นะโม ตัสสะ

ที่มาของนะโม ตัสสะ ไม่ธรรมดา

ที่มาของ นะโม ตัสสะ ไม่ธรรมดา

นะโม ตัสสะ บทสวดที่ชาวพุทธตั้งแต่เด็กเล็กยังผู้สูงอายุต่างสวดเป็น “ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ” แปลว่า “ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง” คุ้นกันไหม เชื่อว่าคุ้น แต่มีใครบ้างที่จะทราบว่า กว่าจะเป็นบทสวดสรรเสริญพระพุทธเจ้าบทนี้ได้ ไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลย

ในคัมภีร์ฎีกานะโม เรียกง่าย ๆว่า คัมภีร์อธิบายความหมายของนะโม เล่าถึงความเป็นมาของบทสวดนี้ไว้ว่า

ครั้งสมัยพุทธกาล มีเทพเจ้า 5 พระองค์เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าตามลำดับ เทพเจ้าพระองค์แรกคือ “สาตาคิรียักษ์” เป็นเทวดาประเภทภุมมเทวดา (พระภูมิ) สถิตอยู่ที่เขาสาตาคีรี ในหิมวันตประเทศ มีหน้าที่เฝ้าประตูของป่าหิมพานต์ทางทิศเหนือ เป็นหนึ่งในคณะบริวารของพระเวสสุวัณ

สาตาคิรียักษ์เมื่อได้ฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วบังเกิดจิตเลื่อมใสจึงเปล่งวาจาขึ้นว่า “นะโม” (ขอนอบน้อม)

ต่อมาพระอสุรินทราหูทราบว่าพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของโลก ทรงโปรดให้มนุษย์และเทวดาบรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก จึงปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม แต่ด้วยพระองค์มีรูปร่างใหญ่โต หากเข้าใกล้พระพุทธเจ้าจะไม่สมควร พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงเนรมิตร่างของพระองค์ให้ใหญ่โตกว่าพระอสุรินทราหูในท่าไสยาสน์ เมื่อพระอสุรินทราหูเห็นดังนั้นจึงมีจิตเลื่อมใส ยอมเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม พอฟังจบแล้วจึงเปล่งวาจาด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าว่า “ตัสสะ” (พระองค์นั้น)

จากนั้นพระอสุรินทราหูกราบลาพระพุทธเจ้ากลับแดนอสูร พระจตุโลกบาล เจ้าสวรรค์ชั้นจาตุงมหาราชิกา (สวรรค์ชั้นหนึ่งในคติพระพุทธศาสนา) พากันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม หลังจากฟังธรรมแล้วจึงเปล่งวาจาพร้อมกันว่า “ภะคะวะโต” (แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า)

ต่อมาเมื่อพระจตุโลกบาล หรือมหาราชทั้ง 4 กลับไปยังวิมานของตนแล้ว พระสักกะเทวราช หรือ พระอินทร์ เจ้าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (สวรรค์ชั้นที่สองในคติพระพุทธศาสนา) เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม พอฟังจบก็เปล่งวาจาขึ้นว่า “อะระหะโต” (เป็นผู้ไกลจากกิเลส)

เมื่อพระสักกะเทวราชเสด็จกลับวิมานแล้ว พระสหัสบดีพรหมเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อสนทนาธรรม เมื่อจบการสนทนาแล้วจึงเปล่งวาจาว่า “สัมมาสัมพุทธัสสะ” (ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง)

ดังนั้นการที่เราสวดมนต์บทสรรเสริญพระพุทธเจ้านั้น เราได้นำคำเปล่งวาจาจากเทพเจ้าทั้ง 5 มา ซึ่งเป็นมนต์ที่มาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้าทุกพระองค์มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า อย่างพระอสุรินทราหู หรือพระราหู ในภายภาคหน้าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า ส่วนพระมหาราชทั้ง 4 พระสักกะเทวราช และพระสหัสบดีพรหม ล้วนติดตามอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าตั้งแต่วันที่พระองค์ประสูติ โดยเฉพาะพระมหาราชทั้ง 4 รับหน้าที่ป้องปกพระพุทธเจ้าตั้งแต่สถิตในพระครรภ์ของพระนางสิริมหามายา พระสักกะเทวราชและพระสหัสบดีพรหมก็ถวายเครื่องอัฐบริขารแด่เจ้าชายสิทธัตถะตอนเสด็จออกผนวช ทั้งยังนำพระเมาฬี (ผม) ของพระองค์ไปประดิษฐานในพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

บทสวดนะโม ตัสสะฯ เป็นบทสวดสั้น ๆ นิยมสวดสามจบต่อครั้ง ก่อนที่จะเริ่มสวดมนต์บทอื่น คงเนื่องมาจากเป็นมนต์ 5 คำที่มีความศักดิ์สิทธิ์ มาจากการเปล่งวาจาของเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ 5 พระองค์ ฉะนั้นต่อไปนี้ เชื่อว่าคงมีความศรัทธาและมีจิตเป็นกุศลมากขึ้นในขณะสวดและภาวนาด้วยบทสวด นะโม ตัสสะฯ  นี้

ที่มา : นะโม นั้นสำคัญมาก


บทความน่าสนใจ

บทสวดมนต์เนื่องในวันวิสาขบูชา

บทสวดมนต์ก่อนนอน แบบสั้น เพื่อสร้างสมาธิและจิตใจผ่องใส

รวม 11 บทสวดมนต์ข้ามปี เพื่อเป็นสิริมงคลในชีวิตรับปีใหม่

บทขอขมากรรม บทสวดขออโหสิกรรมก่อนนอนทุกคืน พร้อมคำถามเกี่ยวกับการอโหสิกรรม

ชีวิตนี้ที่เลือกเอง –  ปุ๊กกี้ – ปริศนา พรายแสง

บทสวดศพ อภิธรรม 7 คัมภีร์ แปล

การบำเพ็ญทศบารมีจากการสวดมนต์

Dhamma Daily : เราสามารถสวดมนต์ ขอพรให้ครอบครัว ได้จริง ๆ หรือ?

“รอดตายเพราะสวดมนต์” เรื่องเล่า อานิสงส์จากการสวดมนต์ ที่เกิดขึ้นจริง

ทางวิทยาศาสตร์เผย การสวดมนต์ เบาๆ มีประโยชน์มาก

สวดมนต์ ทำไม และสวดอย่างไรไม่เป็น “มนต์คาถา” ท่านว.วชิรเมธี มีคำตอบ

เรื่องเล่าความทุลักทุเลของการสวดมนต์วัดเมืองนอกที่ญาติโยมไม่เคยรู้

Dhamma Daily : เวลาสวดมนต์มักคิดฟุ้งซ่าน อย่างนี้จะได้ อานิสงส์จากการสวดมนต์ หรือเปล่า

เพลงทำสมาธิ ผ่อนคลาย ผสานเสียงสวดมนต์
พลานุภาพของการสวดมนต์ จากพระไตรปิฎก

ดิฉันปวดเมื่อยเวลาสวดมนต์ในเวลานานๆ จึงอยากทราบว่าสามารถ นอนสวดมนต์ แทนได้ไหมคะจะบาปหรือเปล่า

หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เชิญร่วมงาน สวดมนต์ข้ามปี 2561

อัศจรรย์จากการสวดมนต์ เรื่องเล่าจากผู้ศรัทธาในเรื่องบุญ กรรม และการสวดมนต์

Dhamma Daily : ถ้าเชื่อว่าตัวเองคิดดี ทำดี แต่ ไม่อยากเข้าวัด สวดมนต์ บาปไหม

เผยบทสวด ”ถวายสังฆทาน – คาถาอุทิศถวายส่วนกุศล“ ในหลวง รัชกาลที่ 9

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.