แก้อาการท้องผูก, ท้องผูก, อาการท้องผูก, ระบบขับถ่าย, อุจจาระแข็ง

6 สูตรแก้โรคท้องผูกคนทำงาน

แก้อาการท้องผูก

มา แก้อาการท้องผูก สำหรับผู้ที่ขับถ่ายยากกันค่ะ เพราะสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารประเทศสหรัฐอเมริกา (American Gastroenterological Association, AGA) ให้คำอธิบายถึงโรคท้องผูกว่า เป็นโรคในระบบทางเดินอาหารซึ่งมักพบในผู้ไม่ขับถ่ายติดต่อกันนาน 3 วัน ร่วมกับมีอาการแน่นท้องอุจจาระแข็ง และต้องอาศัยแรงเบ่งมากเวลาขับถ่าย

ส่วนการขับถ่ายที่เป็นปกติจะแตกต่างกันตามความสามารถในการเคลื่อนตัวของลำไส้ในแต่ละบุคคล โดยมากมักขับถ่ายตั้งแต่วันละ 3 ครั้งถึงสัปดาห์ละ 3 ครั้ง อุจจาระเป็นก้อน ไม่เหลวหรือแข็งจนเกินไป และไม่ต้องอาศัยแรงเบ่งมากก็สามารถขับถ่ายได้ง่าย

อาการท้องผูก, ท้องผูก, แก้อาการท้องผูก, ระบบขับถ่าย, อุจจาระแข็ง, อุจจาระแข็ง
กินอาหารที่มีใยอาหารน้อย ดื่มน้ำน้อย เสี่ยงต่อการเกิดอาการท้องผูก

เช็กพฤติกรรมคนทำงานถ่ายไม่ออก

หากมนุษย์งานคนใดไม่เข้าข่ายท้องผูกตามที่กล่าวมาข้างต้น อย่าเพิ่งเบาใจนะคะ เพราะคุณอาจประสบกับปัญหาเรื่องการขับถ่ายในอนาคตได้ หากมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อไปนี้

  1. ไม่กินผัก ผลไม้ และธัญพืชในปริมาณพอเหมาะ ใยอาหารในผัก ผลไม้ และธัญพืชไม่ขัดสี มีความสำคัญต่อระบบทางเดินอาหารในร่างกาย โดยทำหน้าที่เก็บกวาดเศษอาหารภายในลำไส้ ช่วยให้อุจจาระจับตัวเป็นก้อนและง่ายต่อการขับถ่าย

คนทำงานที่ไม่ใส่ใจสุขภาพ กินแต่ข้าวขัดขาว ขนมปังขาวขนมกรุบกรอบ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และอาหารอื่นที่ปราศจากใยอาหาร จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคท้องผูก

  1. ดื่มน้ำน้อย น้ำมีบทบาทสำคัญช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวและเคลื่อนออกจากลำไส้ได้ง่าย หลายคนจดจ่อกับการทำงานจนลืมดื่มน้ำระหว่างวัน ทั้งต้องนั่งอยู่ในห้องแอร์ซึ่งมีอากาศแห้ง และดื่มกาแฟซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นให้ขับปัสสาวะ ร่างกายจึงสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำในร่างกายไม่เพียงพอ อุจจาระจึงแข็ง และเคลื่อนตัวช้า ส่งผลให้ขับถ่ายลำบาก
  2. เครียด ความเครียดส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งอยู่นอกอำนาจจิตใจ โดยจะทำงานควบคุมอวัยวะภายในรวมถึงระบบขับถ่าย ดังนั้นคนทำงานที่ต้องประสบกับภาวะเครียดเป็นประจำจึงมักพบว่าเป็นโรคท้องผูกเรื้อรัง
  3. กลั้นอุจจาระบ่อยๆ วิถีชีวิตที่เร่งรีบทำให้ไม่มีเวลาขับถ่ายเช่น?ต้องออกจากบ้านแต่เช้ามืดเพื่อไปทำงาน เมื่อถึงเวลาที่ร่างกายต้องการขับถ่ายกลับไม่สามารถทำได้ เพราะรถติดอยู่บนท้องถนน ครั้นพอถึงที่ทำงาน บางคนไม่อยากเข้าห้องน้ำเพราะเกรงว่าไม่สะอาด สุดท้ายจึงกลายเป็นว่าไม่ได้ขับถ่ายตลอดทั้งวัน หากการกลั้นอุจจาระเช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เส้นประสาทรอบทวารหนักอาจเกิดอาการชินชา เมื่อมีอุจจาระมากระตุ้นก็ไม่ส่งสัญญาณให้เกิดการขับถ่าย ทำให้กลายเป็นโรคท้องผูกเรื้อรังได้
  4. กินยาระบายเป็นประจำ ยาระบายกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก แต่หากใช้เป็นประจำอาจทำให้ลำไส้ชินต่อการกระตุ้น เมื่อหยุดใช้ยา ลำไส้จะไม่เคลื่อนตัวเพื่อขับถ่ายตามปกติ และจำเป็นต้องใช้ยาทุกครั้งเพื่อกระตุ้นให้ขับถ่าย

 

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.