พระพรหมมุนี

พระปุจฉา – วิสัชนาธรรมระหว่างในหลวงรัชกาลที่ 9 กับ พระพรหมมุนี

พระปุจฉา – วิสัชนาธรรมระหว่างในหลวงรัชกาลที่ 9 กับ พระพรหมมุนี

พระปุจฉา – วิสัชนาธรรมระหว่างในหลวงรัชกาลที่ 9 กับ พระพรหมมุนี

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช :  ขณะที่ทรงผนวชอยู่นี้เรียกว่า “พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” โดนที่ทรงดำรงฐานะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังมีอยู่ เป็นเพียงแต่ทรงจีวรเช่นภิกษุเท่านั้น ขอความเห็นจากพระอาจารย์

พระพรหมมุนี :  เรื่องนี้ทางธรรมะเรียกว่า “สมมติ” ซ้อน “สมมติ” และ “สัจจะ” ซ้อน “สัจจะ”

ความเป็นพระเจ้าแผ่นดินก็เป็นสมมติอีกอย่างหนึ่ง  เรียกว่า “สมมติเทพ”  ความเป็นพระภิกษุก็เป็นสมมติอีกอย่างหนึ่งซ้อนขึ้นในสมมติเทพนั้น  ในการเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับสมมตินั้นๆ เช่น เมื่อได้รับสมมติเป็นพระภิกษุแล้วก็ต้องปฏิบัติตามสิกขาบทของพระภิกษุโดยเคร่งครัด จักปฏิบัติแต่หน้าที่สมมติเทพอย่างเดียวไม่ได้ แต่ถ้าหน้าที่ของสมมติเทพที่ไม่ได้ขัดกับสิกขาบทวินัยก็อาศัยได้ เช่น คำที่เรียกว่า “เสวย”  “สรง”  “บรรทม” เป็นต้น ยังใช้ได้

“สัจจะ”  คือ “ความจริง” นั้น ตามที่ท่านอธิบายนั้นมีหลายอย่าง  แต่เมื่อกล่าวโดยหลักธรรมก็มี 2 อย่าง คือ

  1. สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ  ยกย่องขึ้นให้เป็นอย่างนั้นให้เป็นอย่างนี้ เช่น สมมติให้เป็นเทวดา  สมมติให้เป็นพระอินทร์ พระพรหม  ผู้นั้นก็เป็นตามเขา  สมมติเพียงแต่ชื่อ  แต่ไม่ได้เป็นจริงไปเช่นนั้นด้วย เช่น  เขาสมมติให้เป็นพระอินทร์  ชื่อพระอินทร์ก็มีอยู่แก่ผู้นั้น   แต่ผู้นั้นก็หาได้เป็นพระนารายณ์ตัวจริงมีสี่กรไม่
  2. สภาวสัจจะ จริงตามสภาวะ  เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เป็นดินก็เป็นดินจริง เป็นน้ำก็เป็นน้ำจริง  เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง  เป็นความดับทุกข์ก็เป็นความดับทุกข์จริง  เป็นทางให้ถึงความดับทุกข์  ก็เป็นทางให้ถึงความดับทุกข์จริง  อย่างนี้เป็นจริงตามสภาวะ

ท่านเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  “ปรมัตถสัจจะ”  เมื่อพิจารณาดูแล้วเป็นชั้นของสัจจะไปแล้ว  ไม่ใช่ตัวสัจจะ  เพราะปรมัตถสัจจะแยกออกเป็น “ปรมะ”  แปลว่า “อย่างยิ่ง”  “อัตถะ”  แปลว่า “ประโยชน์” “สัจจะ”  แปลว่า “ความจริง”  รวมกันแปลว่า “ความจริงอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง”  เมื่อมีความจริงที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งก็ย่อมส่องความว่าความจริงที่ไม่เป็นปรโยชน์ก็มี  ความจริงที่เป็นประโยชน์ก็มี  จึงได้ชั้นดังนี้

  1. ปรมัตถสัจจะ ความจริงที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
  2. อัตถสัจจะ ความจริงที่เป็นประโยชน์อย่างสามัญ
  3. อนัตถสัจจะ ความจริงที่ไม่เป็นประโยชน์

ญาณที่เห็นอริยสัจ 4 นั้นเป็นประโยชน์อย่างยิ่งของบุคคล เรียกว่า  “ปรมัตถสัจจะ ” ญาณรู้เหตุรู้ผลสามัญ  หลบจากเหตุที่เสื่อม บำเพ็ญเหตุที่เจริญ  นี่เป็น “อัตถสัจจะ  ” ญาณที่เห็นผิดจากความจริงนี่เป็น “อนัตถสัจจะ” บุคคลผู้ปฏิบัติต้องละ  “อนัตถสัจจะ” บำเพญแต่ “อัตถสัจจะ ” และ “ปรมัตถสัจจะ”

ขอบคุณรูป welovemyking.com


บทความน่าสนใจ

พระปุจฉา – วิสัชนาธรรม ระหว่างในหลวงรัชกาลที่ 9 กับหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

พระปุจฉา – วิสัชนาธรรม ระหว่างในหลวงรัชกาลที่ 9 กับ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวัฑฺฒโน)

 

 

 

Posted in MIND
BACK
TO TOP
cheewajitmedia
Writer

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.