แสงแฟลต, เจ็ตแล็ก, เครื่องบิน, แก้เจ็ตแล็ก

แสงแฟลช แก้เจ็ตแล็กจากเครื่องบิน!

แสงแฟลช แก้เจ็ตแล็ก จากเครื่องบิน!

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า การได้รับแสงแฟลชชั่วขณะหนึ่ง ระหว่างนอนหลับบนเครื่องบิน ช่วยให้ผู้เดินทางปรับเวลาร่างกายให้เข้ากับโซนเวลาใหม่ได้ โดยปราศจากอาการเจ็ตแล็กจากการโดยสารเครื่องบิน หรืออาการเมาเวลา

ร่างกายของคนเราจะปรับตัวให้ชินกับตารางเวลา 24 ชั่วโมงในแต่ละวัน การเดินทางข้ามโซนเวลาโดยเครื่องบิน จึงอาจทำให้นักเดินทางมีอาการเหนื่อยล้า หงุดหงิด และนอนไม่หลับเป็นเวลาหลายวัน ผู้มีอาการหลายคนมักกินเมลาโทนินชนิดเม็ด หรือเข้ารับการบำบัดด้วยแสง (Phototherapy) เพื่อรักษาเจ็ตแล็ก จากการเดินทางโดยเครื่องบิน แต่นายแพทย์ ดร. เจมี เซทเซอร์ และทีมจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เชื่อว่า หากนอนหลับด้านหน้าเครื่องสโตโบสโคป (Stroboscope) ที่ใช้ในการบำบัดด้วยแสง น่าจะให้ผลดีกว่า ลดอาการนอนไม่หลับ เหนื่อยล้า และหงุดหงิดได้

โดยทีมนักวิจัยให้อาสาสมัคร 39 ราย นอนหลับในห้องปฏิบัติการ กลุ่มหนึ่งได้รับแสงธรรมชาติ ในขณะที่อีกกลุ่มได้รับแสงจากเครื่องสโตโบสโคป ซึ่งใช้แสงที่มีความเร็ว 2 มิลลิวินาที (เท่ากับแสงแฟลชจากกล้อง) เป็นเวลา 1 ชั่วโมง พบว่า กลุ่มหลังนอนหลับช้าลงถึง 2 ชั่วโมงในคืนต่อมา ส่วนกลุ่มแรกนอนหลับช้าลงเพียง 36 นาทีเท่านั้น

ดร. เจมี ระบุว่า เมื่อเซลล์ด้านหลังของเปลือกตาสัมผัสแสง จะส่งสัญญาณไปยังสมองให้ปรับเวลาร่างกาย โดยแสงหลอกให้สมองเชื่อว่า เวลาของวันในขณะนั้นยาวนานกว่าปกติ จึงทำการปรับเวลาภายใน ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ เหนื่อยล้า และหงุดหงิด อันเป็นผลมาจากอาการเจ็ตแล็ก จากการโดยสารเครื่องบิน

ที่มา: สำนักข่าวบีบีซี (BBC News)
เครดิตภาพ PublicDomainPictures/ Pixabay.com

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.