ต้มยำมะระเห็ดสามอย่าง ช่วยปรับสมดุลรางกาย

ต้มยำมะระเห็ดสามอย่าง ช่วยปรับสมดุลรางกาย

ผู้ควบคุมน้ำทั้งสาม

ธาตุน้ำภายในรางกายมีทั้งหมด 12 ประการ คือ น้ำดีเสลด น้ำหนอง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ น้ำตา มันขน มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขขอ น้ำปสสาวะหรือน้ำมูตร ทั้ง 12 ประการนี้แบงการควบคุมสำคัญเปน 3 จุด คือ ศอเสมหะ อุระเสมหะ และคูถเสมหะ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ศอเสมหะ หมายถึง ธาตุน้ำตั้งแตชวงคอขึ้นไปจนถึงศีรษะ มักเกี่ยวกับเสลด น้ำมูก หรือการทำงานของตอมตางๆ ที่ผลิตเมือก จุดนี้มักถูกกระทบไดงายในชวงตนฤดูหนาว (ตามปฏิทินไทยโบราณ ฤดูหนาวจะเริ่มในวันลอยกระทงของทุกป และสิ้นสุดในวันแรม 1 ค่ำของเดือนมีนาคม)
อาการบงชี้ความผิดปกติ มีเสมหะมาก (ธาตุน้ำกำเริบ) หรือเสมหะเหนียว (ธาตุน้ำหยอนหรือธาตุไฟกำเริบ) นั่นเอง

2. อุระเสมหะ หมายถึง ธาตุน้ำตั้งแตชวง คอลงมาจนถึงชวงเหนือสะดือ ในจุดนี้มักถูกกระทบ ไดงายที่สุดในชวงกลางฤดูหนาว
อาการบงชี้ความผิดปกติ หายใจลำบาก มีปญหาเกี่ยวกับโรคปอดและระบบทางเดินหายใจชวงอก หอบหืดหรืออาการไอหอบ อาเจียน รวมถึงอาการปวดทองที่เกี่ยวกับน้ำยอยในกระเพาะ อาหารยอยไมดีอันเนื่องจากน้ำดี ผิดปกติ เปนตน

3. คูถเสมหะ หมายถึง ธาตุน้ำตั้งแตสะดือลงไป อาจเปนน้ำมูกหรือเมือกในลำไส น้ำในอุจจาระ น้ำปสสาวะ น้ำในมดลูก น้ำอสุจิ ในจุดนี้มักประสบปญหาไดงายในชวงปลายฤดูหนาว
อาการบงชี้ความผิดปกติ ปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย เช่น ทองเสียหรือทองผูก มีปญหากับการถายปสสาวะ เปนตน

อาการผิดปกติของธาตุน้ำในสามจุดหลักนี้มักเกิดขึ้นไดงายในชวงเวลา 6.00 น. – 18.00 น. ของวันโดยเฉพาะ ฤดูหนาว โดยสามารถเกิดไดในทุกวัย แตชวงอายุที่เสี่ยงตอการเสียสมดุลที่สุดคือ ตั้งแตแรกเกิดจนถึงอายุ 16 ป ผูที่มี ธาตุเจ้าเรือนเปนธาตุน้ำจะมีโอกาสเสี่ยงที่สุด

การแก้ปัญหาของธาตุน้ำทั้งสามจุดเบื้องต้นมีวิธีง่ายๆ คือ การรับประทานอาหารใหเหมาะสมกับธาตุ โดยรับประทาน อาหารรสเปรี้ยวเมื่อเสมหะในรางกายมีมากเกินไป เพื่อชวยขับเสมหะสวนเกินออกมาและอาจใชรสเค็มชวยชะลางเสมหะ หรือเลือกใชรสขมเมื่อเสมหะเหนียว ผิวแหง ซึ่งอาจเปนผลมาจากธาตุไฟกำเริบ จึงทำใหน้ำในรางกายสูญเสียไป รสขม จะชวยขมไฟธาตุให้ลดลงอยู่ในระดับปกติได

ทั้งนี้จุดสำคัญที่สุดซึ่งสามารถบงชี้สุขภาพมวลรวมวาสมดุลหรือเสียสมดุลคือ คูถเสมหะ แพทยสมัยโบราณจึงใชการซักประวัติผูปวยเกี่ยวกับระบบขับถาย ตลอดจนกลิ่นและสีของอุจจาระ  และเนนการใชยาระบายและยาขับปสสาวะกอนที่จะใชยารักษาโรคหรือ ปรับธาตุตอไป

เมนู ต้มยำมะระเห็ดสามอย่าง ช่วยปรับสมดุลรางกาย รสขมจากมะระและรสเย็นจากเห็ดจะชวยควบคุมระดับไฟธาตุใหปกติ ขณะเดียวกัน รสเปรี้ยวและเค็มจากน้ำตมยำก็ชวยขับเสมหะสวนเกินออกจากรางกายได เมนูนี้จึงเหมาะกับคนธาตุน้ำหรือผูที่กำลังมีปญหาที่กลาวไวดานบนอยางยิ่ง

ตมยำมะระเห็ดสามอยาง ต้มยำ
ตมยำมะระเห็ดสามอยาง

ต้มยำมะระเห็ดสามอย่าง

ส่วนผสม (สำหรับ 2 ที่)  เตรียม 20 นาที ปรุง 10 นาที

  • มะระจีนหั่นบาง 2 ถวย
  • เห็ดเข็มทองตัดโคน 1 ถวย
  • เห็ดโคนญี่ปุนตัดโคน 1 ถวย
  • เห็ดหิมะฉีกเปนกอน 1 ถวย
  • ตะไครบุบตัดเปนทอน 5 ตน
  • ใบมะกรูดฉีก 10 ใบ
  • หอมเล็กบุบ 10 หัว
  • มะเขือเทศลูกใหญ 2 ลูก
  • น้ำมะนาว 1/2 ถวย
  • เกลือ 1 ชอนชา
  • น้ำตาลทราย 1/2 ชอนโตะ
  • ผงปรุงรสเห็ดหอม 1 ชอน
  • น้ำเปลา 4 ถวย
  • พริกขี้หนูตามชอบ
  • ผักชีใบเลื่อยหั่นทอนสั้นตามชอบ

วิธีทำ
1. เติมน้ำใส่หม้อ ยกขึ้นตั้งไฟจนเดือด จึงใส่ตะไคร้ ใบมะกรดู เร่งไฟให้แรงขึ้นจนกลิ่นหอม ปดไฟ กรองเอาแตน้ำ
2. นำน้ำที่กรองแลวใสหมอ ยกขึ้นตั้งไฟจนเดือด ใสเห็ดสามอยาง หอมเล็ก มะเขือเทศ ปรุงรสดวยเกลือ น้ำตาล ผงปรุงรสเห็ดหอม ตามดวยมะระ ตมตอสักครูจนมะระสุก บุบพริกขี้หนูใสลงไป ตามดวยผักชีใบเลื่อย ปดไฟ เตมน้ำมะนาว  ตักใส่ถ้วยรับประทานขณะร้อน

รสปรับสมดุลของธาตุน้ำคือ เปรี้ยว ขม และเมาเบื่อ จะใชกรณีที่ธาตุน้ำเริ่มเสียสมดุลเทานั้น หากธาตุน้ำในรางกายปกติ แตเลือกรับประทานอาหารทั้งสามรสดังกลาวเสมอ จะทำใหธาตุน้ำเสียสมดุลได แมบุคคลผูนั้นจะมีธาตุเจาเรือนเปนธาตุน้ำก็ตาม และสำหรับผูที่มีปญหาเกี่ยวกับธาตุไฟหยอน การรับประทานอาหารรสขมอาจทำใหธาตุไฟยิ่งลดนอยลง กรณีเดียวกันกับผู้ที่มีปัญหาธาตุไฟกำเริบ หากรบประทานอาหารรสเปรี้ยวก็จะทำให ธาตุไฟในรางกายกำเริบหนักได

ดังนั้นจึงควรควรใช้วิจารณญาณในการรับประทานอาหารตามธาตุเจ้าเรือนอยางละเอียดกอนเสมอ และควรเลือกอาหารที่บำรุงธาตุทั้งสี่ใหครบใน หนึ่งมื้อเพื่อใหแตละธาตุทำงานรวมกันอยางสอดคลองสมบูรณ

พลังงานตอหนึ่งหนวยบริโภค 87.00 กิโลแคลอรี
โปรตีน 4.77 กรัม ไขมัน 0.60 กรัม
คารโบไฮเดรต 20.45 กรัม ไฟเบอร 2.65 กรัม

เมนูปรับสมดุลร่างกายอื่นๆ คลิก

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.