ข่าวลือสุขภาพ

3 หลักคิด ก่อนเชื่อข่าวลือสุขภาพ

ข่าวลือสุขภาพ

เราอยู่ในโลกของ ข่าวลือสุขภาพ และข่าวสารข้อมูล ไหนจะมาเร็ว แถมยังขมวดจบเป็นบทสรุปที่แรงเปรี้ยง แบบที่ต้องให้ผู้รับสารชื่นชอบ และแชร์ต่อ

ถามว่า ทำไมผู้ส่งสารต้องสื่อสารวิธีนี้ นั่นเป็นเพราะพฤติกรรมของผู้รับสารในโลกออนไลน์เป็นแบบนี้นั่นเอง

สุขภาพ

อย่างนี้ ความซวยตกอยู่ที่ผู้รับสาร เพราะเมื่อเราถูกหลอกล่อได้ เราก็จะถูกหลอกล่อต่อไป และหากถ้าเราหืออือขึ้นมา เช่นว่า ข่าวสารที่น่าเชื่อถือ ต้องมาจากหลักฐานวิทยาศาสตร์ หรืองานวิจัย จากสถาบันนั้นสถาบันนี้ ผู้ส่งสารก็จะไปหางานวิจัยมาสนับสนุนสิ่งที่กำลังจะบอกต่อผู้รับสาร เพื่อให้ผู้รับสารเชื่อ

และเส้นแบ่งระหว่างความจริงใจที่จะบอกเล่าสิ่งดีให้ฟัง กับการทำงานที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากองค์กรนั้นองค์กรนี้ ก็มีอยู่อย่างเบาบาง…เบาบางเสียจนบางทีผู้รับสารก็แยกไม่ได้ว่า ข้อมูลนี้ถูกต้องดีงาม มาจากความหวังดีของผู้ส่งสาร หรือเป็นข้อมูลที่บิดเบือนความจริง เพราะต้องการขายสินค้าบางอย่าง และถ้าสินค้านั้นดีจริง ก็รอดตัวไป แต่ถ้าสินค้านั้นออกแนวทำลายชีวิต เราก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการฆาตกรรมหมู่ด้วย

คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป

วันนี้ บ.ก.ออกแนวแรงนิสหนึ่ง แต่ก็แค่อยากให้แฟนเพจของเรามีภูมิคุ้มกัน ก่อนเชื่ออะไรง่ายๆ

จริงๆ ก็ยืนอยู่บนพื้นฐานของหลักกาลามสูตรของพระพุทธเจ้านั่นแหละ โดยทำให้ง่ายขึ้น ใกล้ตัวผู้สนใจเรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น ดังนี้

  1. อย่าเชื่อเพราะเป็นงานวิจัยจากสถาบันที่น่าเชื่อถือบ.ก.เคยเล่าไปตั้งแต่ตอนแรกๆ แล้วว่า ราวปี 1960 กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาลในประเทศสหรัฐอเมริกา เคยจ้างอาจารย์นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยชื่อดังอย่างฮาร์วาร์ด ทำงานวิจัยด้านโภชนาการชิ้นหนึ่ง เพื่อกล่าวว่า ไขมันคือตัวก่อโทษต่อสุขภาพ เพื่อให้ฟรุกโตสคอร์นไซรับ (Fructose Corn Syrup) สามารถเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารในยุคนั้นได้ โดยเราไม่เคยรู้ว่าถูกหลอกตลอดมา จนกระทั่งหลายปีให้หลังที่มีการเปิดโปงความจริงกันขึ้นมา หลังจากโรคอ้วนคร่าชีวิตมนุษยชาติไปแล้วเป็นจำนวนมหาศาล

ข่าวลือ

หรือล่าสุด งานวิจัยจากสถาบันที่น่าเชื่อในบ้านเรา ที่ทำโดยอาจารย์ตำแหน่งใหญ่โต ว่าด้วย การผลิตพืชอินทรีย์ดีสู้การผลิตแบบเคมีไม่ได้ ก็เข้าอีหรอบเดียวกัน ให้สงสัยว่ามีอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่อะไรแบล็คอัพงานวิจัยชิ้นนี้อยู่ (แบล็คอัพ แปลว่า จ่ายเงินให้มีการวิจัยชิ้นนี้เกิดขึ้น)

  1. ใช้วิจารณญาณพื้นฐานในการตัดสินใจว่าอะไรจริง อะไรไม่จริงถ้าเราเป็นคนที่หนักแน่นมั่นคง เชื่อว่าความตายเป็นเรื่องธรรมชาติ เหมือนความเกิด แก่ เจ็บ ซึ่งต้องเกิดกับเราแน่ๆ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักหรอก ฉะนั้น เมื่อพบข้อมูลข่าวสาร ที่บอกว่าเราจะไม่เจ็บ ไม่แก่ และไม่ตายง่ายๆ เราจะยั้งใจ ใช้วิจารณญาณพิจารณา ก่อนจะนำไปใช้กับตนเอง ส่งต่อ หรือแนะนำคนอื่น

คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป

3. หาความรู้สุขภาพใส่ตัวและเชื่อมั่นในวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่คนส่วนใหญ่ยอมรับพยายามทำตัวเองให้มีปัญญาเข้าใจเรื่องสุขภาพ โดยเริ่มจากเข้าใจร่างกายตนเองก่อน เช่น กินสิ่งนี้ร่วมกับกิจกรรมหนึ่ง แล้วมีอาการอย่างนี้ เมื่อกินสิ่งนี้ร่วมกับอีกกิจกรรมหนึ่ง อาการก็เปลี่ยนไป จากนั้นก็หาข้อมูลมาอธิบายปรากฏการณ์นี้ ข้อมูลที่หนึ่ง บอกแบบหนึ่ง ข้อมูลที่สอง บอกอีกแบบหนึ่ง จึงต้องลองถามผู้รู้ ซึ่งอาจจะให้คำแนะนำเป็นสองทาง ถ้าไม่อันตรายมาก ก็ลองใช้กับตนเองดู

ข่าวลือสุขภาพ

หากเจ็บป่วย จงเชื่อมั่นในการแพทย์ที่เราเลือกแล้ว ซึ่งถ้าไม่ใช่การแพทย์แผนปัจจุบัน เราก็ต้องอธิบายได้ว่า การแพทย์แผนไทยหรือแผนจีน ที่เราเลือกนั้นมันดีกว่าแบบอื่นอย่างไร หรือถ้าจะต้องผสมผสาน เราก็ต้องรู้ว่า การผสมผสานดีกว่าไม่ผสมผสานอย่างไร

หลักคิดเหล่านี้ จะช่วยให้เราไม่ตกเป็นทาสของข่าวลือมากเกินไป ฉะนั้นก่อนไลค์แชร์อะไร (แม้แต่บ.ก.ขอแชร์ก็ตาม) ก็ยั้งนิสสสว่า เรากำลังทำร้ายสุขภาพคนอื่นด้วยข้อมูลผิดๆ หรือเปล่า

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.