ธนาคารแห่งประเทศไทย

จากอดีตโรงพิมพ์ธนบัตรเก่า สู่พื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ชมคลิป)

จากอดีตโรงพิมพ์ธนบัตรเก่า สู่พื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้

ศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ชมคลิป)

หากพูดถึง “ ธนาคารแห่งประเทศไทย ” คนทั่วไปอาจรู้สึกว่าเป็นสถานที่ “ ไกลตัว ”   แต่วันนี้ธนาคารแห่งชาติของเราปรับตัวครั้งใหญ่ เปิดบ้านต้อนรับทุกคนให้เข้ามาทำความรู้จักซึ่งกันและกันที่ศูนย์การเรียนรู้สุดสวยและทันสมัยริมแม่น้ำเจ้าพระยา

 

 

ธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใครก็เข้าถึงได้

ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ริมแม่เจ้าพระยาติดกับสะพานพระราม 8 เดิมที่นี่คือ อาคารโรงพิมพ์ธนบัตรแห่งแรกของไทย  อาคารเก่าที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่น โดยเฉพาะโครงสร้างหลังคาคอนกรีตหล่อรูปไข่ซ้อนกัน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2512  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเสด็จเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2512

ต่อมาเมื่อมีโรงพิมพ์ธนบัตรแห่งใหม่  จึงปรับปรุงอาคารหลังคาทรงวาฟเฟิลแห่งนี้ครั้งใหญ่ เพื่อเปลี่ยนเขตหวง

ห้ามที่สุดให้เป็นกลายเป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้และสร้างสรรค์ของประชาชน และเป็นแหล่งรวมความรู้ด้านเศรษฐกิจการเงินที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ประกอบด้วย ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ Co-Working Space ห้องประชุม และร้านกาแฟริมน้ำ ที่เปิดให้ทุกคนเข้ามาใช้งานได้


ศูนย์การเรียนรู้ฯ เปิดทำการเวลา 09.30 – 20.00 น. (หยุดวันจันทร์)

– พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย 09.30 – 16.30 น. มีรอบการนำชมทั้งหมด 6 รอบ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 14.00 น.
– ห้องสมุดพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย 09.30 – 20.00 น.

**เปิดให้บริการฟรีตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2561

การเดินทาง

  • รถประจำทาง สาย 3, 9, 30, 32, 33, 43, 49, 53, 64, 65, 516 และ 524
  • เรือด่วนเจ้าพระยา (ธรรมดา) ลงท่าเรือวัดสามพระยา หรือเรือด่วนเจ้าพระยาทุกชนิดลงท่าเรือเทเวศร์
  • รถยนต์ส่วนตัว จอดในอาคารที่จอดรถได้ 150 คัน จอดฟรี 4 ชั่วโมง

สอบถามเพิ่มเติมโทร. 0 2356 7766  อีเมล: learningcenter@bot.or.th หรือเว็บไซต์ www.botlc.or.th 

 

เรื่อง: เชิญพร คงมา ภาพ: ดวงพร ใบพลูทอง คลิป : วิทวัส มีเดช

ผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมฉบับเต็มได้ในนิตยสาร Secret ฉบับที่ 231 (เดือนมีนาคม 2561 ค่ะ)


บทความอื่นๆ น่าสนใจ

ธนาคารจิตอาสา มากกว่าคำว่า “อาสา” คือ “การพัฒนาจิต”

การอ่าน เปรียบดังธนาคารความรู้

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.