ศีลกับอาชีพ

Dhamma Daily  : ทำอย่างไรให้ ศีลกับอาชีพ ที่เราเลือกไปด้วยกันได้

Dhamma Daily  : ทำอย่างไรให้ ศีลกับอาชีพ ที่เราเลือกไปด้วยกันได้

ถาม : พระอาจารย์คะ ในการหางานเราควรพิจารณาอาชีพก่อนศีล หรือพิจารณาศีลก่อนอาชีพคะ ศีลกับอาชีพ

พระอาจารย์ไพโรจน์ ญาณกุสโล ได้ตอบปัญหาเรื่อง “อาชีพ” ไว้ว่า

ตอบ : ถ้าจะให้ดีต้องคำนึงถึงศีลเป็นหลักไว้ก่อน เพราะนอกจากจะไม่เป็นผลเสียกระทบผู้อื่นแล้ว ยังจะมีผลดีในระยะยาวต่อชีวิตและอนาคตของตัวเราเองอีกด้วย

ถาม : งั้นการเปิดผับบาร์จะถือว่าผิดศีลไหมคะ ในเมื่อเราไม่ได้ถือปืนไปบังคับให้ใครกินเหล้าสักหน่อย เขาเข้ามากินเองแท้ 

ตอบ : ถึงแม้เราไม่ได้บังคับให้ผู้อื่นทำแต่อาชีพของเราก็เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีช่องทาง ดังนั้นก็ถือว่าเรามีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ดี ถ้าเราไม่เปิดร้านไว้ เขาจะเข้ามากันไหมการเปิดร้านถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นทำผิดศีลได้สะดวกขึ้น…ถูกไหม

ถาม : สังเกตว่า อาชีพที่ผิดศีล 5มักร่ำรวย อยู่ดีกินดีและธุรกิจเหล่านี้มักเจริญรุ่งเรืองมาก เช่นขายเหล้าเบียร์ฯลฯ พระอาจารย์มีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไรคะ

ตอบ : ถ้าดูแบบผิวเผินอาจเป็นเช่นนั้นจริง แต่ลึก ๆ แล้วไม่ใช่ เพราะตามหลักของความเป็นจริง เหตุกับผลมันต้องมีความสมดุลกัน คือ ทำเหตุอย่างไรไว้ก็ต้องได้รับผลเช่นนั้น

การที่คนทำชั่วหรือทำทุจริต แต่ชีวิตเขาได้ดีนั้น นั่นเป็นเรื่องของอดีตกรรมที่เขาเคยทำไว้ บังเอิญว่ามันเป็นช่วงที่อดีตกรรมกำลังส่งผลอยู่พอดี แต่เจ้าตัวไม่รู้กลับนึกว่าเป็นผลที่เกิดมาจากการกระทำในปัจจุบัน เลยเข้าใจผิดในทำนองว่าทำชั่วได้ดี

ในทางตรงกันข้าม ถ้าเขาเป็นคนดีที่กำลังทำความดีอยู่ในขณะนั้น แต่บังเอิญเป็นช่วงที่อกุศลกรรมเก่ากำลังส่งผล เจ้าตัวไม่รู้ นึกว่าเป็นผลของการกระทำในปัจจุบันก็เลยเข้าใจผิดทำนองว่าทำดีได้ชั่ว ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นการไม่รู้ เป็นการเข้าใจผิด คิดเดาเอาเองตามสิ่งที่ตนเองกำลังประสบอยู่ โดยลืมนึกไปว่า การทำอะไรแล้วจะได้รับผลทันทีนั้นเป็นเรื่องยากมาก เว้นแต่ว่าขณะนั้นเข้าฌานอยู่แล้วตายไป กรรมนั้น ๆ จึงจะส่งผลทันที คือ ถ้าตายในฌาน จะไปเกิดเป็นพรหมเลย

 

คลิกเลข 2 ด้านล่าง เพื่ออ่านหน้าถัดไป >>>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.