ไทรอยด์

ไทรอยด์ เป็นพิษ บำบัดด้วย “ท่ายืนด้วยไหล่”

มาบำบัด ไทรอยด์ กันเถอะ

ไทยรอยด์ กับครูกาญจน์– กาญจนา พันธรักษ์ คุณครูสอนโยคะคนเก่ง นำท่าโยคะที่ช่วยปรับสมดุลของต่อมไทรอยด์มาฝากกันค่ะ

เริ่มต้นจากคำถามสำคัญก่อน “ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่อะไรในร่างกาย และสำคัญอย่างไร”

ต่อมไทรอยด์(Thyroid gland) จะอยู่ด้านหน้าของลำคอต่อจากลูกกระเดือกรูปร่างคล้ายผีเสื้อ

หากการทำงานของต่อมไทรอยด์เสียสมดุลอาจส่งผลให้เกิดการผิดปกติของร่างกายรวมถึงจิตใจด้วยทั้งนี้ยังไม่สามารถสาเหตุของการเสียสมดุลดังกล่าวแน่ชัด แต่มีปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น เพศหญิง กรรมพันธุ์ ความเครียด เป็นต้น

ขอยกตัวอย่างโรคที่พบบ่อย ได้แก่

1.ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ทำให้ผอมทั้งๆที่กินจุ อารมณ์แปรปรวน หัวใจเต้นแรง เหงื่ออกมาก นอนไม่หลับ

2. ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ ทานน้อยแต่น้ำหนักขึ้น ทนหนาวไม่ได้ ท้องผูก ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เฉื่อย ช้า

นอกจากนี้ยังทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายแปรปรวนเกือบทุกระบบและทำให้เราขาดความสุขในการใช้ชีวิตอย่างน่าเสียดาย

เมื่อยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดที่ทำให้ต่อมไทรอยด์เสียสมดุลการป้องกันและบำรุงต่อมไทรอยด์จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งการฝึกโยคะในท่ายืนด้วยไหล่(สรรวางคาสนะ)และคันไถจะช่วยบำรุง และปรับสมดุลของต่อมไทรอยด์ได้โดยตรง มีวิธีปฏิบัติดังนี้ค่ะ

411Health-18

1.นอนหงาย แขนวางข้างลำตัว

411Health-16

2.หายใจเข้า ยกขาทั้ง2ข้างขึ้นให้ปลายเท้าชี้บนเพดานและใช้แรงเหวี่ยงเล็กน้อยเพื่อยกสะโพกขึ้นจากพื้นมือประคองที่สะโพกหรือแผ่นหลัง

ขยับข้อศอกเข้าหากันจนข้อศอกตั้งฉากกับพื้นมองไปที่เพดานหรือที่ปลายเท้า ส่งสมาธิไปบริเวณต่อมไทรอยด์(หากไม่รู้ให้ส่งไปรอบคอ)ค้างท่าไว้10-15ลมหายใจหรือประมาณ 3-5นาที (ขึ้นอยู่กับความสบายในอาสนะหากรู้สึกอึดอัดหรือหายใจไม่ได้ต้องคลายท่าทันที)

411Health-17

3.หายใจออก คลายท่าโดยการลดแผ่นหลังสะโพก และขาไปยังจุดเริ่มต้นตามลำดับจากนั้นทำท่าปลาเป็นท่าที่ทำแก้อาสนะกันโดยยกหน้าอกขึ้น เงยหน้า ศีรษะตั้งพื้น ค้างท่า3-5รอบหายใจ

ประโยชน์ของท่ายืนด้วยไหล่ยังมีมากมาย ดังนี้

ผลทางด้านร่างกาย 

1. รักษาภาวะนอนไม่หลับ เครียด ซึมเศร้า
2.รักษาอาการเส้นเลือดขอด
3.กระตุ้นการหมุนเวียนเลือดและน้ำเหลือง
4.กระตุ้นการทำงานของต่อมไร้ท่อ และต่อมมีท่อทุกต่อม
5.ชะลอความชรา
6.ฟื้นฟูความทรงจำ และสมองรับเลือดอย่างพอเพียง
7.ร่างกายกระปรี้กระเปร่า และมีพลังงาน
8.กระตุ้นการทำงานของต่อมเหงื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
9.ป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดที่ขา สำหรับคนเป็นเบาหวาน
10.ปรับฮอร์โมนให้สมดุล

ผลทางด้านจิตใจ

1.ปรับดุลยภาพทางด้านจิตใจให้สงบ นิ่ง

ลองเริ่มฝึกจากน้อยไปหามากไม่หักโหมจนเกินไป สร้างความคุ้นชินกับการออกกำลังกายโดยการทำซ้ำสม่ำเสมอ แล้วคุณจะค่อยๆเห็นการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นของร่างกายค่ะ

ข้อควรระวัง

  1. ไม่หันหน้าซ้าย – ขวา ในระหว่างอยู่ในอาสนะ เพราะอาจเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บได้
  2. ผู้มีประจำเดือนหรือผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง มีปัญหากระดูกคอควรหลีกเลี่ยงการฝึกในท่านี้

3.ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหรือเพิ่งเริ่มฝึกใหม่ ควรฝึกด้วยความระมัดระวังและทำตามความสามารถเท่าที่รับไหว

สำหรับผู้ที่มีสภาวะต่อมไทรอยด์เสียสมดุลแล้ว ให้ฝึกท่ายืนด้วยไหล่นี้ได้แต่เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีอาการของโรคแสดงอย่างชัดเจน และควรเริ่มฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไป

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.