ชีวิตใหม่

3 เทคนิคเริ่มต้น ชีวิตใหม่ สำหรับคนที่เคยทำผิดพลาด

3 เทคนิคเริ่มต้น ชีวิตใหม่ สำหรับคนที่เคยทำผิดพลาด

ใครที่เคยทำอะไรผิดพลาดซ้ำซาก อยากเริ่มต้น ชีวิตใหม่ อยากหนีวิถีชีวิตเดิม ๆ แต่ไม่มีแรงจะผลักดันตนเองออกมาจากวงจรนั้น ข้าพเจ้าขอแนะนำเป็นข้อคิดในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของท่าน ดังนี้

1. หลับตาคิดทบทวนอดีตที่ผ่านมาตลอดทั้งปีว่า มีกำไรหรือขาดทุนด้านใดบ้าง ชั่งน้ำหนักดูว่าส่วนไหนมีมากกว่า การทบทวนชีวิตเช่นนี้เป็นประจำทุกวัน มิใช่เฉพาะวันขึ้นปีใหม่ จะทำให้ท่านสามารถเปลี่ยนแปลงปรับปรุงชีวิตได้โดยไม่ยาก การไม่เคยนั่งนิ่งหลับตาทบทวนอดีต เอาแต่มุ่งไปข้างหน้า จะทำให้ท่านพบอุปสรรคปัญหาได้ง่าย ๆ ทั้ง ๆ ที่บางเรื่องไม่ควรจะเกิดแต่ก็เกิด นับเป็นเพราะอารมณ์ที่เก็บกดหมักหมม ปัญหาอุปสรรคแค่แม้เล็กน้อยแต่เมื่อเกิดขึ้นซ้ำซาก ก็กลายเป็นปัญหากองใหญ่ ฉะนั้นขอให้มีเวลานั่งนิ่งหลับตา ทบทวนอดีตทุกวัน เช้า 3 นาที กลางวัน 3 นาที ก่อนนอน 3 นาที

2. หัดอ่านหนังสือคำคม คำสอน ประโยคสั้น ๆ ที่กินใจ ทบทวนไปมา พินิจพิเคราะห์ความหมาย เก็บหนังสือเล่มนี้ไว้ใกล้ตัว ติดตัว หัวเตียง อ่านไปมาก่อนนอน เพื่อให้คำสอน คำกลอน คำคมเหล่านี้เข้าไปเป็นหลักชีวิตของท่านในยามหลับ ข้อนี่สำคัญมาก เพราะจะเป็นเหตุให้ท่านมีเครื่องมือให้เกิดสติได้เร็วขึ้น ในภาวะที่จิตใจว้าวุ่น ปัญหารุมเร้า แต่เรายังมีคำคมเตือนสติ

3. หัดคิดถึงคนที่แย่กว่าเรา เปรียบเทียบให้เกิดแรงบันดาลใจและความภูมิใจในตนว่า เราโชคดีแค่ไหนที่มีชีวิตมาถึงวันนี้ได้ เพื่อจะได้ไม่เกิดเรื่องน้อยเนื้อต่ำใจ ทุกข์ง่ายแต่สุขยาก หากท่านเอาแต่เปรียบตนกับคนที่ดีกว่าตลอดเวลา ท่านก็จะพบกับความขาดแคลน ไม่เคยภูมิใจในชีวิตเลย

หลักคิดทั้ง 3 ข้อนี้ นำไปเป็นหลักคิดในการเปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งยิ่งใหญ่นี้ ให้เสมือนแผ่นดินสะเทือนเลือนลั่นสั่นคลอน ถอนต้นไม้คือกิเลส ความเกียจคร้าน เสเพล ชีวิตไร้ทิศทางออกไป แล้วหันมาสร้างทิศทางที่ดีมีความหวังมีพลังยิ่งใหญ่ต่อไป

 

ที่มา  นิตยสาร Secret

เรื่อง ท่านปิยโสภณ (พระราชญาณกวี)

Image by Jill Wellington from Pixabay

Secret Magazine (Thailand)

IG @Secretmagazine


บทความน่าสนใจ

อธิษฐานอย่างไรไม่ให้เป็นกิเลส

ปัญหาธรรมประจำวันนี้: คำว่า บุญก็ไม่เอา บาปก็ไม่เอา หมายความว่าอะไร

เมื่อลูกชายเกรงกลัวต่อบาปขั้นรุนแรง จนต้องหาวิธีเยียวยา

ตัวอย่างของ การทำทานด้วยเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ – ข้อคิดดี ๆ ที่ชาวพุทธควรรู้

ซอยนี้มีรถเยอะ … อุทธาหรณ์สอนใจให้คลายความหงุดหงิดตั้งมั่นในสมาธิ

เศรษฐีตระหนี่ ทำบุญแล้วเสียดายทรัพย์ โดย ส.เขมรังสี (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี)

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.