พระมหากรุณาธิคุณ

เนื่องด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ต่อการสาธารณสุขไทย (จบ)

เนื่องด้วย พระมหากรุณาธิคุณ ต่อการสาธารณสุขไทย (จบ)

เนื่องด้วย พระมหากรุณาธิคุณ ต่อการสาธารณสุขไทย 

“สถาบันราชประชาสมาสัยพระราชาและประชาชนย่อมพึ่งพาอาศัยกัน”

จำได้ว่าครั้งหนึ่งผมพบผู้ป่วยหญิงหนึ่งคน เธอเป็นหญิงชาวพม่า แต่เพิ่งย้ายเข้ามาทำงานในเมืองไทยได้ไม่นานนัก

เธอมีอาการผื่นขึ้นตามแขนขาและชาจนไม่รู้สึก หลังจากผมบอกผลการวินิจฉัยเบื้องต้นแก่ผู้ป่วย รวมถึงบอกคุณพยาบาลและเจ้าหน้าที่ในวันนั้นให้ช่วยเตรียมการส่งตัวผู้ป่วยไปตรวจเนื้อเยื่อจากผิวหนังต่อเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ก็เกิดสถานการณ์โกลาหลขึ้นเป็นการใหญ่ เพราะทุก ๆ คนลืมโรคนี้ไปนานแล้ว (แต่ก็ไม่เคยลืมว่าโรคนี้รุนแรงเพียงใดเมื่อกล่าวถึง) เรียกได้ว่าโรคร้ายนี้ถูกกำจัด จนแทบหมดไปแล้วในประเทศไทยเรา โรคร้ายเรื้อรังนี้คือ “โรคเรื้อน”

โรคเรื้อนระบาดจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยซึ่งมีแหล่งสะสมเชื้ออยู่ที่บริเวณเยื่อบุโพรงจมูก โดยติดต่อทางการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย สมัยที่ยังไม่มียารักษานั้นมีการนำผู้ป่วยโรคเรื้อนไปอยู่รวมกันเป็นชุมชนเพื่อควบคุมการระบาด เวลามาโรงพยาบาลแต่ละครั้งก็ถึงขั้นมีการใช้คำว่า“การชุมนุมใต้ต้นพฤกษา หรือ Gathering Under the Tree” เป็นคำศัพท์ซึ่งสะท้อนถึงความรังเกียจและหวาดก ลัวของสังคม ที่แม้แต่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลของรัฐก็ไม่กล้าให้ไปจัดตั้งจุดตรวจรักษาภายในโรงพยาบาลต้องใช้วิธีนัดผู้ป่วยไปชุมนุมกันใต้ร่มไม้บริเวณวัดหรือโรงรถของสถานพยาบาลสาเหตุอาจเป็นเพราะอาการของโรคนี้มักรุนแรงโดยเมื่อมีผื่นชาไร้ความรู้สึกบริเวณผิวหนังแล้วมีการอักเสบติดเชื้อร่วม ก็มักส่งกลิ่นเหม็นและอักเสบเรื้อรังจนก่อความพิการอันน่าสยดสยองบนใบหน้าแขนขาของผู้ป่วยตามมา

เมื่อปี พ.ศ. 2498 โรคเรื้อนแพร่ระบาดอย่างมาก กระทรวงสาธารณสุขจึงร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดทำโครงการควบคุมโรคขึ้น โครงการดังกล่าววางแผนและใช้เวลาดำเนินการนานถึง 12 ปีเพื่อหยุดการระบาดของโรค แต่หลังจากที่พระบาท-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จฯไปทรงเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งในขณะนั้นมีอัตราผู้ป่วยโรคเรื้อนสูงกว่าภาคอื่น ๆ ก็ทรงพบว่าตัวผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ทั้งยังถูกแยกไม่ให้อยู่ร่วมกับผู้คนปกติทั่วไป ทรงวิตกด้วยเป็นโรคร้ายแรงที่ส่งผลทุกขเวทนาต่อร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เนื่องจากถูกผู้คนที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับโรคแสดงอาการรังเกียจหวาดกลัว เสมือนผู้ป่วยโรคนี้เป็นอาชญากรที่ต้องถูกจับกุม ทำให้ผู้ป่วยหลบซ่อนตัว ไม่ยอมให้ใครมารักษาบำบัดและทำให้โรคแพร่กระจายออกไปอีกมาก

พระองค์ทรงรับโครงการควบคุมโรคเรื้อนของกระทรวงสาธารณสุขไว้เป็นโครงการในพระราชดำริ ทรงเร่งรัดระยะเวลาดำเนินการโครงการให้เสร็จสิ้นภายใน 8 ปี โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนหนึ่งจากกองทุนอานันทมหิดลในการจัดสร้างสถาบันค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับโรคเรื้อนขึ้น ณ โรงพยาบาลโรคเรื้อนที่ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2501 เป็นวันที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์อาคารสำหรับใช้ฝึกอบรมและวิจัยโรคเรื้อน ในวันนั้นเองพระองค์พระราชทานนามสถาบัน “ราชประชาสมาสัย” ให้ไว้อันเป็นมงคลนาม ทรงอธิบาย ความหมายนี้ว่า “พระราชาและประชาชนย่อมพึ่งพาอาศัยกัน” เนื่องด้วยมีประชาชนจำนวนมากทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลในการจัดหาทุนร่วมด้วยนอกจากนี้พระองค์ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งโรงเรียนราชประชาสมาสัย ในพระ-บรมราชูปถัมภ์ขึ้นอีกด้วย เพื่อให้ลูกหลานผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ได้ศึกษาเล่าเรียนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวจนถึงทุกวันนี้

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร-มหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งสถาบัน “ราชประชาสมาสัย” การพัฒนาเรื่องการรักษาและการควบคุมโรคเรื้อนในประเทศก็ก้าวหน้ามากขึ้น จนประสบผลสำเร็จในการกำจัดเชื้อและโรคนี้ได้ อาจกล่าวได้ว่าพบผู้ป่วยรายใหม่น้อยมาก

เหตุการณ์นี้นับได้ว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อนชาวไทยที่ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจอีกต่อไป ขอน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อการสาธารณสุขไทย

ขอขอบคุณ เอกสารอ้างอิงจากวารสารควบคุมโรค ปีที่ 35 ฉบับที่ 3 ก.ค. - ก.ย. 2552บทความพิเศษ ราชประชาสมาสัย ๕๐ ปีแห่งการสนองพระราชปณิธาน โดย นพ.จรูญปิรยะวราภรณ์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

เรื่อง นายแพทย์ชวโรจน์ เกียรติกำพล


บทความน่าสนใจ

เจลลี่พระราชทาน อาหารพระราชทาน จากน้ำพระทัยของในหลวง ร.9

บันทึกเรื่องราวของในหลวงรัชกาลที่9กับต้นกาแฟพลิกฟื้นผืนดินไทย

Posted in MIND
BACK
TO TOP
cheewajitmedia
Writer

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.