หัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหังใจเต้นผิดจังหวะ, อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจ, หัวใจ

รับมือหัวใจเต้นผิดจังหวะภัยร้ายคนทุกวัย

หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภัยร้ายคนทุกวัย

ดูแล หัวใจเต้นผิดจังหวะ สไตล์ชีวจิต อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิตกล่าวถึงการดูแลร่างกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ดังนี้

“ผู้ป่วยโรคหัวใจควรคุมอาหารโดยลดของเค็มเด็ดขาด กินยาตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด

ควบคู่กับการกินอาหารชีวจิต คือ แป้งไม่ขัดขาว 50 เปอร์เซ็นต์ ผักสดและผักสุกรวมกัน 25 เปอร์เซ็นต์โปรตีนจากพืช เช่น เต้าหู้ ถั่ว 15 เปอร์เซ็นต์ และอาหารเบ็ดเตล็ด เช่น สาหร่ายทะเล เมล็ดทานตะวัน 10 เปอร์เซ็นต์

“ออกกำลังกายด้วยการรำกระบองท่าเบาๆ คือ 1. ท่าจูบสะดือ 2. ท่าแหงนดูดาว 3. ท่าถ้ำผาปล่อง 4. ท่า 180 องศา 5. ท่าไหว้พระอาทิตย์ 6. ท่าสีลม 7. ท่า 360 องศา”

หัวใจ ทำไมต้องผิดจังหวะ

ศาสตราจารย์นายแพทย์รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์ สาขาหทัยวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คุณหมอไขข้อข้องใจเรื่องโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการอธิบายกลไกการทำงานของหัวใจและสาเหตุของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ดังนี้

หัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจ, หัวใจ, การทำงานของหัวใจ
อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถเกิดได้กับคนทุกวัย

“หัวใจเป็นอวัยวะชิ้นเดียวในร่างกายคนเราที่ทำงานตลอดเวลาโดยไม่มีหยุด ดังนั้น ภายในหัวใจของคนเราจึงมีจุดกำเนิดไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้าตามธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นพลังงานในการควบคุมหัวใจให้เต้นเป็นจังหวะสม่ำเสมอ และเกิดการบีบรัดกล้ามเนื้อหัวใจเพื่อสูบฉีดออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย

“โดยปกติแล้วหัวใจจะเต้นประมาณ 60 – 80 ครั้งต่อนาที แต่หากอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติ เช่น ตื่นเต้นตกใจ เครียด หรือออกกำลังกาย ก็อาจเต้นเร็วขึ้น แต่ในผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นจะมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุกระตุ้นที่แน่ชัด โดยเกิดจากจุดกำเนิดไฟฟ้าภายใน

หัวใจทำงานผิดปกติ?หรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในหัวใจ ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย”

คุณหมอกล่าวเพิ่มเติมว่า โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ หัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีอัตราการเต้นของหัวใจช้าผิดปกติ คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที และหัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติ คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 60 ครั้งต่อนาที

คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป

ส่วนสาเหตุที่ทำให้หัวใจของคนเราเต้นผิดจังหวะ คุณหมอ สรุปว่ามีด้วยกันอยู่ 4 สาเหตุหลัก ดังนี้

  • กรรมพันธุ์

คุณหมออธิบายว่า “ความผิดปกติของวงจรไฟฟ้าหัวใจตั้งแต่กำเนิดสามารถเป็นตัวการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะทั้งประเภทที่มีอัตราการเต้นช้าเกินไปและเร็วเกินไป โดยอาจมีอาการป่วยตั้งแต่เด็กหรือมีอาการในวัยทำงานก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและปัจจัยกระตุ้น เช่น การดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เป็นต้น”

  • การเสื่อมสภาพของระบบไฟฟ้าหัวใจ

คุณหมอกล่าวว่า “สาเหตุนี้มักเกิดในผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ เนื่องจากหัวใจทำงานมาเป็นเวลานาน จึงเกิดความเสื่อมตามอายุการใช้งาน ระดับพลังงานที่กระตุ้นให้หัวใจทำงานจึงน้อยลง ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าผิดปกติ”

  • โรคบางชนิด

คุณหมอเล่าถึงผลกระทบของโรคที่มีต่ออัตราการเต้นของหัวใจว่า

“โรคหัวใจบางชนิดรวมไปถึงโรคที่ส่งผลต่อระบบหัวใจ เช่นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูงเบาหวาน และผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคเหล่านี้จะส่งผลให้หัวใจหรือวงจรไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติ โดยเข้าไปขัดขวางการเดินทางของกระแสไฟฟ้าภายในหัวใจ”

หัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจ, หัวใจ
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีระดับการรักษาที่แตกต่างไป ตามความรุนแรงของโรค
  • ยาและสารเสพติดบางชนิด

การกินยาบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ดังที่คุณหมออธิบายว่า

“ยาบางชนิดโดยเฉพาะยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงซึ่งออกฤทธิ์ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ก็อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือยารักษาโรคหวัด ยาขยายหลอดลมและยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ ก็อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะได้

“นอกจากนี้ การกินยาหรือสารเสพติดบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ยาบ้า ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง รวมไปถึงน้ำอัดลมที่มีส่วนผสมของกาเฟอีนทุกชนิด อาจทำให้หัวใจถูกกระตุ้นเป็นเวลานานจนเกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติก็ได้”

ตรวจเช็กหัวใจ ก่อนเคลื่อนไหวผิดจังหวะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข สาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์?ซึ่งท่านให้คำตอบว่า

“อาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถแยกได้สองประเภทคือ อาการของโรคหัวใจเต้นช้าผิดปกติและเร็วผิดปกติ ในผู้ป่วยที่หัวใจเต้นช้าผิดปกติจะมีอาการมึนงง ใจหวิว วูบ ความดันโลหิตต่ำ หากเป็นหนักอาจเป็นลมหมดสติ ในรายที่อาการไม่มากอาจมีเพียงอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย

“ส่วนผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว หากมีอาการน้อยอาจรู้สึกเหนื่อยง่ายและหัวใจเต้นรัวเท่านั้น แต่หากมีอาการหนักจะรู้สึกเจ็บหน้าอก หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ?หัวใจวาย และอาจเสียชีวิตโดยเฉียบพลัน”

แม้อาการของโรคนี้จะดูรุนแรง แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อโรคลุกลามไปมากแล้ว เนื่องจากอาการของโรคไม่สามารถบ่งได้แน่ชัดว่าป่วยเป็นอะไร จึงทำให้ได้รับการวินิจฉัยผิดในตอนต้น

คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป

หลากวิธีสกัดจุด หยุดหัวใจผิดจังหวะ

หมอรุ่งโรจน์กล่าวว่า

“โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีระดับการรักษาที่แตกต่างไปตามความรุนแรงของโรค คือ หากผู้ป่วยยังอยู่ในวัยทำงาน มีสุขภาพแข็งแรง หรือมีอาการหัวใจเต้นรัวเพียงเดือนละไม่กี่ครั้ง ก็จะให้ดูแลสุขภาพและเฝ้าสังเกตอาการว่า หากปฏิบัติตนตามที่หมอสั่งแล้วอาการดีขึ้นหรือไม่ หากดีขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีอื่น

“หากผู้ป่วยมีอาการหนักหรืออายุมากก็จะรักษาด้วยสามวิธีต่อไปนี้ คือ กินยา จี้กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณที่ลัดวงจรด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจในผู้ป่วยที่หัวใจเต้นช้าผิดปกติ หรือเครื่องกระตุกหัวใจในผู้ป่วยที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ”

นอกจากรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวแล้ว การดูแลตัวเองด้วยวิธีธรรมชาติก็ช่วยบรรเทาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะและป้องกันการเกิดโรคได้ ซึ่งวิธีที่คุณหมอแนะนำมีดังนี้

ผ่อนคลายความเครียด คุณหมอรุ่งโรจน์กล่าวว่า “ความเครียดถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว เนื่องจากเมื่อเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนและสารสื่อประสาทต่างๆ ที่กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ”

ลดยาบางชนิด ผู้ที่มีโรคประจำตัวและต้องกินยาต่อเนื่องอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งเป็นผลข้างเคียงของยา ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ว่าสามารถลดยาหรือเปลี่ยนชนิดยาได้หรือไม่ เพื่อป้องกันอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

งดเครื่องดื่มกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำอัดลม เนื่องจากสารกระตุ้นที่อยู่ในเครื่องดื่มจะกระตุ้นให้จุดกำเนิดไฟฟ้าหรือกล้ามเนื้อหัวใจที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดการลัดวงจรทำงานผิดปกติได้เร็วขึ้น

เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจ, อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ, กาแฟ
หากมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรงดเครื่องดื่มกาเฟอีน

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับทำให้หัวใจได้พักผ่อนและทำงานน้อยลง ซึ่งเท่ากับเป็นการรักษาหัวใจให้แข็งแรงและสูบฉีดเลือดได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 309

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.