พฤติกรรมโลกออนไลน์

ระวัง 5 พฤติกรรมโลกออนไลน์ ทำร้ายสุขภาพ

5 พฤติกรรมโลกออนไลน์ ทำร้ายสุขภาพ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการใช้ชีวิตประจำวันในโลกยุคใหม่นั้นเปลี่ยนไปจากเดิมมากจนน่าใจหาย หลายคนเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการหยิบโทรศัพท์มือถือ เช็คข่าวสารและอัพเดตสิ่งต่างๆ ผ่านโลกโซเชียลหลังจากตื่นนอน และยาวนานเฉลี่ยประมาณ 6 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวนั่นเอง ส่งผลเสียต่อร่างกายของเราแบบที่หลายคนยังไม่รู้ตัว อย่างเช่น มีอารมณ์ที่รุนแรงขึ้น มีภาวะเครียดโดยไม่รู้ตัว มีอาการกล้ามเนื้อมือและนิ้วทำงานขัดข้อง สมาธิสั้นลง หรือรวมไปถึงภาวะอื่นๆ เช่น  เกิดความวิตกกังวลในตัวเอง มีความไม่มั่นใจในตัวเอง และอื่นๆ อีกมาก รีบมาลด 5 พฤติกรรมนี้ ก่อนที่ผลเสียจะเกิดขึ้นกับคุณ

ออนไลน์

  1. ลดเวลาออนไลน์

พฤติกรรมติดสมาร์ทโฟน รวมไปถึงอาการติดโซเชียลเน็ตเวิร์กทุกชนิด ทำให้มุ่งความสนใจไปที่สมาร์ทโฟนแทบจะทุกนาที จนกลายเป็นความวิตกกังวลต่อข้อความที่ถูกส่งมา แม้กระทั่งเวลาจะหลับก็ยังเอามือถือไปเล่นเรื่อยเปื่อย และหลับไปพร้อมกับมือถือในมือ หรืออยู่ไม่ห่างกาย ดังนั้นเมื่อมีเสียงแจ้งเตือนข้อความเข้ามา สมองที่ยังยึดติดกับโทรศัพท์อยู่ทุกขณะจิต ก็จะปลุกร่างกายที่หลับใหลให้อยู่ในสภาวะละเมอ แล้วกดส่งข้อความไปโดยอัตโนมัติ เรียกว่า อาการละเมอแชท (Sleep Texting)

ผลกระทบที่เกิดคือ มีอาการนอนหลับไม่สนิท หรือนอนหลับไม่ได้เต็มที่ เป็นเหตุให้พักผ่อนไม่เพียงพอ กระทบมาถึงระบบการทำงานของร่างกาย ร่างกายอ่อนแอ ทำให้เกิดความเครียดสะสม นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า เสี่ยงเป็นโรคอ้วน โรคโมโนโฟเบียฝันร้าย กระทบต่อการเรียนและการทำงาน ทั้งยังอาจส่งผลกระทบถึงความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้

  1. ลดการช้อบปิ้งออนไลน์

นักจิตแพทย์สันนิษฐานว่า อาการติดช้อปปิ้งออนไลน์ (Online Shopping Addiction) อาจเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตด้านอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลในตัวเอง มีความไม่มั่นใจในตัวเอง หรือรู้สึกมีปมด้อย มีความเครียด ความกดดัน จากสภาวะแวดล้อมรอบๆ ตัว เคสนี้อาจถูกกระตุ้นเกิดให้อยากซื้อได้ง่ายมาก เนื่องจากคนนิยมโพสต์โชว์สินค้าแบรนด์ดังเพื่อโชว์ หรือการ Re Targeting ของโฆษณาออนไลน์ที่ทำให้เราเ ห็นสินค้าต่างๆ อยู่เป็นเดือน นอกจากนี้ผลการศึกษาในวารสาร PLOS ONE ยังระบุว่า นักวิทยาศาสตร์และนักจิตวิทยายังคงทำการศึกษาว่าอาการติดช้อปปิ้งออนไลน์จะเกี่ยวข้องกับภาวะของโรคยั้งใจไม่ได้ (impulse control disorders) หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorders) ด้วยหรือไม่ ทว่าหากมีอาการติดช้อปปิ้งออนไลน์หนักมาก โดยที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองไม่ให้ซื้อของออนไลน์ได้ ก็แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์ เพราะเนื่องจากสุขภาพจิตจะแย่แล้ว เงินในกระเป๋าก็จะไม่มีด้วยเช่นกัน

คลิกเลข 2 ด้านล่าง เพื่ออ่านหน้าถัดไป

โซเชียล

  1. ลดการเสพติดข่าวสารให้น้อยลง

แม้ว่าโลกออนไลน์และระบบโซเชียลเน็ตเวิร์กจะมีคุณประโยชน์มากในด้านข่าวสารและข้อมูล แต่ก็มีข้อเสียไม่น้อย หลายคนป่วยเป็นโรคเสพติดอินเทอร์เน็ตไม่รู้ตัว ซึ่งยังไม่รวมถึงเรื่องการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดนหลอกลวง ละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยหรือแอบอ้างผลงานผู้อื่นกระทั่งการสร้างค่านิยมทางวัฒนธรรมที่ผิดบิดเบี้ยว สิ่งเหล่านี้มีผลโดยตรงทางจิตใจของผู้รับข้อมูลเนื่องจากการแชร์ข่าวปลอม ข้อมูลเป็นเท็จเกิด หรือข้อมูลที่ทำให้เกิดการแตกแยกทางความคิดในสังคม เกิดขึ้นได้ในทุกวัน

สมาคมจิตแพทย์อเมริกันทำการวินิจฉัยโรคทางจิตเวชในกรณีเสพติดอินเทอร์เน็ต โดยระบุว่า คนที่เข้าไปอยู่ในโลกสมมติมากขึ้น ส่วนมากมีสาเหตุมาจากความผิดปกติด้านอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า เครียด ย้ำคิดย้ำทำ และวิตกกังวล หรืออาจจะพบได้ในกลุ่มคนที่มีลักษณะครึกครื้นตลอดเวลา

  1. ลดการเชื่อข้อมูลจาก Influencer

Influencer Blogger เนตไอดอล หรือผู้นำทางความคิดบนโลกโซเชียลเกิดขึ้นใหมทุกวัน หลายคนมีอิสระในการนำเสนอข้อมูลสูงโดยไม่ต้องมีการตรวจสอบ ข้อมูลที่ถูกส่งออกมา อาจเป็นจริง หรือเท็จก็ได้เพราะ “เนื่องจากการตลาดออนไลน์ในขณะนี้สามารถส่งผลโดยตรงต่อการให้ข้อมูล รีวิว หรือขายสินค้า”  ซึ่งแน่นอนว่าหากเราเสพติดข้อมูลในส่วนนี้บ่อยๆ โดยไม่พิจารณาหาข้อมูลอื่นๆ นำมาเปรียบเทียบกันให้ดีก่อนตัดสินใจ เชื่อตามกัน 100% นี่จะเป็นจุดเริ่มต้นของอาการติดช้อปปิ้งออนไลน์ (Online Shopping Addiction) เห็นรีวิว น่าสนใจ เชื่อ และตัดสินใจซื้อทันที ทางที่ดีเลือกติดตาม Blogger หรือ เนตไอดอลที่น่าเชื่อถือ ให้ข้อมูลอ้างอิงจากแหล่งที่ไว้ใจได้ ก็สบายใจไปครึ่งหนึ่งแล้ว

คลิกเลข 3 ด้านล่าง เพื่ออ่านหน้าถัดไป

5.ลดการใช้ฟีเจอร์การแจ้งเตือน (Notification)

การที่คุณเปิดการแจ้งเตือนไว้ในทุกแอพพลิเคชั่น หรือทุกช่องทางการติดต่อบนสมาร์ทโฟนอาจจะทำให้คุณต้องเสียเวลามาคอยลบ Notification เหล่านั้นอยู่เป็นประจำ และอาจเสียเวลาไปกว่าครึ่งชั่วโมง ดังนั้นเพื่อเพิ่มเวลาให้ชีวิตอีก ควรเลือกเปิดการแจ้งเตือนไว้สำหรับแอพพลิเคชั่นที่สำคัญที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงานโดยตรง อย่างเช่น อีเมล์ หรือโปรแกรมแชทช่องทางหลักๆ ถ้าทำได้ คุณจะอยู่กับโทรศัพท์มือถือน้อยลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อมือและนิ้วจะทำงานน้อยลง สุขภาพจิตก็จะดี เพราะมีเวลาพูดคุยกับคนรอบข้างมากขึ้น และข้อแนะนำที่ดีอีกอย่างคือในวันหยุดพักผ่อน จะปิดการแจ้งเตือน หรือปิดเสียงมือถือไปเลยก็ยังได้

ออนไลน์เทคนิคดีๆ จงฝึกนิสัยการไม่มีมือถือ

ศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ Larry D. Rosen แห่งมหาวิทยาลัย California State แนะนำว่า “วิธีที่ง่ายแต่สามารถทำให้คุณฝึกการไม่มีมือถือติดตัวคือ

  • เริ่มจากเปลี่ยนวิธีการใช้มือถือ โดยคุณจะต้องฝึกมองดูจอมือถือเพียงหนึ่งนาที แล้วเช็คข้อมูลในทุกๆ แอพฯ หรือช่องทางการติดต่อในทุกแพล็ตฟอร์ม
  • จากนั้นให้ “ปิดหน้าจอมือถือซะ แล้วตั้งเวลาเตือนไว้ 15 นาที จากนั้นคว่ำหน้าจอมือถือลง” ซึ่งวิธีการ “วางคว่ำจอมือถือ” จะสั่งการสมองคุณให้ปลดปล่อยการรับข้อมูล ลดความเครียด และลดความวิตกกังวล ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่บั่นทอนสุขภาพและเสียเวลาชีวิตไปกับการก้มมองหน้าจอมือถืออยู่ตลอดเวลา

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.