ศีล 5 ไร้คำ “ห้าม!” : ข้อคิดฝึกสติ 5 ประการ จากหมู่บ้านพลัม

 

 

ชาวพุทธส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการรักษา ศีล 5 และจดจำขึ้นใจว่า ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามลักทรัพย์ ห้ามประพฤติผิดในกาม ห้ามพูดปด และห้ามเมาสุรา แต่หลายคนรู้สึกว่า คำว่า “ห้าม” เหมือนถูกบังคับ พาลให้คิด “ยิ่งห้ามยิ่งยุ”

แต่ความหมายของศีล 5 ประกอบด้วยรายละเอียดและแนวทางปฏิบัติลึกซึ้งกว่าข้อห้ามสั้น ๆ หมู่บ้านพลัมประเทศไทย ก่อตั้งโดย หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ พระภิกษุชาวเวียดนาม ผู้นำเสนอความคิด พุทธศาสนาต้องเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และพุทธธรรม เป็นสิ่งที่สามารถประยุกต์ใช้ให้เข้ากับวิธีชีวิตยุคปัจจุบันได้อธิบายถึงศีลในอีกความหมายที่สร้างการตระหนักรู้ถึงแก่ธรรมได้ดี

เวลาที่เราศึกษา ศีล 5 หรือ ข้อฝึกอบรมสติ 5 ประการ เราจะเห็นอย่างชัดเจนว่า ถ้าเราสามารถฝึกตามข้อฝึกอบรมสติและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เวลาที่เราตื่นรู้ เราจะเริ่มต้นเข้าสู่หนทางแห่งการดำเนินชีวิตที่เป็นปกติสุขมากขึ้น เวลาที่เราศึกษาศีลข้อที่ 1 เราพูดถึงเรื่องการปกป้องสรรพชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องที่ชัดเจนมาก มันคือการกระทำที่เป็น ความรักความเมตตา มีปัญญาความเข้าใจ เวลาที่เราตื่นรู้เราก็มีปัญญา เวลาที่เรารัก เรามี ความเมตตากรุณา

ศีลข้อที่ 1 คือ วิถีชีวิตที่จะช่วยปกป้องชีวิต สรรพชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สรรพสัตว์ พืชพันธุ์ แร่ธาตุ

ในพุทธศาสนาเราพูดอย่างชัดเจนว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีธรรมชาติแห่งความ เป็นพุทธะ ไม่ว่าสิ่งเหล่านั้นจะมีความรู้สึก หรือไม่มีความรู้สึกก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิต หรือไม่มีชีวิตก็ตาม สิ่งเหล่านั้นล้วนมีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะทั้งสิ้น ไม่ว่าเราจะเป็น สิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตเหล่านั้นล้วนเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นดั่ง กันและกัน เพราะว่าสิ่งมีชีวิตนั้นประกอบไปด้วยสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิตนั้นประกอบด้วย สิ่งมีชีวิต ถ้าเราไม่มีสิ่งไม่มีชีวิตแล้ว เราก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ปัญญาของพุทธ ศาสนานั้นเป็นนิเวศวิทยามาก เป็นสิ่งแวดล้อมมาก คือ การมองอย่างไม่แบ่งแยกตัวเราจาก สิ่งไม่มีชีวิต เวลาที่เราอยากจะปกป้องสิ่งมีชีวิต เราก็ต้องปกป้องสิ่งไม่มีชีวิตด้วย เราไม่ ปกป้องเฉพาะสัตว์ พืช และมนุษย์ เท่านั้น แต่เราต้องปกป้อง พื้นดิน น้ำ และอากาศด้วย เพราะว่าสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น พื้นดิน น้ำ อากาศ นั้นล้วนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา หากเราไม่มี พื้นดิน น้ำ และอากาศ เราก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ฉะนั้นการฝึกปฏิบัติศีลข้อที่ 1 ก็คือ ปกป้องดูแลสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต นี่คือความหมายของการปกป้องสรรพชีวิตที่แท้จริง เพราะชีวิตของเราไม่ได้แยกออกจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งเหล่านี้คือการแสดงความรัก เมื่อเรา ตื่นขึ้น เห็นและเข้าใจว่า สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกัน ระบบนิเวศวิทยาและ สิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของเราด้วย เราจะต้องการรักษาปกป้องสิ่งเหล่านั้น
ในตัวพวกเราต่างมีความต้องการที่จะรัก เรามีความต้องการที่อยากจะรับใช้คนอื่น เรามีพลังงานและความตั้งใจที่จะปกป้องรับใช้ เพราะฉะนั้นการฝึกข้อฝึกอบรมสติก็คือ การมองว่าอะไรคือสิ่งที่เราจะรัก อะไรคือการกระทำแห่งความรัก อะไรคือการปกป้อง เวลาที่ เราทำงาน ดูแลเลี้ยงลูก ดูแลครอบครัว เราต้องทำด้วยการกระทำแห่งความรัก เพื่อที่เราจะได้รักษาพืชพันธุ์และเผ่าพันธุ์ของเราไม่ให้ สูญสิ้นไป

สำหรับมรรคมีองค์แปดนั้น ก็คือหนทางที่นำไปสู่ความสุข เราจะต้องรู้วิถีที่จะดูแลปกป้องและไม่ทำลายตัวเรา ครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อมของเรา เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจเรื่องการปกป้องชีวิตว่า ชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็คือสิ่งเดียวกัน เวลาเรารับประทาน อาหาร เราจะทานอย่างไรเพื่อให้เราลดทอนความทุกข์ของสรรพชีวิต นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราจึงเลือกไม่ทานเนื้อสัตว์ เราไม่ทาน เนื้อสัตว์เพื่อจะลดความทุกข์ของสรรพสัตว์ อย่างน้อยหากเราพยายามลดการทานเนื้อสัตว์เพียง 50 % เราสามารถช่วยปกป้องโลก ของเราจากปกป้องลดภาวะโลกร้อนได้ เราสามารถลดการใช้ทรัพยากรในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ไป 50 % สิ่งที่เราทำได้คือ การลด การทานเนื้อสัตว์ลงครึ่งหนึ่ง เราก็สามารถที่จะปกป้องภาวะโลกร้อน ปกป้องพื้นโลกของเรา และลดทอนความทุกข์ของสรรพสัตว์ เวลาที่เรากำลังคิดว่าเราจะทำอาหารอะไรสำหรับอาหารเช้า อาหารกลางวัน นี่ก็คือการฝึกปฏิบัติแห่งความรักแล้ว เราอาจมองถึงสิ่งที่ เรากินลงไป เราได้ทำลายพืชพันธุ์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน ไม่เพียงแต่เวลาที่เราผลิตเท่านั้น เวลาที่เราทำงานหรือ บริโภค เราต้องปกป้องสรรพชีวิตด้วย

เวลาที่เราพูดคุยกับคนหนุ่มสาว เราจะพูดสิ่งที่เป็นรูปธรรม ติดดิน อะไรคือหนทางที่สวยงาม อะไรคือหนทางแห่งอุดมคติ และเธอ จะเห็นว่าชีวิตนั้นมีความหมาย สิ่งนั้นคือการปกป้องชีวิต โดยทำให้สังคม ทำให้โลกของเรามีสุขภาพที่ดีกลับขึ้นมาใหม่ และจะต้องทำ ด้วยกัน เราทั้งหมดจะต้องจับมือร่วมกันจัดตั้งชุมชนของคนหนุ่มสาว ที่มีวิถีชีวิตที่ทำให้สังคมของเรากลับมามีสุขภาพที่ดีขึ้น และ เป็นสุขอีกครั้งหนึ่ง เหล่าคนหนุ่มสาวมีพลังมากมายจะทำให้อุดมคติแห่งการปกป้องชีวิตนั้นเป็นไปได้
เวลาที่เราพูดถึง ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 2 เราก็พูดถึงอุดมคติเช่นเดียวกัน อุดมคติที่จะรัก ความรักในข้อที่ 1 เราพูดถึงความรักที่จะปกป้องชีวิต สำหรับข้อที่ 2 เรา พูดถึงความรักในอุดมคติ ที่เราจะฝึกเป็นคนใจดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่ลักขโมย ไม่รุกรานเข้าไปในพื้นที่ของคนอื่น นอกจากนั้น เรายังฝึกที่จะมีความใจดีให้แก่คนอื่น คิดถึงคนอื่น ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ลักขโมย ไม่เอาของคนอื่น มาเป็นของเรา ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อให้โอกาสคนอื่นได้มีโอกาสมีชีวิตต่อไป เราไม่คิดเพียง แต่ว่าจะทำอย่างไรให้ตัวเองร่ำรวย แต่ว่าเราต้องคิดว่าในขณะหนึ่งๆ นั้น เราได้ก่อสถานการณ์ที่ เป็นอันตราย ก่อความเสี่ยงต่อสิ่งมีชีวิตอื่นหรือเปล่า เราได้ก่อภาวะมลพิษหรือเปล่า เราอาจผลิต หรือปล่อยของเสียทิ้งมากมายที่ทำลายน้ำ อากาศ สิ่งแวดล้อม มนุษย์ พืชพันธุ์ สัตว์ และแร่ธาตุ ต่างๆ เวลาที่เราทำให้อากาศเสีย ทำให้พื้นดินเป็นพิษ ทำให้น้ำเป็นพิษ นั้นก็คือการขโมยรูปแบบ หนึ่ง คือการผิดศีลข้อที่ 2 การไม่ขโมย ไม่หมายเพียง การไม่ขโมยของผู้อื่น แต่ว่าเราต้องมอง ให้ลึกซึ้งว่าเราได้ทำสิ่งที่เสียหายแก่คนอื่น สิ่งแวดล้อม พืชพันธุ์ สัตว์ หรือมนุษย์หรือเปล่า ถ้าเรา ทำเช่นนั้นเท่ากับว่าเรากำลังขโมยเช่นเดียวกัน

เวลาเราพูดถึง ศีลข้อที่ 3 เราจะเห็นอย่างชัดเจนว่า นี่คือการปกป้องความรัก ความซื่อสัตย์ ในครอบครัว เวลาที่ครอบครัวแตกแยก ชีวิตครอบครัวเป็นทุกข์ สังคมก็พลอยเป็นทุกข์ไปด้วย ความทุกข์ในครอบครัวนั้น นำความทุกข์มาสู่คนหนุ่มสาวเป็นอย่างมาก การฝึกปฏิบัติ ศีลข้อที่ 3 คือการฝึกตื่นรู้กับความรักด้วยปัญญา เวลาที่เราฝึกเช่นนั้น เราจะช่วยรักษาเยียวยาสังคมของเรา ลดทอนความทุกข์จากการประพฤติผิดในกามและการล่วงละเมิดทางเพศ
เวลาเราพูดถึง ศีลข้อที่ 4 ก็คือการฟื้นคืนความสัมพันธ์ การฝึกการสื่อสารให้ฟื้นคืนขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นกับคุณพ่อคุณแม่ พี่น้อง หรือคนที่เรารัก บางทีเรามีความทุกข์เมื่ออยู่ร่วมกับคนที่รัก หรือกับคนในครอบครัว และนี่ก็ เป็นอุดมคติอย่างหนึ่งที่เราจะมีชีวิตอย่างไรให้เรามีความสัมพันธ์ ที่ดีกับคนที่เราอยู่ด้วย ถ้าเราไม่สามารถที่จะฟังอย่างลึกซึ้งและใช้วาจาแห่งความรัก เราจะไม่ สามารถแก้ไขปัญหาในความสัมพันธ์ของเราได้ เราจะไม่สามารถจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้ นั่นคือการฝึกความรักในอุดมคติในข้อที่ 4

เวลาที่เราฝึกปฏิบัติศีล 5 ข้อ
ก็คือการฝึกปฏิบัติความรักและความเข้าใจ
ความรักอาจเป็นเรื่องนามธรรม
ใครก็พูดถึงความรัก แต่ว่าความรัก
ในข้ออบรมสติทั้ง 5 นั้น
นั่นเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมมาก
เป็นความรักแบบที่ไม่มีขีดจำกัด
ไม่มีความสิ้นหวัง ความท้อแท้ ความอิจฉา
หรือการแก่งแย่งชิงดี แต่เป็นความรักที่เป็นไป
เพื่อความสามัคคี ความรักฉันท์พี่น้อง
ก่อให้เกิดความสุข และการปกป้องชีวิต

ข้อที่ 5 คือ เรื่องของการบริโภค การฝึก ศีลข้อที่ 5 คือ วิถีทางการบริโภคที่จะเกื้อหนุนการปฏิบัติความรัก และทำให้สังคมโลก ของเรามีสุขภาวะที่ดี ศีลข้อที่ 5 คือการตระหนักรู้อย่างเป็นรูปธรรมที่จะช่วยเหลือตัวเราเอง ครอบครัว และสังคมของเรา เรารู้ว่า พื้น ฐานของการปฏิบัติก็คือการเจริญสติ เวลาที่เรารู้ตัวและมีสตินั้น การกระทำของเราจะเต็มไปด้วยความรัก เราจะปกป้องพืชพันธุ์ สัตว์ต่างๆ โลกและสิ่งแวดล้อม ถ้าเราสามารถฝึกเช่นนั้นได้ เราจะสามารถช่วยเหลือโลก ช่วยเหลือคนในสังคมได้ เรามีหนทางที่ดีงาม เราเผยแพร่ให้คนหนุ่มสาวได้รู้ได้อย่างไรว่า พวกเขาสามารถเดินอยู่บนหนทางอันงดงามเพื่อปกป้องชีวิต และทำให้คนหนุ่มสาวเป็น พลังขับเคลื่อนให้สังคมมีความเมตตากรุณาและมีสุขภาวะที่ดี

ศีล 5 หรือ ข้อฝึกอบรมสติ 5 ประการในพุทธศาสนาอยู่ตรงนั้นเป็นเวลานานแล้ว เราจะต้องหาวิธีที่จะฝึกปฏิบัติและนำเสนอเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์การของ สังคม เราจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้อุดมคตินี้ เป็นอุดมคติที่บริสุทธิ์และสดใหม่สำหรับคนหนุ่มสาว


 

ที่มา :
“หนทางแห่งอุดมคติของหนุ่มสาว”
ปาฐกถาธรรม วันที่ 26 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 วัดล่าง หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส

แปลโดย : ภิกษุณีนิรามิสา
ถอดความ : เจริญ ตรงวรานนท์ – จิตตปัญญา, อริสา สุมามาลย์
เรียบเรียง : พรรัตน์ วชิราชัย – วรจิตรา

http://www.thaiplumvillage.org/index.php?option=com_content&view=article&id=30&Itemid=13

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.