หูอื้อ

ดูแลระบบการได้ยิน ก่อนป่วย

หูอื้อ แก้อย่างไร ?

ในขณะกำลังบอกให้คนอื่นพูดเสียงดังขึ้น ฉันกลับได้ยินแต่เสียงพูดของตัวเองสะท้อนไปมาในหูข้างซ้าย เป็นมาสามวันแล้ว ทีแรกคิดว่าเป็นอาการ หูอื้อ ทั่วไป คงหายได้เอง แต่อาการกลับรุนแรง จนตอนนี้หูข้างซ้ายเริ่มได้ยินเสียงน้อยลง

หลังเลิกงานตอนเย็น ฉันจึงตัดสินใจไปหาหมอแผนกโสต ศอ นาสิกทั้งที่ไม่เคยคิดว่าจะได้เข้ามา  เพราะเข้าใจว่าโรคเกี่ยวกับหูต้องเกิดกับคนสูงอายุหรือไม่ก็คนที่มีปัญหามาตั้งแต่เกิดเท่านั้น

แต่เมื่อก้าวเข้าไปในห้องรอพบแพทย์  เห็นว่าคนไข้ที่รอคิวอยู่กว่าครึ่งหนึ่งเป็นคนวัยทำงาน  ที่สำคัญคือมีวัยรุ่นปะปนอยู่ด้วย  ระหว่างรอเรียกชื่อฉันจึงถือโอกาสพูดคุยกับคนวัยเดียวกันที่นั่งข้างๆ เพื่อฆ่าเวลา  บางคนมาด้วยอาการมีเสียงในหู  บ้างก็เวียนหัวจนบ้านหมุน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสุจิตรา ประสานสุข ที่ปรึกษาอาวุโสศูนย์โสตประสาทการได้ยินกรุงเทพฯ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  เพื่อเล่าถึงโรคเกี่ยวกับระบบการได้ยิน (หู) และสาเหตุที่ทำให้คนสมัยนี้เป็นโรคเกี่ยวกับหูกันมากขึ้น

  1. หูฟังเครื่องเล่นเสียงพกพา

คุณหมอบอกว่าเดี๋ยวนี้มีคนหูเสื่อมจากการฟังเสียงผ่านหูฟังกันมากขึ้น โดยเฉพาะวัยรุ่นทั้งที่เด็กกลุ่มนี้อาจไม่เคยเข้าผับ แต่ก็ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับการได้ยินกันมาก

หูอื้อ

สาเหตุก่อโรค

  • เซลล์ประสาทหูและเซลล์ขนในหูถูกทำลาย เพราะการใส่หูฟังเข้าไปในรูหูซึ่งใกล้กับหูมากก่อให้เกิดความดันของคลื่นเสียงซึ่งจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับแก้วหูโดยตรงและทำลายเซลล์ประสาทหูและเซลล์ขนในหูจึงทำให้สูญเสียการได้ยินบางส่วนหรือถึงขั้นหูดับ
  • ประสาทรับเสียงเสื่อม เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหู ส่งผลให้เกิดเสียงรบกวนในหู เช่นเสียงแมงหวี่ร้อง เสียงวิทยุจูนผิดคลื่นตลอดเวลา หรืออาจเป็นเสียงอื่นๆได้อีกมากมาย
  • เชื้อโรคในหูฟัง นอกจากหูฟังจะเป็นแหล่งกำเนิดเสียงดังที่เป็นอันตรายแล้วยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคอื่นที่ทำให้เกิดโรคในหูมากมาย อาทิ หนองในหูหรือเกิดการอักเสบในช่องหูได้

วิธีป้องกันเบื้องต้น

– ควรเปิดเครื่องเล่นเสียงใหมีระดับความดังแค่ครึ่งเดียวของระดับเสียงที่เครื่องมีอยู่

– ฟังเพลงในเวลาที่เหมาะสมเท่านั้นเพื่อให้หูได้หยุดพักการใช้งานบ้าง

– ไม่ควรใช้หูฟังร่วมกับคนอื่นเพราะอาจติดเชื้อโรคได้ และควรเปลี่ยนฟองน้ำหูฟังหรือทำความสะอาดเป็นประจำ

ติดตามอีก 2 สาเหตุทำคุณหูอื้อได้ ในหน้าถัดไป

  1. โทรศัพท์มือถือ

คุณหมอบอกว่าโทรศัพท์มือถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบหูและการได้ยินของคนยุคใหม่เสื่อมมาก

ขึ้น

สาเหตุก่อโรค

  • เชื้อโรคในหูลุกลามจากความร้อน เพราะปกติในหูคนเราจะมีเชื้อโรคอยู่บ้างแต่ก็มีขี้หูและผิวหนังที่ช่วยป้องกันไว้  แต่เมื่อโดนความร้อนจากการใช้โทรศัพท์มือถือประกอบกับการใช้มือเขี่ยหรือเกา จนทำให้ผิวหนังถลอกเท่ากับขาดปราการป้องกันเชื้อโรค จึงทำให้เชื้อโรคเติบโตได้ดีและเกิดอาการอักเสบเช่น
  • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทำลายประสาทหู คลื่นที่ออกจากมือถือคือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อใช้โทรศัพท์นานๆ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะส่งผลต่อระบบการทำงานของคลื่นไฟฟ้าและอิเล็คโตรไลท์ในหู

นอกจากนี้ยังทำให้โมเลกุลในหูเกิดความสั่นสะเทือนจนทำให้หูร้อน หากมีพฤติกรรมเช่นนี้ประจำจะทำให้เส้นประสาทในหูถูกทำลายได้ จนได้ยินเสียงต่างๆ น้อยลง

วิธีป้องกันเบื้องต้น

– ใช้อุปกรณ์เสริมในการใช้โทรศัพท์ เช่น หูฟัง (Small Talk) หรือ บลูทูธ (Bluetooth) เพื่อหลีกเลี่ยงคลื่นเสียงและความร้อนโดยตรง

– เช็ดทำความสะอาดโทรศัพท์ด้วยแอลกฮอล์และใช้โทรศัพท์มือถือเท่าที่จำเป็น

หูอื้อ

  1. การพักผ่อนไม่เพียงพอ

ทีแรกฉันยังไม่ค่อยเข้าใจนักว่าการพักผ่อนมีผลต่อระบบการทำงานของหูอย่างไรแต่เมื่อคุณหมอเล่าให้ฟังว่าการพักผ่อนมีความสำคัญต่อหูในส่วนที่เกี่ยวกับการทรงตัว

สาเหตุก่อโรค

การพักผ่อนน้อยส่งผลให้การไหลเวียนของกระแสเลือดไม่ดี  โดยเฉพาะหูชั้นในนั้นต้องการเลือดมาเลี้ยงมาก หากขาดเลือดจะทำให้น้ำในหูชั้นในเสียสมดุลซึ่งน้ำในหูนี่เองที่เป็นตัวหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาทที่ควบคุมระบบการทรงตัว  เมื่อน้ำในหูทั้งสองข้างไม่เท่ากันข้างหนึ่งทำงานมากอีกข้างหนึ่งทำงานน้อยจะเกิดความผิดปกติของระบบการทรงตัวในที่สุด

นอกจากนี้อาการน้ำในหูไม่เท่ากันที่เกิดจากการพักผ่อนน้อยยังส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัว บ้านหมุนเฉียบพลัน คลื่นไส้ อาเจียน โดยจะมีอาการนานเป็นชั่วโมงแต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง

แต่คุณหมอเตือนว่าการเวียนหัวบ้านหมุนอาจไม่ได้เกิดจากกรณีน้ำในหูไม่เท่ากันเสมอไปซึ่งต้องสังเกตให้ดีเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

วิธีสังเกตว่าการเวียนหัวเกิดจากความผิดปกติของระบบส่วนใดในหูสังเกตได้จาก ถ้าอาการเวียนหัวเกิดทุกครั้งเมื่อเคลื่อนไหวศีรษะก็มีสาเหตุมาจากน้ำในหูไม่เท่ากัน

แต่หากเวียนหัวเฉพาะเมื่ออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งหรือเอียงหัวไปข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น  ถือว่าเป็นความผิดปกติของก้อนหินปูนในหูชั้นในหรือเรียกว่าโรคหินปูนในหูหลุด ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับหูที่พบได้บ่อยเช่นเดียวกัน

วิธีป้องกันเบื้องต้น

– การป้องกันเบื้องต้นที่ดีที่สุดคือการพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด เพื่อให้ระบบไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดี

– ออกกำลังกายสม่ำเสมอและไม่ควรกินอาหารไขมันสูง เพื่อป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดซึ่งส่งผลต่อการทำงานของหูชั้นในได้

หลังจากฟังคุณหมอเล่าถึงปัจจัยทำร้ายหูคนยุคใหม่แล้ว  ฉันก็สัญญากับตัวเองว่าต่อจากนี้ไปจะดูแลอวัยวะเล็กๆคู่นี้ให้ดีที่สุด เพราะตัวเราเท่านั้นคือผู้ที่กำหนดได้ว่าจะให้อวัยวะที่แสนสำคัญคู่นี้อยู่กับเราไปได้นานเพียงใดค่ะ

ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 258

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.