ระบบย่อยอาหาร

12 ปัจจัยใกล้ตัว ทำร้ายระบบย่อยอาหาร

ระบบย่อยอาหาร

เรื่องอาหารไม่ย่อย ย่อยไม่ดี อืดเฟ้อ ท้องผูก แล้วก็เลยไปถึงเรื่องหิวบ่อย กินเก่ง ติดอาหารบางอย่างจนทำให้น้ำหนักเพิ่ม กลายเป็นความอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคตับ โรคไต และโรคลำไส้…เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับระบบการย่อยอาหารทั้งสิ้น

บ.ก.อยู่ในกลุ่มมนุษย์ที่ไม่เอนจอยอี้ดติ้ง (enjoy eating) สนุกสนานกับการกิน หรือต้องสรรหาของอร่อยที่นั่นที่นี่กิน และไม่ได้เป็นสายปาร์ตี้ หรือกินไปคุยไปจนดึกดื่น (ลองพาบ.ก.ไปสิ นางสามารถหลับคาโต๊ะอาหารได้ ถ้าเลยสี่ทุ่มไปแล้ว) ฉะนั้นถึงจะตามเพื่อนไปกินอะไรต่ออะไรที่นั่นที่ได้ แต่เมื่อไปถึงร้านอร่อยนั้นๆ ก็ยังเลือกสั่งแต่เมนูสุขภาพ มีผักไหม ปลาล่ะจ๊ะ จากนั้นก็จะล้วงกระเป๋าเอาข้าวกล้องของตัวเองออกมา…โอเคเริ่มต้นมื้อแสนอร่อยนี้ได้ (และต่อให้มีเมนูซิกเนเจอร์เป็นหมู เนื้อ ของหวานของทอดสูตรจากนิวซีแลนด์ หรือสแกนดิเนเวีย อีนี่ก็จะไม่แล) 555 การจะเลี่ยงข้าว บ.ก. ง่ายมากค่ะ ก็แค่ทำให้บ.ก. “อิ่ม” ด้วยอาหารสุขภาพ

ระบบย่อยอาหาร

เลยไม่เคยมีปัญหากับน้ำหนัก ถ้าจะมี ก็ออกแนวว่ามีน้ำหนักน้อยเกินไป น้อยจนไม่สามารถบริจาคเลือดได้ สะท้อนว่าระบบเผาผลาญของร่างกายไม่มีปัญหา ส่งผลต่อการขับถ่ายและการนอนดีงาม เลยไม่มีปัญหากับอารมณ์และความสดชื่นในแต่ละวัน ช่วยลดปัญหาที่จะเกิดกับสมองและความจำ

เมื่อระบบเผาผลาญทำงานมหัศจรรย์อย่างนี้ จึงมีคนมาขอเคล็ดลับวิธีการกินไม่ให้น้ำหนักเพิ่ม ซึ่งก็ให้ไปแล้วได้แก่ กินอาหารชีวจิตนะจ๊ะ จำพวกข้าวกล้อง ผัก ปลา งดของหวานและของทอด รวมทั้งน้ำหวานทุกประเภท กินพออิ่ม และไม่กินหลังจากหกโมงเย็น เพื่อร่างกายและสมองจะค่อยๆ ชัตดาวน์ สามารถหลับได้ในเวลาสี่ทุ่ม

หะ…ทำไม่ได้…แรกๆ บ.ก.ก็งง ทำไมทำไม่ได้ ก็แค่หยุดกินบางอย่างที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และเริ่มกินบางอย่างที่ดีต่อสุขภาพ @#$%& เอาล่ะ ข้ามๆรายละเอียดไปสู่การช่วยเหลือใหม่ ซึ่งนำมาจากนิตยสารฝรั่ง WEBMD เป็นเรื่องเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานน้อยลงหรือช้าลง เพื่อให้ทุกท่านเช็คตนเองว่า กำลังอยู่ในเงื่อนไขสุขภาพแบบไหน และจะแก้ไขอย่างไร

คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป

  1. พันธุกรรม ว่ากันว่าหากพ่ออ้วน แม่ก็อ้วน ลูกก็จะอ้วนตามไปด้วย ฉะนั้นคนกลุ่มนี้จะต้องเน้นการปรับพฤติกรรม โดยเฉพาะการออกแรงและเคลื่อนไหวระหว่างวัน
  2. ฮอร์โมน ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ไทรอยด์ อินซูลิน คอร์ติซอล ล้วนแล้วแต่ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานน้อยลง วีธีแก้ไขคือ แก้ที่ต้นเหตุ โดยรักษาโรคที่เป็นอยู่ให้หายก่อน
  3. นอนไม่พอ ซึ่งการตื่นลืมตาในเวลาที่อวัยวะภายในที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารซ่อมตัวเองนั้น จะทำให้ระบบย่อยอาหารไม่ได้ซ่อมแซมตัวเองเต็มที่ จึงทำงานน้อยลงในวันถัดไป
  4. จำกัดอาหาร ในผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ลองนึกภาพระบบย่อยคือเครื่องบดอาหาร มีหน้าที่บดอาหารวันละสองกิโลกรัม แต่แล้ววันดีคืนดีก็ส่งอาหารให้บดแค่ครึ่งกี่โลกกรัม ระบบย่อยจะปรับโปรแกรมการบดใหม่ โดยบดน้อยลงและช้าลงตามจำนวนอาหาร ฉะนั้นเมื่อน้ำหนักลดลงได้ที่ จึงกลับมากินปริมาณเท่าเดิม คือ ประมาณสองกิโลกรัม คนอ้วนที่ผอมแล้ว จึงเกิดอาหารโยโย่เอฟเฟ็ค
  5. ขาดไอโอดีน ซึ่งก่อนจะทำให้เกิดอาการคอพอกและเรียนรู้ช้า การขาดไอโอดีนจะส่งผลต่อไทรอยด์ ขาดเกลือแร่สำคัญในการไปช่วยระบบย่อย ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพระบบย่อยอาหาร
  6. ขาดน้ำ น้ำช่วยทำให้อิ่ม ช่วยให้กินได้น้อยลงในคนที่ต้องการลดน้ำหนัก ที่สำคัญมีงานวิจัยยืนยันว่า น้ำช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานดีขึ้น
  7. ดื่มกาแฟ คาเฟอีนเปล่าๆ แบบยังไม่เติมครีม นม น้ำตาล ช่วยชะลอการทำงานของระบบเผาผลาญ แถมงานวิจัยบางชิ้นยังบอกว่า คาเฟอีนมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยเบาหวานควรงดกาแฟ
  8. งดคาร์โบไฮเดรต ร่างกายต้องการคาร์โบไฮเดรตมาช่วยการทำงานของอินซูลิน ซึ่งอินซูลินมีผลโดยตรงต่อการเผาผลาญพลังงาน และการสร้างสมดุลของน้ำหนักตัว ฉะนั้นควรกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืช ผัก และผลไม้ เพื่อรักษาความสมดุลของระบบย่อย
  9. ยาคลายเครียด ผู้ป่วยจิตเวช หรือผู้ที่มีความเครียด หรือภาวะโรคซึมเศร้า มักได้รับยากลุ่มที่ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานช้าลง รวมทั้งระบบย่อยอาหารทำงานกะดึก
  10. ทำงานกะดึก ทุกระบบภายในร่างกายต้องการการซ่อมแซม ขณะพระอาทิตย์ลาวัน และเรานอนหลับ ฉะนั้นหากยังต้องถลึงตาทำงานตอนที่ตับไตกระเพาะอาหารและลำไส้ต้องการการฟื้นฟูประจำวันแล้วล่ะก็ ระบบย่อยอาหารก็จะเสียไปอย่างง่ายดาย เสี่ยงต่อโรคอ้วนและเบาหวาน
  11. เปลี่ยนเวลาอาหาร กินอะไร…เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนรู้ กินเวลาไหน…ก็สำคัญด้วยเช่นกัน เพราะการเปลี่ยนแปลงการกินจากกลางวันเป็นกลางคืน เมื่อเปลี่ยนสถานที่อยู่ ทำให้ระบบย่อยอาหารเกิดอาการช็อค และไม่ทำงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการเจ็ตแล็ค หากเกิดขึ้นบ่อยๆ จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
  12. กินอาหารไขมันสูง รู้ไหมการกินอาหารทอด หรือของมันที่เต็มไปด้วยนมเนยเยิ้มๆ นั้น จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานเพี้ยน โดยจะทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้ร่างกายสะสมไขมันและน้ำตาล จนกลายเป็นโรคเบาหวาน และอ้วน

เช็คแล้ว ทราบแล้ว ปรับเปลี่ยนด่วน เดี๋ยวจะหาว่าบ.ก.ไม่บอกนะคร้า

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.