สาวโสด

3 single healthy guide ช่วย สาวโสด สวยอ่อนวัย แข็งแรง

สาวโสด อ่อนวัย แข็งแรง

จะว่าไปแล้ว สาวโสด ก็มีโอกาสเผชิญปัญหาสุขภาพเช่นเดียวกับสาวไม่โสดนั่นละค่ะ เพียงแต่อาจมีโอกาสเสี่ยงเป็นบางอาการและบางโรคมากกว่าผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้ว สาวโสดมีชีวิตอิสรเสรีสนุกเพลิดเพลินกับอาหารการกิน หรือบางคนก็เผลอทุ่มเททํางานมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว นี่คือ 3 เทคนิคช่วยสาวโสดสวยอ่อนวัย แข็งแรง

1.เครียด

ความเครียดเกิดขึ้นได้กับทุกคนรวมทั้งสาวโสดสมาคมจิตวิทยาแห่ง สหรัฐอเมริกา(American Psychology Association) รายงานว่า ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วมีความเครียดมากกว่าสาวโสดแต่ถึงอย่างนั้นก็ยังพบว่าสาวโสดมีความเครียดเช่นกัน โดยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น จากงาน เพราะเจ้านายเห็นว่าไม่มีภาระเหมือนคนอื่น จึงมอบงานซึ่งต้องมีความรับผิดชอบสูงกว่า จากครอบครัว เช่น ต้องดูแลพ่อแม่เพียงลําพังจากปัญหาการ เงิน หรือจากความรู้สึกตัวเอง เช่น ความ คาดหวังในการมีคู่ครองความกลัวว่าจะไม่มีใครอยู่เป็นเพื่อนหรือเลี้ยงดูยามแก่เฒ่า

Prevention

ความเครียดเหล่านี้บางสาเหตุแก้ได้ด้วยการเปลี่ยนมุมมองความคิด เช่น มองข้อดีของการเป็คนโสดจะพบว่ามีหลายข้อมากอย่าปักอกปักใจเชื่อว่าความสุขจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีคู่เท่านั้น นอกจากนี้

ดร.ครองขวัญ ไชยธรรมสถิตแนะนําไว้ในหนังสือวิธี กําราบปราบความเครียดว่าให้ทําสมาธิ ออกกําลังกาย ฝึกโยคะ เต้นรํา นวด เขียนบันทึกวาดภาพ เดินเล่น หรือ นอนหลับเสียเลยเพื่อคลายความเครียด

2.ซึมเศร้า

สาวโสดมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุทั้งจากความเหงาว้าเหว่เพราะไร้คู่ ความเครียดและกดดันจากการงาน     การเงิน   สังคม   รวมถึง  ความผิดปกติของระดับสารเคมีในสมองและพันธุกรรม ถ้าสังเกตตัวเองแล้วพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้    รู้สึกเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว  ขาดความมั่นใจ ไม่สนใจเรื่องรอบตัว ขาดสมาธิ อ่อนเพลียตลอดเวลา ทําอะไรชักช้า กินจุหรือกินน้อยลง นอนไม่อิ่มหรือนอนน้อยลง โทษตัวเองบ่อย หากคุณมีอาการ 5 ข้อขึ้นไปนาน 2 สัปดาห์ อาจเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้าและถ้าถึงขั้นรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย ก็แสดงว่ามีอาการซึมเศร้าระดับรุนแรงต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน

Prevention

เราสามารถป้องกันโรคซึมเศร้าได้ด้วยการออกกําลังกาย ทํากิจกรรมที่รู้สึกดีมีความสุข เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มคิดด้านลบให้เปลี่ยนวิธีคิดและทําอย่างอื่นเสีย เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจไปสู่สิ่งอื่น และจําไว้ว่า ถ้ารู้สึกเศร้าเมื่อใดให้รีบสนใจเรื่องดีๆ หรือหาเรื่องสนุกทําทันที นายแพทย์มาโนช หล่อตระกูล แนะนําไว้ในหนังสือโรคซึมเศร้าว่า  ให้รู้จักหาสาเหตุของปัญหาและแก้ปัญหานั้นพักผ่อนท่องเที่ยวคุยกับตัวเอง และมองโลกในแง่บวก

ติดตามต่อได้ใน หน้าถัดไปค่ะ

3.ไมกรน

ไมกรนนั้นเป็นอาการปวดศีรษะที่ทุกข์ทรมานมาก ยังไม่มีใครทราบสาเหตุก่อโรคแน่ชัด แต่สันนิษฐานกันว่าเกิดจากความผิดปกติของสารเซโรโทนิน (Serotonin) และสารเคมีชนิดอื่น ๆ ในสมองนอกจากนี้ยังมีสิ่งกระตุ้นอื่นๆได้แก่ ความเครียด แสงสว่างจ้า แสงไฟกะพริบ การเพ่งมองอะไรนานๆ อยู่ในที่ที่มีเสียงดัง อยู่ในบริเวณที่มีความร้อน หรือเย็นเกินไปอดนอน อดอาหาร ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แพ้อาหารบางชนิด เช่น ถั่ว กล้วย ช็อกโกแลต นม เนย และช่วงใกล้มีประจําเดือน

Prevention

รองศาสตราจารย์เภสัชกรหญิง ดร.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ แนะนําไว้ในหนังสือ แก้ปวดก่อนป่วย ว่า  ให้สังเกตตัวเองว่ามีอะไรเป็นสิ่งกระตุ้น ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลแล้ว พยายามหลีกเลี่ยงเสีย

สําหรับวิธีป้องกันอาการปวดไมเกรนได้ดีคือ การออกกําลังกายแบบเบาๆ เป็นประจําวันละ 30นาที สัปดาห์ละ 5 วัน

ข้อมูลจากคอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.