สมอง, เพิ่มไอคิว, ป้องกันอัลไซเมอร์, เพิ่มพลังสมอง, ฝึกจิต

ออกกำลังกายแบบไหน ช่วยลูกไอคิวอีคิวสูง พุ่งปรี๊ด

ออกกำลังกายแบบไหน ช่วยลูกไอคิวอีคิวสูง พุ่งปรี๊ด

ออกกำลังกายแบบไหน? ดีต่อลูก ช่วยความจำ ความคิด สมองดี

เมื่อไม่นานมานี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยสถิติที่น่าสนใจจากการสำรวจนิสัย การเรียนของนักเรียนไทยจำนวนกว่า 3,000 คน พบว่า เด็กไทยเครียดเรื่องการแข่งขันมากกว่าต้องการมีความรู้อย่างถ่องแท้ เด็กจึงไม่มีความสุขหรือสนุกกับการเรียน

นักเรียนกว่าร้อยละ 30 มีปัญหาหลายด้าน เช่น มีปัญหาการอ่านและทำความเข้าใจ ขาดสมาธิในการเรียน และจดจำสิ่งที่อ่านไปไม่ค่อยได้ สถิติเหล่านี้ดูจะสอดคล้องกับผลการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันนานาชาติ (Global Competitiveness Index: GCI) ในปี พ.ศ. 2557 โดยเวิลด์อีโคโนมิก ฟอรั่ม (World Economic Forum : WEF) ซึ่งพบว่า แม้เปรียบเทียบในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน ไทยเราก็ยังคงมีคุณภาพทางการศึกษาที่ต่ำกว่าสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ลาว

แล้วทีนี้เราจะทำอย่างไรดีครับ แทนที่จะรอให้โรงเรียนเปลี่ยนวิธีการสอน ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกสักพัก คุณพ่อคุณแม่อาจต้องมีส่วนช่วยหาวิธีพัฒนาสมองและส่งเสริมการเรียนรู้ของลูก โดยลองพิจารณาข้อมูลของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนี้ครับ

“การออกกำลังกาย ช่วยทั้งเรื่องความจำและการคิด โดยจะช่วยลดการอักเสบ กระตุ้นการปล่อยสารเคมีที่มีผลดีต่อเซลล์สมอง เพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมองและทำให้เซลล์สมองมีอายุยืนขึ้น รวมถึงช่วยผ่อนคลายอารมณ์ ช่วยเรื่องการนอนหลับและลดความเครียด ลดความกังวล ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีส่วนก่อให้เกิดภาวะความจำเสื่อม”

อีกงานวิจัยหนึ่งพบว่า

ออกกำลังกาย, ออกกำลังกายแบบไหน, สมอง, ระบบความจำ, เพิ่มไอคิว
ออกกำลังกายแบบแอโรบิก ดีต่อระบบความจำ และการเรียนรู้

หากมีการออกกำลังกายแบบแอโรบิกทั้งบนบกและในน้ำ เช่น เดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก จะสามารถเพิ่มขนาด สมองส่วนความจำด้านการพูดและการเรียนรู้ได้ 

ท่านเริ่มเห็นประโยชน์ของการออกกำลังกายแล้วใช่ไหมครับ ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า

เด็กควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก (Moderate to High Intensity) อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 60 นาที หรือสะสมปริมาณรวมของพลังงานที่ใช้อย่างน้อยวันละ 200 แคลอรี (เทียบเท่ากับการเดินวันละ 3.2 กิโลเมตร หรือเดิน 60 นาที) อย่าไปตกใจกับตัวเลขว่าต้องเดินวันละ 3 กิโลเมตรนะครับ เพราะในชีวิตจริงเราเดินไปเดินมาสบาย ๆ ไม่นานก็ครบครับ

นอกจากนั้นใน 60 นาทีนี้ยังสามารถแบ่งช่วงเวลาเล่นหรือเดินเพื่อสะสมให้ครบวันละ 60 นาทีได้ โดยอาจใช้หลัก 10 - 20 - 30 เช่น มีกิจกรรมตอนเช้า 10 นาที กิจกรรมระหว่างวัน 20 นาที และตอนเย็นอีก 30 นาทีก็ได้ แต่ขั้นต่ำควรมีการเคลื่อนไหวร่างกายต่อเนื่อง 10 นาที

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.