กระดูกและข้อ ,กระดูกพรุน, ดูแลกระดูก, กระดูกหัก, กระดูกเสื่อม

คู่มือเปลี่ยนชีวิต หยุด กระดูกพรุน หัก เสื่อม

คู่มือเปลี่ยนชีวิต หยุด กระดูกพรุน หัก เสื่อม

กระดูกพรุน หัก เสื่อม กระดูกนับเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย ช่วยให้เคลื่อนไหวและทำกิจกรรมต่างๆ ได้คล่องแคล่วตามปกติ ชีวจิตจะชวนคุณๆ ลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต หาวิธีสร้างและรักษามวลกระดูก อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะ กระดูกพรุน โรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูก และอุบัติเหตุหกล้มในวัยเกษียณซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะพิการและเสียชีวิตได้

โดยได้ พันเอกหญิง แพทย์หญิงสุมาภา ชัยอำนวย อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ประจำกองอายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติซั่ม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มาอธิบายถึงแนวทางสร้างและรักษาระดับมวลกระดูกตั้งแต่วัยทารกจนถึง วัยเกษียณ พร้อมเกร็ดน่ารู้เพื่อสุขภาพกระดูกที่แข็งแรงอีกมากมาย ติดตามได้เลยค่ะ

 

LISTEN UP, WOMAN! ผู้หญิงต้องดูแลกระดูกมากกว่าผู้ชาย

ก่อนจะดูแลกระดูกให้ถูกต้อง แพทย์หญิงสุมาภาแนะนำว่า ต้องเริ่มจาก การทำความเข้าใจกลไกการสะสมมวลกระดูกของร่างกายเสียก่อน

“ความหนาแน่นของมวลกระดูกของคนเราขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีทั้ง ปัจจัยหลัก ได้แก่ พันธุกรรม ซึ่งส่งผลต่อมวลกระดูกโดยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และ ปัจจัยรอง ซึ่งสามารถทำเสริมเพื่อช่วยให้มวลกระดูกมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น ได้แก่ กินอาหารที่มีแร่ธาตุจำเป็นเพียงพอและออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก (Weight-bearing Exercise) ซึ่งช่วยเพิ่มการสะสมมวลกระดูกได้ โดยแนะนำ ให้ฝึกต่อเนื่องตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัย 30 ปี เรื่อยไปจนถึงวัยเกษียณ

กระดูก, กระดูกพรุน, ดูแลกระดูก, ผู้หญิง

“ช่วงเวลาที่มีการสะสมแคลเซียมในกระดูกมากที่สุดคือ วัยเจริญพันธุ์ ประมาณอายุ 14 ปีในเด็กหญิงและ 16 ปีในเด็กชาย หลังจากหยุดสูงแล้ว ส่วน ปลายของกระดูกจะปิด แต่กระดูกยังสามารถหนาตัวได้อีกเล็กน้อยจนถึงวัย 30 ปี นับเป็นช่วงเวลาสะสมมวลกระดูกสูงสุด (Peak Bone Mass) หลังจากนั้นจะมี อัตราคงตัวจนถึงอายุ 35 ปี และจะเริ่มต้นเข้าสู่ช่วงเวลาที่มวลกระดูกค่อยๆ ลดลง โดยเฉลี่ยปีละประมาณร้อยละ 0.5 – 1.0”

ประเด็นเรื่องอัตราการลดลงของมวลกระดูก นับเป็นสิ่งที่คุณผู้หญิงทั้งหลาย ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ซึ่งแพทย์หญิงสุมาภาอธิบายเสริมว่า

“ในเพศชายธรรมชาติออกแบบมาให้มีมวลกระดูกมากกว่าเพศหญิง โดย เฉลี่ยประมาณร้อยละ 12 – 15 และจะค่อยๆ ลดลงช้าๆ เมื่อเข้าสู่วัย 50 ปี ขณะที่เพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในระยะ 5 ปีแรก อัตราการลดลง ของมวลกระดูกจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3 – 5 จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงอย่างช้าๆ

“ถ้าเป็นผู้หญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายและกินอาหารที่เหมาะสมเพื่อสะสม มวลกระดูกให้มากพอตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน มวลกระดูก จะลดลงอย่างรวดเร็ว จึงมีความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น”

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.