วโป้งต่อได้ใน สมองไบรท์แค่ขยับนิ้วโป้ง สำนักพิมพ์อมรินทร์

 

บทความที่น่าสนใจ

6 เทคนิคขยับกายเพื่อดูแลใจ แถมช่วยสมองใสปิ้ง!

บทฝึกหัดการผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์ โดยหลวงปู่ติช นัท ฮันห์

Posted in NEWS
BACK
TO TOP
cheewajitmedia
Writer

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.