อาหารพลังเย็นอร่อยสะกดทุกองศา

เดือนเมษายนเวียนมาถึงเมื่อใด พระอาทิตย์ก็จะโคจรเข้าใกล้เขตเส้นศูนย์สูตรของโลกมากขึ้นทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับอากาศร้อนจัด จนสามารถกระทบถึงธาตุไฟในร่างกายให้กำเริบทำให้เกิดภาวะร้อนในและความดันโลหิตสูงได้ง่าย สภาวะเช่นนี้จึงจำเป็นต้องรู้จักควบคุมอุณหภูมิกายให้เป็นปกติอยู่เสมอ เพื่อป้องกันผลเสียที่จะเกิดตามมา

นอกจากต้องดื่มน้ำคูณสองจาก 6 – 8 แก้ vวเป็น 12 – 16 แก้ว เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปทั้งทางเหงื่อและลมหายใจ สวมเสื้อผ้าเนื้อบางเบาเพื่อช่วยระบายความร้อนหลีกเลี่ยงการปะทะแดดโดยตรงในช่วงเวลาตั้งแต่ 10.00 น. – 15.00 น. แล้วการเลือกรับประทานและปรุงอาหารในฤดูร้อนก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ทั้งเรื่องรสชาติ การคัดสรรวัตถุดิบ และวิธีปรุงที่เหมาะสม ซึ่งหากรู้หลักการสำคัญก็สามารถนำไปใช้จัดอาหารเพื่อปรับอุณหภูมิกายให้เย็นลงหรือเป็นปกติได้

โดยอาหารในฤดูนี้ไม่ควรปรุงรสมากนัก เน้นรับประทานอาหารที่มีรสขม เย็น จืดเป็นหลัก จะช่วยให้ร่างกายเย็นและคลายร้อนได้ดี ลดรสเปรี้ยว เพราะทำให้ธาตุไฟกำเริบได้ง่าย โดยเฉพาะเปรี้ยวจากมะนาวและน้ำส้มสายชู หากต้องการรับประทานควรใส่แต่น้อยหรือเลือกใช้รสเปรี้ยวจากสิ่งอื่น เช่น มะขามเปียก ส้มซ่า ส้มเช้ง ใบมะขาม มะดันเป็นต้น รสเผ็ดร้อน ควรรับประทานให้น้อยที่สุด รสเค็มก็ต้องลดลง เพราะทำให้ไตทำงานหนัก ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นตามมา หากต้องการปรุงรสอาหารด้วยรสนี้ควรเลือกเครื่องปรุงรสเช่นน้ำปลาหรือซีอิ๊ว เลี่ยงการใช้เกลือโดยตรงหรือใช้แต่น้อยเท่านั้น เลี่ยงอาหารรสหวานจัด เพราะให้พลังงานสูง และน้ำตาลที่ร่างกายใช้เหลือยังถูกแปลงไป

เก็บไว้ในรูปแบบของไขมัน ทำให้ร่างกายร้อนขึ้นได้นั่นเอง ทั้งนี้ หากต้องการปรุงอาหารด้วยรสดังกล่าวควรเลือกใช้รสหวานจากน้ำตาลที่ไม่ฟอกสีหรือน้ำตาลกรวด เพราะมีฤทธิ์เย็นกว่ารสหวานชนิดอื่น หรืออาจใช้การผสมความหวาน เช่น หวานจากน้ำตาลไม่ขัดขาว 3 ส่วน น้ำตาลขัดขาว 1 ส่วน ก็ช่วยได้

เมื่อรู้รสอาหารที่เหมาะสมแล้ว มารู้หลักการคัดเลือกวัตถุดิบต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์เย็น เหมาะจะนำไปใช้ปรุงเป็นอาหารต้านร้อนกัน ดังนี้

318443wtkune2uerหมวดคาร์โบรไฮเดรต เลือกรับประทานคาร์โบรไฮเดรตเชิงซ้อน ไม่ขัดขาว จะมีฤทธิ์เย็นกว่าชนิดขัดขาวหมวดโปรตีน โปรตีนจากพืชจะมีความเย็น เช่น ถั่วสีเข้มทั้งถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว หรือธัญพืชสีอ่อน เช่น ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ฯลฯ ทั้งนี้ไม่รวมถั่วเปลือกแข็งต่าง ๆ เพราะให้พลังงานสูง เนื้อปูมีฤทธิ์เย็นกว่าปลา ส่วนปลาน้ำจืดจะมีฤทธิ์เย็นกว่าปลาทะเลเพราะมีระดับไขมันและเกลือต่ำกว่า หรือจะเลือกเป็นปลาทะเลน้ำลึกก็จะมีฤทธิ์เย็นกว่าปลาทะเลทั่วไป และไม่ควรรับประทานเนื้อปลาที่มีไขมันแทรกมาก ๆ ส่วนเนื้อวัวและหมูมีฤทธิ์ที่อุ่นกว่าทุกสิ่งที่กล่าวมาโดยเนื้อหมูมีฤทธิ์อุ่นที่สุด

318443wtkune2uerหมวดไขมัน ไขมันทุกชนิดมีฤทธิ์ร้อน ในฤดูร้อนจึงควรงดเว้นอาหารจากไขมันหรือรับประทานแต่น้อยผัก ผักสีขาวซีด ใส หรือมีสีเขียวเข้มแต่ไม่มีรสเผ็ด และผักที่มีสีม่วง รวมถึงเห็ดทุกชนิด ล้วนมีฤทธิ์เย็น พืชผักหัวที่มีเนื้อขุ่นส่วใหญ่มีฤทธิ์อุ่น เพราะมีแป้งเป็นองค์ประกอบ พืชตระกูลบวบ แตง ฟัก มีปริมาณน้ำในตัวสูง จึงให้ฤทธิ์เย็นทั้งสิ้นผลไม้ ควรเลือกผลไม้ที่มีเนื้ออุ้มน้ำ ไม่หวานหรือเปรี้ยวมาก เช่น ชมพู่ แตงโม เมลอน สาลี่ ฝรั่ง แตงไทย ฯลฯ

318443wtkune2uerเครื่องเทศและสมุนไพร ส่วนใหญ่มีฤทธิ์เผ็ดร้อนเกือบทั้งสิ้น จึงควรรับประทานแต่น้อย โดยเฉพาะเครื่องเทศรสเผ็ดอย่างพริก พริกไทย ข่าแก่ ขิงแก่ หากต้องการปรุงรสด้วยเครื่องเทศสมุนไพรในฤดูร้อนควรเลือกใช้ชนิดอ่อนแทน เช่น พริกหนุ่ม ข่าอ่อน ขิงอ่อน หรือจะใช้วิธีปรุงร่วมกับวัตถุดิบอื่นที่มีรสเย็นก็ได้

สุดท้ายคือวิธีปรุงอาหารที่เหมาะสม นั่นก็คือเน้นวิธีปรุงประเภทต้ม ตุ๋น หรือ นึ่ง ซึ่งไม่พึ่งพาน้ำมันเลย หรือใช้ให้น้อยที่สุด เลี่ยงการทอดและผัด เพราะน้ำมันเป็นพลังงานที่ทำให้ร่างกายร้อนขึ้นได้ง่ายในฤดูนี้

เมื่อรู้หลักการปรุงอาหารสำหรับฤดูนี้อย่างครบทุกมุมแล้ว ขอปิดท้ายด้วย 6 เมนูแสนอร่อยให้คุณลองนำไปปรุงรับประทานกัน ครานี้ไม่ว่าดีกรีความร้อนจะสูงแค่ไหน H&C ก็มั่นใจว่าทุกจานพลังเย็นเหล่านี้จะอร่อยและสะกดดีกรีความร้อนได้ทุกองศาอย่างแน่นอน

อาหารพลังเย็น

เมนูแนะนำมีดังนี้

 

หมายเหตุ : สตรีที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือนไม่ควรรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็นเพราะจะขัดขวางการขับของเสียออกจากร่างกายและหากมีอาการไข้ขึ้นสูง ปวดหัวซึ่งมักเป็นอาการป่วยจากการติดเชื้อไวรัสในฤดูนี้ควรรีบพบแพทย์อย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันอาการช็อกซึ่งอาจเกิดขึ้นได้สูง เพราะมีความร้อนในสภาพแวดล้อมเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรระมัดระวังระดับความดันเป็นพิเศษในช่วงฤดูร้อน

 

เรื่อง : สิทธิโชค ศรีโช สูตร : ครัว H&C ภาพ : พีระพัฒน์ พุ่มลำเจียก ผู้ช่วยช่างภาพ : เทวัญ ตั้งแสงประทีป สไตล์ : กษมา แก้วจำนง

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.