อัมพฤกษ์ อัมพาต

อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคร้ายที่มีแต่ความสูญเสีย

อัมพฤกษ์ อัมพาต

โรค อัมพฤกษ์ อัมพาต หากเป็นแล้วจะไม่สามารถขยับเขยื้อนร่างกายได้เลย ส่วนอัมพฤกษ์อาการรุนแรงน้อยกว่าและสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้

ต้นตอของอัมพฤกษ์อัมพาต
สาเหตุของอัมพาตที่สำคัญมี 2 ประการคือ
1. สมองขาดเลือด ส่วนใหญ่เกิดจากหลอดเลือดแดงแข็ง มีคราบไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ถ้าเกิดที่หลอดเลือดแดงใหญ่อาการจะเป็นมาก และมักพบว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบร่วมด้วย ส่วนอีกสาเหตุที่ทำให้สมองขาดเลือดเกิดจากลิ่มเลือดลอยไปติดที่เส้นเลือดในสมอง
2. เส้นเลือดสมองแตก เมื่อเส้นเลือดสมองแตกทำให้เซลล์สมองตาย ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากความดันโลหิตสูง และพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเสียชีวิตจากเส้นเลือดสมองแตก

สังเกตอาการอัมพฤกษ์อัมพาต
หากมีอาการตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ว่าในขณะนั้นจะรู้สึกสบายดีอยู่ก็ตาม ควรจะรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญ

  • มีอาการชาหรืออ่อนแรงแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง

 

  • ตาข้างใดข้างหนึ่งมัวหรือมองไม่เห็น

 

 

  • พูดลำบาก พูดไม่ได้ หรือไม่เข้าใจคำพูด

 

 

  • มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน

 

 

  • มีอาการมึนงง หรือเดินไม่มั่นคง เสียศูนย์

 

ลดปัจจัยเสี่ยง เลี่ยงอัมพาต
โรคอัมพฤกษ์ อัมพาตเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ถ้ารู้จักดูแลและควบคุมปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้

  • อายุยิ่งมากความเสี่ยงยิ่งเพิ่ม และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า ทุกอายุ 10 ปีที่เพิ่มขึ้นหลังอายุ 55 ปี

 

  • ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจะมีความเสี่ยงกว่าคนปรกติ 3-17 เท่า

 

 

  • ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดโรค

 

 

  • ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงกว่าคนปรกติ 2 เท่า เพราะสารนิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดแดงเกร็งลดความยืดหยุ่นของเส้นเลือด

 

 

  • ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงจะมีความเสี่ยงกว่าคนปรกติ 11 เท่า

 

 

  • ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต

 

 

  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดมีความเสี่ยงมากกว่าคนปรกติ 4 เท่า

 

 

  • ผู้ที่เคยเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตมาก่อน มีความเสี่ยงที่จะเป็นซ้ำได้อีก

 

 

  • ความเครียดเป็นปัจจัย ที่ทำให้ความดันโลหิตสูง ดังนั้นต้องพยายามผ่อนคลายจิตใจ

 

 

  • คนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ง่าย โดยเฉพาะอ้วนแบบลงพุง

 

 

  • ความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้ยาคุมกำเนิดที่มีระดับฮอร์โมนสูง

 

 

  • คนที่นอนกรน การนอนกรนอาจทำให้สมองขาดออกซิเจน และส่งผลให้เป็นอัมพาตได้

 

วิธีป้องกันโรคอัมพฤกษ์อัมพาต

  • ลดอาหารไขมัน โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว

 

  • รับประทานผักและผลไม้ให้มาก

 

 

  • จำกัดการดื่มสุรา

 

 

  • ลดอาหารเค็ม ไม่ใส่เกลือ ไม่รับประทานอาหารดอง

 

 

  • ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ

 

 

  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ

 

การเตรียมที่อยู่ ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต

  • ห้องนอน ควรจัดห้องนอน ห้องน้ำ และห้องอาหารให้อยู่ชั้นเดียวกัน เพื่อที่ผู้ป่วยสามารถ เดินช่วยตัวเองให้มากที่สุด

 

  • ผู้ป่วยที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้ ควรใช้เตียงเหมือนเตียงในโรงพยาบาล

 

 

  • พื้นเตียงควรเป็นพื้นไม้ โดยสามารถปรับหัวเตียง และมีราวสำหรับให้ผู้ป่วย ยึดจับสำหรับพลิกตัว เตียงควรมีความสูงพอเหมาะ ผู้ป่วยสามารถนั่งที่ขอบเตียงโดยเท้าแตะพื้น

 

 

  • หากผู้ป่วยไม่สามารถพลิกตัวด้วยตัวเอง อาจมีความจำเป็นต้องใช้เตียงลม เพื่อป้องกันแผลกดทับ

 

 

  • ไม่ควรมีของตกแต่งชิ้นเล็กชิ้นน้อยเพราะอาจตกแตกได้

 

 

  • ควรติดราวไว้ในห้องน้ำ และทางเดินเพื่อให้ผู้ป่วยยึดเวลาเดิน

 

 

  • แสงต้องสว่างเพียงพอ

 

 

  • ไม่ควรมีธรณีประตูเพราะผู้ป่วยอาจจะสะดุดได

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.