แก้โรคซึมเศร้า

3 สเต็ป แก้โรคซึมเศร้า ของบ.ก.

แก้โรคซึมเศร้า

ใช้สมองส่วนคอร์เท็ค หาความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลมาบอกเล่าชาวแฟนเพจ สุดท้ายก็วนมาสู่การใช้สมองส่วนลิมบิก เล่าเรื่องประสบการณ์สุขภาพของตนเองอีกครั้ง ไม่นานมานี้เอง

หลังจากเริ่มเขียน บ.ก.ขอแชร์ ที่เล่าเรื่องของตนเองตอนป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว ต้องรื้อฟื้นความจำ ย้อนกลับไปตีแผ่ แยกแยะเรื่องราวความเจ็บป่วย การรักษา ซึ่งมาพร้อมสตอรี่ของคนรอบตัว ซึ่งมีครบทุกรส สุข ทุกข์ ขมขื่น เบิกบาน

มีความสุข

ด้วยวิถีชีวิตการทำงานนิตยสารรายปักษ์ที่ต้องอาศัยความเร็วและแม่นยำบางแบบ ระหว่างป่วย ก็จะเลือกคิดแต่เรื่องดีๆ ส่วนเรื่องไม่ดีและบางความสัมพันธ์ที่แก้ไขไม่ได้ ก็จะวางไว้ ว่างๆ ก็หันมาดูสักที ถ้ายังหาทางแก้ไขไม่ได้ ก็วางไว้ต่อไป ปล่อยให้มันเป็นปมยุ่งๆ โดยเชื่อว่ากาลเวลาจะช่วยคลายปมนั้น หรือไม่อีกฝ่ายก็เรียนรู้หาปัญญามาแก้ไข

ฉะนั้น เมื่อย้อนคิดเล่ารายละเอียดช่วงเวลาที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง (ปลุกให้สมองส่วนฮิปโปแคมบัส หรือสมองส่วนความจำทำงาน) ปมยุ่งขิงนี้ก็โผล่มา (สมองส่วนลิมบิก หรือสมองส่วนอารมณ์ความรู้สึก ก็ทำงานด้วยเป็นแพ็คเก็จ) บ.ก.จำทุกอย่างเป็นภาพ บางเรื่องราวความทรงจำ มาเป็นเหมือนม้วนฟิล์มภาพยนตร์ ทั้งสตอรี่ บรรยากาศ อารมณ์ความรู้สึก ทำน้ำตาหลั่งรินกันเลยทีเดียว

คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป

และเมื่อปลุกความจำนี้ขึ้นมาแล้ว ก็ต้องแบกรับช่วงดราม่าของชีวิตให้ได้ หลายวันออกแนวหลอน ตื่นเช้ามา รู้สึกเหมือนเป็นวันนั้นคือ วันหนึ่งในช่วงเวลาที่เจ็บป่วย

จากที่เป็นคนอยู่กับความจริง อะเลิต และพร้อมลุยไปข้างหน้า (ต่อให้สถานการณ์ข้างหน้าจะถอยหลังขนาดไหนก็ตาม) บ.ก.เริ่มเปลี่ยนเป็นคนละคน อารมณ์ออกแนวถอย เพื่อนสนิทและคนรอบข้างเอ่ยปากว่า ไม่เคยเห็น บ.ก. เป็นแบบนี้เลย…ใช่ค่ะ ไม่เคยเป็นเลย

แก้โรคซึมเศร้า

เอาล่ะ ตอนนั้นแม้จะถอย แต่ก็คิดว่า ไหนๆ แผ่อดีตออกมาแล้ว ต้องชำระล้างเรื่องไม่ดีออกจากใจไปให้หมด พิจารณาดูความทุกข์ วิเคราะห์เหตุปัจจัย คิดวนไปวนมา คิดวนมาวนไป เหตุปัจจัยอะไรหรือ กังวลนั่นกังวล ห่วงนั้นพะวงนี่ หมดแรงสร้างสรรค์ทุกสิ่งอย่าง…เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือน สองเดือน…สุดท้ายมารู้ตัวอีกที อ้าว!!! อาการของโรคซึมเศร้านี่นา จึงรีบบอกน้องทีมงานว่า “จะรีบแก้ไข ถ้าไม่หายใน 1 เดือนคงต้องไปหาจิตแพทย์”

(ตอนนี้หายแล้ว จึงเล่าได้ว่า) ขั้นตอนและวิธีแก้โรคซึมเศร้าของบ.ก.คือ

  1. เท่าทันตนเอง เวลาจิตกระเพื่อมขึ้น-ลง สุข-ทุกข์ ทำให้เกิดความไม่สงบใจ เราจะรีบกลับมาที่ใจ จดจ่อกับจังหวะของความผิดปกติข้างใน โดยไม่โทษคนอื่น หรือปัจจัยอื่นภายนอก ซึ่งจะมองเห็นการทำงานของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสและลิมบิกดังกล่าว (การทำงานของสมองส่วนคอร์เท็กซ์หรือส่วนที่ว่าด้วยเรื่องข้อมูล เหตุผล และการคิดวิเคราะห์ลดลง) เพราะการฝึกวิปัสสนามานั่นเอง (เชื่ออย่างนั้น) เราจึงเท่าทันแม้กระทั่งเวลาที่ลิมบิกทำงานเต็มที่ จนจุดควบคุมอารมณ์อันตรธาน หากมีอะไรมากระทบ จะเหวี่ยงปรี๊ดได้ทันที (ทำไป 1 ครั้งค่ะ)

คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป

2. สร้างโปรแกรมเพิ่มการทำงานของคอร์เท็กซ์ เมื่อลงไปฟื้นฝอยหาตะเข็บแล้ว ก็ยากจะออกมาจากความยุ่งขิงเหล่านั้น เช่นกัน คุณหมอเดเนียล จี เอเมน จิตแพทย์แห่งเอเมนคลินิก เจ้าของหนังสือเรื่อง Change Your Brain, Change Your Life กล่าวว่า เมื่อกระตุ้นให้สมองส่วนหนึ่งทำงานแล้ว วิธีคิดและบุคลิกเราจะเปลี่ยน ฉะนั้นเมื่อกลายเป็นคนคิดวนไปวนมาเสียแล้ว และรู้สึกว่าทำให้ชีวิตถอยหลัง ซึ่งไม่ชอบเลย ก็ต้องกระตุ้นให้สมองอีกส่วนกลับมาทำงาน ส่วนตัว บ.ก. ใช้วิธีนี้ค่ะ

  • ทำตาราง 30 วัน สำหรับกิจกรรมลดการทำงานของลิมบิก ได้แก่ ปฏิบัติธรรมวันละ 10 นาที/ ออกกำลังกายวันละ 20 นาที/ สวดมนต์วันละ 10 นาที/ อ่านหนังสือธรรมะวันละ 20 นาที
  • กินน้ำมันปลา (Fish Oil) วันละ 500 มิลลิกรัม
  • เลิกออนไลน์ 15 วันติดต่อกัน (เพื่อนในเฟสบางคนสังเกตได้ค่ะว่าช่วงไหน)

ออกกำลังกาย

  1. วางแผนชีวิต เพราะไม่สามารถย้อนอดีตกลับมาได้ ปัจจุบันหรือ ก็ดูลุ่มๆ ดอนๆ ฉะนั้นการวางแผนอนาคตให้เป็นรูปธรรม ดูจะเป็นการใช้สมองส่วนคอร์เท็กซ์ให้ทำงานในระดับสูงสุด เพราะต้องวิเคราะห์ข้อมูล เหตุผล ความน่าจะเป็น และความเป็นไปได้ โดยเฉพาะหากเป็นการวางแผนร่วมกับเพื่อนรักเพื่อนเก่าแก่ที่ไว้วางใจได้ว่า จะไม่มีวัน “เท” จนกว่าแผนจะสำเร็จ ยิ่งสนุก ยิ่งเบิกบาน ยิ่งมีแรงและกำลังใจ

จึงไม่ต้องไปหาจิตแพทย์ค่ะ เพราะภายใน 2 สัปดาห์ที่ตั้งใจจริง และปฏิบัติตามโปรแกรมข้างต้น อาการต่างๆ หายไป ไม่ว่าอาการอดีตหลอน อาการคิดวนไปวนมา อาการกังวลเป็นห่วง ท้อแท้หมดเรี่ยวแรง รวมทั้งความรู้สึกพร้อมเหวี่ยงตลอดเวลา ขณะเดียวกันความอะเลิต เบิกบานกับชีวิต สนุกกับการทำทุกสิ่งทุกอย่างตามหน้าที่ก็กลับมา

แม้จะเหลืออาการกินไม่ค่อยได้อยู่ตาม (อันนี้น่าจะเป็นนิสัยขี้เกียจกินถาวรของเราเอง)

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.