เรื่องเวรกรรม

เราจะเชื่อ เรื่องเวรกรรม ได้จริงหรือ เมื่อคนทำดีกลับเจอแต่เรื่องแย่ๆ

เราจะเชื่อ เรื่องเวรกรรม ได้จริงหรือ เมื่อคนทำดีกลับเจอแต่เรื่องแย่ๆ

ปัญหาธรรมประจำวันนี้ :ทำไมบางคนทำเรื่องดีๆ มาตลอด แต่ ทำไมเจอแต่เรื่องแย่ๆ เรื่องเวรกรรม มีจริงหรือไม่ เรื่องนี้พระอาจารย์มีคำตอบ

ถาม: เวลาที่เราโชคไม่ดี ดวงตก มันเกี่ยวกับเวรกรรมไหม ทำไมบางคนทำเรื่องดีๆ มาตลอด แต่ ทำไมเจอแต่เรื่องแย่ๆ
กรรมดีในชาตินี้ไม่ส่งเสริมอะไรบ้างเลยหรือ เรื่อง เวรกรรม มีจริงหรือไม่

พระวิชิต ธมฺมชิโต  ตอบปัญหาข้อนี้ว่า

โชค แปลว่า ประกอบ คือกระทำนั่นเอง ทำดีก็โชคดี ทำไม่ดีก็โชคร้าย ต้องการโชคดีก็พึงเจริญสติให้มากในสิ่งที่คิด กิจที่ทำ คำที่พูด “สติมโต สทา ภัททัง ผู้มีสติ โชคดีทุกเมื่อ” ข้างบุญแรงก็แบ่งบาปให้สาบสูญ บุญก็พูนเพิ่มให้ดังใจประสงค์ ข้างบาปแรงก็แบ่งบุญให้ปลดปลง บาปก็คงวิ่งเข้าเป็นเจ้างาน เรื่องกรรมวิสัย ท่านว่าเป็นอจินไตย คือไม่ควรคิด ยากที่จะหาคำตอบ ถึงเหตุต้นผลกรรม ท่านจึงแนะนำให้เลือกทำแต่กรรมที่ดีๆ

ถาม: ช่วงชีวิตตอนนี้เจอเรื่องที่ส่งผลกระทบใจหลายเรื่อง ไม่อยากโทษเวรกรรมเลยค่ะทำอย่างไรเราถึงจะประคับประคองใจได้คะ

พระมหาธนาธิป มหาธมฺมรกฺขิโต ตอบปัญหาข้อนี้ว่า

ปัญหาเรื่องความรู้สึกของมนุษย์ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอกเข้ามาทำลายความสุขสงบภายในใจของเราเป็นปัญหาที่
ไม่เคยหายไปจากชีวิตของมนุษย์ในสังคมโลก ไม่ว่าจะเป็นสังคมในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต พระท่านเรียกว่า “โลกธรรม” คือ ธรรมชาติที่มีอยู่ประจำสังคมโลกใบนี้ เพียงแต่เราจะมีวิธีจัดการหรือสกัดกั้นมันอย่างไรเพื่อให้เรามีความสุขมากขึ้น เช่นการมองให้เห็นปัญหาที่มากระทบกับเรา และสืบสาวดูว่ามันเกิดจากอะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อทราบปัญหาแล้วก็หาทางออกจากปัญหานั้น เรียกวิธีนี้ว่า วิธีอริยสัจ ซึ่งจะแก้ปัญหาทุกอย่างได้

ความทุกข์ของมนุษย์เกิดจาก 2 ปัจจัยหลักเท่านั้น คืออายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอายตนะภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ เช่น ตากระทบกับรูป ก่อให้เกิดการปรุงแต่งชอบ ชัง พอใจ ไม่พอใจ ขุ่นเคืองใจ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ย่อมก่อความทุกข์ในใจทั้งสิ้น เพราะใจเป็นตัวแปรในการรับทราบสภาพที่เกิดขึ้นจากปัจจัย 2 อย่างข้างต้นนั่นเอง

กล่าวได้ว่า ใจเท่านั้นเป็นตัวกลางในการก่อทุกข์หรือดับทุกข์ ดังนั้นต้องมาประคับประคองที่ใจให้มีสติ รู้ทันปัจจัยที่มากระทบจิตของเรา พิจารณาให้เห็นปัญหาแล้วกำจัดมันออกไป สำคัญที่สุดใจต้องแข็งแกร่งพอในการเผชิญกับปัญหานั้นความจริงผลกระทบที่ทำให้จิตใจเป็นทุกข์ ถ้ามองในแง่ดีก็ทำให้เราได้ฝึกความอดทน อดกลั้น ฝึกสติ ฝึกความแข็งแกร่งของใจ ใช้สติและปัญญาเพื่อไตร่ตรองปัญหา และทำตัวเราให้มีโอกาสได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น จงแก้ปัญหาที่ภายในก่อนก่อนที่จะขยับมาแก้ปัญหาจากภายนอก และถูกต้องแล้วที่ไม่โทษเวรกรรม เพราะปัญหาบางอย่างไม่ได้เกิดขึ้นจากเวรกรรมเพียงอย่างเดียว แต่มีเหตุและปัจจัยจำนวนมากที่ทำให้เราทุกข์หรือคับแค้นใจ เพราะเราขาดการพิจารณาเหตุของปัญหานั่นเอง

 

Secret Magazine (Thailand)


บทความน่าสนใจ

เคยเกือบตายจึงอยากรวยเร็ว แต่ เวรกรรมไม่รอช้า เช่นกัน

กรรมติดจรวด บทความธรรมะจาก แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

“ขอเวลาปลดกรรม” เรื่องเล่ากฎแห่งกรรมระหว่างแม่-ลูก จากผู้อ่าน

กฏแห่งกรรม “ยุติธรรม” เสมอ (กรรมตามสนอง)

เกมกรรมของคนลวง บทเรียนชีวิตของอดีต เด็กเสี่ย

เมื่อชายหนุ่มฝีปากกล้า หันหน้าเข้าหาธรรม เจ็ม ณัฏฐ์ปวินท์ กุลกัลยาดี

ทำไมชีวิตเจอแต่ คนเจ้าชู้… รู้อยู่แล้วว่าเขามีคู่ควรทำอย่างไร

Dhamma Daily: เคยพลาด ทำแท้ง มาครั้งหนึ่ง จะลดกรรมนี้ได้อย่างไรคะ

พัฒนาตนเอง ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม เลิกเป็นคน “คิดแล้วไม่ทำ”

นางปัญจปาปี กรรมมีแต่เหมือนมีบุญมาบัง เกิดเป็นหญิงอัปลักษณ์แทนมีสัมผัสเป็นทิพย์

ลูกต้องรับกรรม เพราะแม่ทำแท้ง เรื่องเล่าชวนคิด คุณเชื่อเรื่องแบบนี้หรือไม่?

สารพันปัญหาเรื่องแก้เคล็ด แก้กรรม โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

ความเรียบง่าย สมถะ และมัธยัสถ์ ของมหาเศรษฐี วอร์เรน บัฟเฟตต์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทเบิร์กเซีบร์ แฮธาเวย์

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.