อาเซียน, สมุนไพร, ลดความดันโลหิตสูง, ลดไขมัน, สมุนไพรท้องถิ่น

ชีวจิตแนะนำ สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง จากชาติอาเซียน

สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง อาเซียนส่งเข้าประกวด

นี้ชีวจิต พาคุณผู้อ่านตระเวนทั่วเขตเศรษฐกิจอาเซียน  เพื่อเสาะหาสมุนไพรที่คนท้องถิ่นจัดให้เป็นของดี  ทั้งยังมีการศึกษาวิจัยที่ระบุว่า  สมุนไพรบางชนิดช่วยลดไขมันในเลือดและความดันโลหิตได้  จึงขอรวบรวม สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง ทั่วอาเซียน ไว้ที่นี่ที่เดียว

ใช้สมุนไพรลดไขมัน + ความดันอย่างไรดี

แพทย์หญิงดวงรัตน์  เชี่ยวชาญวิทย์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางกระทุ่ม  คอลัมนิสต์ประจำนิตยสารชีวจิตได้พูดถึงสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตและไขมันในเลือดไว้ดังนี้

ในประเทศอาเซียนและประเทศไทยมีสมุนไพรดีๆมากมาย  เช่น  กระเทียม  พริกไทยดำ  กระเจี๊ยบแดง ใบบัวบก  ดอกคำฝอย  พลูคาว  เป็นต้น  ซึ่งแต่ละชนิดมีสารสำคัญที่ช่วยลดการสะสมของไขมันในอวัยวะต่างๆ ขับปัสสาวะ  และลดความดันโลหิตแตกต่างกันออกไป

สำหรับการใช้สมุนไพรเป็นยานั้น  มีข้อควรระวังหลายอย่าง  ทั้งเรื่องของระดับไขมันที่รับได้  โรคประจำตัว ทั้งยังต้องพิจารณาไม่ให้ส่งผลกระทบกับยาแผนปัจจุบันที่กินอยู่  ดังนั้นการกินสมุนไพรต่างๆให้เป็นอาหารเช่นเดียวกับวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณ  หรือกินเสริมช่วยให้ร่างกายแข็งแรงจึงเป็นสิ่งที่ปลอดภัยที่สุด

รวมถึงการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สมดุล  เช่น  แบ่งเวลาไปออกกำลังกายหรือทำสมาธิบ้าง จึงเป็นยาที่ดีที่สุดค่ะ

พม่า : พลู ความปรารถนาดีจากเจ้าบ้าน

พลูเป็นไม้เลื้อย  ลำต้นทอดยาว  รากมีขนาดเล็ก  พบมากในประเทศพม่า  มาเลเซีย อินโดนีเซีย  และบรูไนดารุสซาลาม  ใบพลูมีน้ำมันหอมระเหยและให้รสเผ็ดร้อน

ข้อมูลจากหนังสือยาสมุนไพรที่ใช้ในสาธารณสุข มูลฐานในอาเซียน  โดยสมาคมสหประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ASEAN)  ระบุว่า

พลู, สมุนไพร, ลดความดันโลหิตสูง, ลดไขมัน, สมุนไพรท้องถิ่น
น้ำมันหอมระเหยในพลู ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ลดความดันโลหิตสูง

“ในประเทศอาเซียนนิยมเคี้ยวใบพลูพร้อมกับหมากชิ้นเล็กๆและปูนแดง เพื่อช่วยให้ฟันแข็งแรงนอกจากนี้การเคี้ยวใบพลูในตอนเช้าสามารถขจัดกลิ่นปาก ทำให้ลมหายใจหอมและเสียงดีขึ้นด้วย”

ซึ่งในประเทศพม่าเองก็มีวัฒนธรรมการกินใบพลูมาตั้งแต่โบราณ  ชาวพม่ามักต้อนรับขับสู้ด้วยการเตรียมใบพลู  ยาสูบ  และน้ำชา  แก่ผู้มาเยี่ยมเยือนเพื่อ แสดงถึงมิตรไมตรีของเจ้าบ้านและสร้างบรรยากาศสบายๆ  ระหว่างที่พูดคุยไปก็เคี้ยวพลูไป  กลายเป็นความครื้นเครงระหว่างเจ้าบ้านกับแขก

โดยจะเสิร์ฟใบพลูและถั่วต่างๆด้วยกันในภาชนะขัดมันที่ทำไว้เพื่อการนี้โดยเฉพาะ  เจ้ากล่องบรรจุพลูและถั่วนี้จึงกลายเป็นสำรับรับแขกติดบ้านของชาวพม่าแทบทุกหลัง

วัฒนธรรมเคี้ยวพลูพบเห็นได้แทบทุกมุมถนนในเมืองย่างกุ้ง  พ่อค้าแม่ค้าจะเข็นรถเข็นบรรจุเครื่องพลูไปยังที่ประจำเพื่อให้บริการห่อพลูกับส่วนผสมต่างๆแก่ลูกค้า เนื่องจากในพลูหนึ่งคำจะมีหมากอยู่  ทำให้เมื่อเคี้ยวพลูปากและฟันของชาวพม่าจะเป็นสีส้ม  รวมถึงพื้นที่เปื้อนสีจากการถ่มทิ้งด้วย

นอกจากส่วนผสมหลักอย่างยาสูบ  ถั่ว  และปูนขาว  ยังสามารถเติมส่วนผสมอื่นๆได้  ขึ้นอยู่กับรสนิยมของแต่ละคน  เช่น  ข้าวหมาก  เมล็ดยี่หร่า  กระวาน หรือถั่วชนิดต่างๆ

น่ารู้ : ข้อมูลจาก ASEAN Herbal and Medicinal Plants อธิบายว่า น้ำมันหอมระเหยในพลู  ได้แก่  ยูจีนอล (Eugenol) และชาวิคอล (Chavicol) มีฤทธิ์เป็นยาชา  ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต  ลดความดันโลหิตสูง  และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้หลายชนิด

สมุนไพรจากประเทศไทยและฟิลิปปินส์ อ่านหน้าต่อไป

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.