4 การกิน+ออกกำลังกาย แก้ปัญหาผมร่วง

แก้ปัญหาผมร่วง

ผมร่วง ปัญหาสำคัญของคนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่จำเป็นต้องใช้ภาพลักษณ์ทางด้านหน้าตา เพราะฉะนั้นเรามา แก้ปัญหาผมร่วง กันเถอะค่ะ

ผมร่วง ปัญหาของคนรักผม

คนเรามีผมคนละประมาณหนึ่งแสนเส้น โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละวันอาจมีผมร่วงวันละ 50-100 เส้น และเฉลี่ย 200 เส้นเมื่อสระผม ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะจะมีเส้นใหม่เกิดแทนเส้นที่ร่วงไป แต่บางคนมีอาการผมร่วงที่รุนแรง ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ

ผมร่วง (Alopecia) มีหลายชนิด เช่น ร่วงเป็นหย่อม มักเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น แพ้ยา (ยาแก้ปวด ยาลดกรดยูริก ยาละลายลิ่มเลือด และยาลดความดันโลหิต) และโรคผิวหนัง ส่วน ผมร่วงแบบพันธุกรรม เกิดจากฮอร์โมนเพศชายในร่างกายผิดปกติ โดยเส้นผมที่แข็งแรงจะค่อยๆ เล็กลงและหลุดร่วงในที่สุด

สำหรับ ผมร่วงจากการถอน ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาทางจิตใจและความเครียด ซึ่งมักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว และผมร่วงจากการเจ็บป่วย เช่น ภาวะเลือดจาง ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ (ทั้งภาวะไทรอยด์เป็นพิษและภาวะไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อย) โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็ง (แพ้เคมีบำบัด) และซิฟิลิส ก็ทำให้ผมร่วงได้เหมือนกัน

นอกจากนี้การได้รับสารเคมีเป็นประจำ เช่น น้ำยาดัดผมสเปรย์ฉีดผม และครอรีนในน้ำ ใช้แชมพูสระผมที่ไม่เหมาะสมกับสภาพหนังศีรษะและเส้นผม การขาดสารอาหาร โดยเฉพาะโปรตีนและวิตามินเอ รวมถึงคนที่ ติดยาเสพติด สูบบุหรี่ และ อยู่ในภาวะหลังคลอดบุตร ก็ทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน

แก้ปัญหาผมร่วง

ทำอย่างไรไม่ให้ผมร่วง

  1. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินในบุหรีเป็นตัวกระตุ้นให้ผมร่วงง่ายขึ้น
  2. นวศีรษะบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
  3. ทำความสะอาดเส้นผมสม่ำเสมอ ระวังแชมพูที่มีโซเดียมลอริลซัลเฟต (Sodium Lauryle Sulfate) เพราะมีสารซักล้างทีมีฤทธิ์รุนแรง
  4. ใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าวทาบริเวณที่ผมร่วงทุกวัน (ในกรณีที่ผมร่วงเพราะเชื้อรา ใช้ขี้ผึ้งผสมกับน้ำมะนาวเล็กน้อย ทาบริเวณที่ผมร่วง ก็ช่วยได้เหมือนกันค่ะ)

อาหารป้องกันผมร่วง

เพราะเส้นผมประกอบไปด้วยโปรตีนเคอราทิน เราจึงต้องกินอาหารที่จะไปเสริมสร้างโปรตีนในร่างกายดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. ข้าวและธัยพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เลย์ จมูกข้าว ถั่วต่างๆ งาดำ เมล็ดทานตะวัน ฟักทอง และเมล็ดฟักทอง
  2. ผักและผลไม้สด จำพวกหน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี ขึ้นฉ่าย ผักกาดหอม ผักกาดแก้ว หัวหอม ผักโขม มะเขือเทศ และสตรอว์เบอร์รี่
  3. วิตามินเอ เช่น ปลา (น้ำมันปลา น้ำมันตับปลา) แครอท ผักเขียวจัด-เหลืองจัด และผลไม้สีเหลือง นอกจากจะสร้างเส้นผมให้สวยงามแล้ว ยังช่วยสร้างผิวหนัง กระดูกและฟันด้วย
  4. โปรตีน เช่น ปลา เต้าหู้ เห็ด ผักและผลไม้ เพื่อช่วยสร้างโปรตีนชื่อเคอราทิน วึ่งเป็นโปรตีนสร้างเส้นผม
  5. น้ำเอนไซม์ เช่น หัวบีตรู้ตคั้นสดผสมกับหัวหอมนิดหน่อยอาทิตย์ละ 2-3 ถ้วยกาแฟ หรือน้ำคั้นส้มโอผสมน้ำต้มจากรำข้าวและจมูกข้าว ดื่มวันละหนึ่งแก้ว

 

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

แก้ปัญหาผมร่วง

วิตามิน กินแก้ผมร่วง

หากใครที่ไม่สะดวกในการเลือกกินอาหารสำหรับบำรุงผมตามที่แนะนำ วิตามินต่างๆ ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างโปรตีนเคอราทินในร่างกายได้ค่ะ

  • วิตามินเอ ครั้ง 1 เม็ด ประมาณ 10,000 IU 3 เวลา หลังอาหาร
  • วิตามินซี ครั้งละ 1 เม็ด หรือ 1,000 มิลลิกรัม 3 เวลา หลังอาหาร
  • วิตามินอี ครั้งละ 1 เม็ด หรือ 400 IU ตอนเช้า
  • วิตามินดี ครั้งละ 1 เม็ด ประมาณ 1,000 IU 3 เวลา หลังอาหาร ถ้าหากหาวิตามินดีล้วนๆ ไม่ได้ จะใช้ชนิดที่รวมกับวิตามินเอหรือวิตามินอีก็ได้
  • วิตามินบี 1 บี 3 บี 6 บี 12 และบีคอมเพล็กซ์ อย่างละ 1 เม็ด เช้า-เย็น ทุกวันหลังอาหาร
  • แคลเซียม แมกนีเชียม และสังกะสี วันละ 1 เม็โ ประมาณ 1-2 เดือน
  • เมไทโอนีน (Methionine) วันละ 1 เม็ด หรือ 200 มิลลิกรัม เป็นเวลาหนึ่งเดือน

สมุนไพรกระตุ้นให้ผมงอก

  • ขิงแก่ ตำขิงแก่แง่งขนาดฝ่ามือให้ละเอียด ใส่ลูกประคบแล้วนำไปนึ่ง จากนั้นนำมาประคบบริเวณที่ผมร่วง ทำวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที ประมาณ 3-5 วันจะเห็นผล
  • มะกรูด ต้มมะกรูดประมาณ 4 ผลกับน้ำสะอาดด้วยไฟปานกลางพอนิ่ม จากนั้นผ่าครึ่ง นำไปคั้น ใช้ผ้าขาวบางกรองเอาแต่น้ำมะกรูดใส่ภาชนะไว้ พอกศีรษะทิ้งไว้แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า ทำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (สูตรนี้เหมาะสำหรับผมร่วงที่เกิดจากแชมพูเป็นด่าง)
  • ว่านหางจระเข้ นำวุ้นของว่านหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะผสมกับไข่ไก่แดง 1 ฟอง และน้ำมันมะกอก 1 ช้อนชา ปั่นให้เข้ากัน หมักผมทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที ทำสัปดาห์ละครั้ง
  • ผักบุ้ง หรือใบบัวบก คั้นเอแต่น้ำ หมักผมทิ้งไว้ประมาณ 2 นาที

ข้อควรรู้เกี่ยวกับผมร่วง

  1. ถ้าร่างกายขาดวิตามินเอจะทให้หนังศีรษะแตกเป็นเกล้ด แต่ด้าได้รับวิตามินเอกมากเกินไป (เกิน 30,000 มิลลิกรัมต่อวัน) ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน
  2. ถ้าผมร่วงเพราะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ เพราะต้องรักษาด้วยยาไทร็อกซิน (thyroxine) ภายใต้คำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  3. ปัญหาผมร่วงบางชนิดอาจเกิดจากร่างกายดูดซึมอาหารไม่ดี ควรกินโปรไบโอติก 1-2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง

กายบริหารป้องกันผมร่วง

แม้จะไม่ใช่ป้องกันทางตรง แต่ท่าบริหารดังต่อไปนี้จะช่วยผ่อนครายกล้ามเนื้อ และทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหนังศีรษะได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นประสาทบนหนังศีรษะ

ท่าที่ 1 นั่งบนเก้าอี้ท่าสบาย หรือนอนราบกับพื้น ปิดตา หายใจเข้าลึกๆ จนท้องพอง หายใจออกจนท้องแฟบ ทำสลับกันไหมา

ท่าที่ 2 ยืนโน้นตัวไปข้างหน้า ก้มศีรษะลงไปให้ใกล้นิ้วเท้าที่สุด เหยียดแขนทั้งสองข้างไปด้านหลัง

ท่าที่ 3 เลิกคิ้วให้สุงสุดเท่าที่จะทได้ จนเดรอยย่นที่หน้าผาก ทำค้างไว้ นับ 1-8 จากนั้นปล่อยคิ้วอย่างแรงและเร็วแล้วคลายคิ้วให้ปกติ

ท่าที่ 4 ยกมือปิดหูทั้งสองข้าง แล้วขยายริมฝีปาก ลักษณะยิ้มแยกเขี้วมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขณะเดียวกันปิดตาให้แน่นที่สุด นับ 1-8 เพิ่มแรงกดที่หูมากกว่าเดิมเล้กน้อยแล้สคลาย

ท่าที่ 5 ดึงคิ้วให้ต่ำลงชิดสันจมูกให้ได้มากที่สุด ปิดตาให้แน่น ต้างไว้ นับ 1-8 เพิ่มแรงกดเล็กน้อยก่อนคลาย

 

ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 181 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.