ปวดประจำเดือน

สูตรยาจีนแช่เท้า แก้โรคฮิตคนทำงาน

รักษาอาการ ปวดประจำเดือน ด้วยการแช่เท้า

หากสาวๆ กำลังมีอาการ ปวดประจำเดือน กันอยู่ แพทย์จีน นภษร  แสงศิวะฤทธิ์ อาจารย์ประจำคณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จะมาแนะนำวิธีแช่เท้าหยุดปวดประจำเดือน

แพทย์แผนจีนเปรียบเท้าเสมือนหัวใจดวงที่สอง เป็นฐานรากของร่างกายซึ่งเชื่อมปลายประสาทระหว่างเท้ากับสมองเข้าด้วยกัน โดยร่างกายมีเส้นลมปราณทั้งหมด 12 เส้น และมีถึง 6 เส้นที่เชื่อมต่อมายังเท้า คือ เส้นลมปราณยินเท้า 3 เส้น ได้แก่ เส้นสังกัดอวัยวะตับ ม้าม และไต เส้นลมปราณหยางเท้า 3 เส้น ได้แก่ เส้นสังกัดอวัยวะกระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีจุดฝังเข็มรวมกันทั้งสิ้น 66 จุด

          เราอาจเคยทราบกันมาว่า การแช่เท้าด้วยน้ำอุ่น ช่วยทำให้เท้าเกิดการผ่อนคลายและสามารถป้องกันโรคได้ ปักษ์นี้จะขอแนะนำการแช่เท้าด้วยยาจีนเพื่อแก้อาการดังนี้

ปวดประจำเดือน

1.ปวดประจำเดือน

          1.1.ผู้ที่มีอาการปวดประจำเดือนที่เกิดจากลมปราณติดขัด เลือดไหลเวียนไม่ดี ซึ่งสามารถสังเกตจากประจำเดือนจะมีสีแดงเข้ม มีลิ่มเลือดปนมา จะมีอาการปวดท้องน้อย อารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิด ช่วงก่อนมีประจำเดือน 2 วัน – 1 สัปดาห์ หรือในช่วงมีประจำเดือน 1-2 วันแรก

แนะนำให้แช่เท้าด้วยยาที่มีฤทธิ์ซึมซาบเข้าสู่เส้นลมปราณตับ เช่น อี้หมูฉ่าว (กัญชาเทศ) ฮงฮวา (ดอกคำฝอย) เหมยกุยฮวา (ดอกกุหลาบ)

คลิกเพื่ออ่านต่อที่หน้าถัดไป

1.2.ผู้ที่มีอาการปวดประจำเดือนจากภาวะหยางพร่อง ความเย็นสะสม ซึ่งจะมีอาการปวดท้องน้อย เมื่อประคบร้อนแล้วจะรู้สึกดีขึ้น มือเท้า เย็น ต้องใช้ยาจีนที่ช่วยเพิ่มความอุ่น ขจัดความเย็น เนื่องจากแพทย์จีนกล่าวว่า ไตเป็นตัวควบคุมพลังงานหยางทั้งร่างกาย

แนะนำให้แช่เท้าด้วยยาที่มีฤทธิ์ซึมซาบเข้าสู่เส้นลมปราณไต เช่น โร่วกุ้ย (อบเชย) ติงเซียง(กานพลู) เสี่ยวหุยเซียง(เมล็ดยี่หร่า) ตังกุย(โกฐเชียง) กันเจียง(ขิงแห้ง)

ปวดประจำเดือน

2.ส้นเท้าแตก ควรแช่เท้าด้วยน้ำเกลือผสมน้ำมันมะพร้าว

3.รองช้ำ ปวดเท้าจากการยืนหรือเดิน ปวดเรื้อรังจากข้อเท้าแพลง ควรแช่เท้าด้วยน้ำฮงฮวา (ดอกคำฝอย)

4.หวัดหรือภูมิแพ้ ควรแช่เท้าด้วยน้ำอ๋ายเย่ (โกฐจุฬาลำพา)

ส่วนวิธีแช่เท้าอย่างถูกต้องทำได้โดย ล้างเท้าให้สะอาด แช่ลงในน้ำอุ่น อุณหภูมิประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส ระดับน้ำประมาณ 10 เซนติเมตรหรือถึงบริเวณตาตุ่ม แช่นาน 5-10 นาที

          เราสามารถดูแลเท้าก่อนนอนได้ทุกวัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนเลือดและลมปราณ ปรับการทำงานของอวัยวะภายใน เป็นวิธีดูแลสุขภาพง่ายๆที่ใครๆก็ทำตามได้

 

          ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 438

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.