Orlando shooting, เหยื่อกราดยิง, เหยื่อบาร์เกย์, LGBT, เพศที่สาม

ผู้คนทั่วโลกสรรหาวิธีแสดงสัญลักษณ์ ไว้อาลัยเหยื่อยกราดยิงบาร์เกย์

ทั่วโลก แสดงสัญลักษณ์ “ไว้อาลัย” แด่ผู้ถูกกราดยิง

นับเป็นเหตุการณ์สะเทือนใจคนทั้งโลก กับเหตุหนุ่มอเมริกันผิวสี ซึ่งแสดงออกถึงความเหยียดเพศที่สามรุนแรง ด้วยการกราดกระสุนใส่พนักงานและนักท่องเที่ยวในบาร์พาวส์ของกลุ่มเพศที่สาม ใจกลางเมืองออรันโด รัฐฟลอริดา มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 50 ศพ และบาดเจ็บอีกกว่าครึ่งร้อย

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2559 ว่านายแดนนี แบงค์ส เจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) หัวหน้าทีมสืบสวนสอบสวนเหตุกราดยิงที่ไนต์คลับ “Pulse Nightclub” สถานบันเทิงสำหรับกลุ่มรักร่วมเพศ ที่ตั้งอยู่ย่านใจกลาง เป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 50 คน บาดเจ็บอีก 53 คน ถือว่าเป็นการสังหารหมู่ครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา

Orlando shooting, เหยื่อกราดยิง, เหยื่อบาร์เกย์, LGBT, เพศที่สามต่อมาทราบชื่อภายหลัง นายโอมาร์ มาทีน หนุ่มอเมริกันผิวสี วัย 29 ปี มือปืนผู้ก่อเหตุสะเทือนขวัญ ที่ได้ถูกตำรวจบุกเข้าไประงับเหตุวิสามัญฆาตกรรม

ขณะที่นายเมียร์ เซคดิค บิดาของมาทีน ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซี เผยว่าบุตรชายมีทัศนคติเหยียดเพศที่สาม หลังเคยพบเห็นคู่รักเกย์แสดงความรักต่อกันบนถนนสายหนึ่งในเมืองไมอามี และแสดงอาการ “โกธรอย่างรุงแรง” อีกทั้งมาทีนมักใช้ความรุนแรง เคยมีประวัติทำร้ายร่างกายอดีตภรรยาบ่อยครั้ง และตั้งแต่ปี 2550 จนกระทั่งเสียชีวิต มาทีนทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของ “จีโฟร์เอส”(G4S) หนึ่งในบริษัทเอกชนด้านการรักษาความปลอดภัยรายใหญ่ที่สุดของโลก

โดยขณะนี้เจ้าหน้ายังไม่สามารถตั้งสมมติฐานแรงจูงใจในการก่อเหตุครั้งนี้ได้ว่า ใช่การก่อการร้ายหรือไม่ โดยประธานาธิบดีบารัค โอบามา แถลงว่าเป็นการก่อการร้ายที่เป็นการกระทำจากความเกลียดชัง และเป็นการโจมตีต่อชาวอเมริกันทั้งประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชุมชนเพศที่สามในสหรัฐ

ต่อมากลุ่มหลากหลายทางเพศในสหรัฐอเมริกา ได้รวมตัวกันหน้าทำเนียบขาว ในกรุงวอชิงตัน ไว้อาลัยให้เหยื่อ 50 ราย ที่ถูกมือปืนกราดยิงไนท์คลับเกย์ รัฐฟลอริดา จนเสียชีวิต โดยเรียกร้องให้กลุ่มหลากหลายทางเพศทั่วประเทศร่วมต่อสู้กับความรุนแรงและ ความเกลียดชัง

Orlando shooting, เหยื่อกราดยิง, เหยื่อบาร์เกย์, LGBT, เพศที่สามทั้งนี้ กลุ่มรักร่วมเพศและกลุ่มผู้ต่อต้านการใช้ความรุนแรงในหลายประเทศร่วมจุดเทียนไว้อาลัยแด่ผู้เสียชีวิตตามศูนย์กลางการรวมตัวของเพศที่สาม หรือศูนย์กลางของเมืองใหญ่หลายแห่งในช่วงเย็นของทุกวัน แต่หลายแห่งก็สร้างสรรค์วิธีการแสดงจุดยืนของพวกเขาอย่างจริงจัง และสร้างสรรค์กว่านั้น เช่นที่เมืองออรันโด ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุ ผู้คนจำนวนมากตัดสินใจมายืนต่อคิวจนแถวยาวเหยียดนานกว่า 4 ชั่วโมง เพื่อสักลายรูปหัวใจสีรุ้งยืนยันจุดยืนของพวกเขา และร่วมบริจาคเงิน 5 ดอลลาร์ เพื่อร่วมกันระดมทุนหาช่วยเหลือครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์กราดยิง

นอกจากนี้ ที่เยอรมนนี ทั้งบริเวณหน้าสถานทูตสหรัฐ และบริเวณสัญลักษณ์ของเมืองอย่างประตูบันเดนเบิร์ก ได้มีการเปิดไฟสีรุ้ง เพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว และมีประชาชนออกมาเดินขบวนสนับสนุนกลุ่ม LGBT หรือกลุ่มเลสเบี้ยน-เกย์-ไบเซ็กชวล-ทรานส์เจนเดอร์ อีกด้วย เช่นเดียวกับในหลายประเทศ อาทิ อิตาลี ยูเครน โปแลนด์ โครเอเชีย และกรีซ ที่ออกมาเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชาวรักร่วมเพศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากกลุ่มคนที่มีทัศนคติแบบ “โฮโมโฟเบีย” หรือ การเกลียดเพศที่สาม

นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของชาวรักร่วมเพศเผย เผยแม้ทางกฎหมาย ชาวเกย์จะมีสิทธิมากขึ้นในหลายประเทศ แต่ความรุนแรง และการไม่ยอมรับจากคนในสังคม รวมไปถึงการเลือกปฏิบัติกับชาวเกย์ ยังคงมีให้เห็นอยู่ในสังคม อาทิ ชาวเกย์ในชนบทของบราซิล หรือแม้กระทั่ง ในกรุงบราซิเลีย ยังคงถูกทำร้ายจากกลุ่มเคร่งศาสนา ซึ่งทำให้ชาวเกย์และกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน จำต้องจัดพาเหรดขึ้นเพื่อกดดันรัฐบาลให้ออกกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติ เพื่อปกป้องกลุ่มคนเหล่านี้มากขึ้น ก่อนจะเกิดเหตุสะเทือนขวัญที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ปัญหาความรุนแรงต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศจะลดน้อยลงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเปิดกว้างของคนเช่นกัน

 

ขอบคุณภาพจาก   www.charismanews ,  www.chicagotribune.com และ www.dailymail.co.uk

ข้อมูลเรื่อง “ผู้คนทั่วโลกสรรหาวิธีแสดงสัญลักษณ์ ไว้อาลัยเหยื่อยกราดยิงบาร์เกย์” เขียนโดย กุลนิษฐ์ แสงจันทร์

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.