5 วิธี แก้อาการปวดไมเกรน

วิธีที่ 3 หลีกเลี่ยงอาหาร/สารปรุงแต่ แก้ปวดไมเกรน

มีอาหารและสารปรุงแต่งในอาหารหลายชนิดที่มีผลทำให้เป็นโรคไมเกรน หรือเป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการไมเกรนกำเริบได้ โดยจะไปกระตุ้นสารเคมีในร่างกาย ส่งผลให้อารมณ์เปลี่ยนแปลง กลายเป็นตัวการทำให้อาการปวดศีรษะกำเริบ

ซึ่งคุณ พอลลา ฟอร์ด-มาร์ติน (Paula Ford-Martin) ได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

1.สารปรุงแต่งในอาหาร

  • ผงชูรส หรือ โมโนโซเดียม กลูตาเมท อาหารแทบทุกชนิดมักจะมีการเติมผงชูรสเข้าไปเพื่อเพิ่มความอร่อยในอาหาร เช่น มันฝรั่งทอด ซอส ซุป ขนมกรุบกรอบ อาหารฟาสต์ฟู้ด

นักวิจัยเชื่อว่า สารโมโนโซเดียม กลูตาเมท ทำให้สารสื่อประสาทซีโรโทนินในสมองเกิดการเปลี่ยนแปลง และมีรายงานวิจัยพบว่า หนูทดลองที่ได้กินอาหารที่มีผงชูรส จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเป็นโรคอ้วน  ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดจึงมีผลกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะนั่นเอง

อาหารทางเลือก ผงนัว ผักเชียงดา ผักหวาน

  • สีเติมแต่งอาหาร พบว่าในบางครั้งการเติมแต่งสีในอาหาร ก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดไมเกรนมากกว่าการเติมรสชาติด้วยซ้ำ เช่น สาร FD&C yellow #5 หรือเรียกว่า ทาร์ทราซีน ดาย (Tartrazine Dye) เป็นสีสังเคราะห์ให้สีเหลืองมะนาว สามารถพบได้ในเครื่องดื่ม และลูกกวาด

อาหารทางเลือก แก้ปวดไมเกรน สีธรรมชาติที่ให้สีเลือง เช่น ขมิ้น อ้อย ดอกโสน ฟักทอง ดอกคำฝอย และดอกกรรณิการ์

  • น้ำตาลและสารให้ความหวาน โดยปกติแล้วเมื่อเรากินน้ำตาล จะส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น เป็นตัวกระตุ้นให้อาการไมเกรนกำเริบ แต่อย่างไรก็ตามภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือไฮโปไกลซีเมีย ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการไมเกรนได้เช่นกัน โดยเฉพาะในเด็ก วัยรุ่น และคนทั่วไป

ดังนั้น ควรระวังการกินน้ำตาลที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไปจนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง  องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ไม่ควรกินน้ำตาล(หมายถึงน้ำตาลที่เติมเพิ่มในอาหาร)  เกินร้อยละ 5 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน หรือเท่ากับ วันละ 6  ช้อนชา หรือ 25 กรัม

อาหาร, แก้ปวดไมเกรน, ไมเกรน, ปวดศีรษะ, ปวดหัว
อาหารและสารปรุงแต่งในอาหารหลายชนิด มีผลทำให้อาการปวดไมเกรนกำเริบ
  • แอสปาร์แตม คือ สารเคมีที่ให้ความหวานมักเจือแต่งเข้าไปในอาหาร เกิดจากการ

รวมตัวกันของกรดอะมิโน 2 ชนิด คือ แอสปาร์ติค และฟีนิลอะลานีน  ถูกใส่ในอาหารที่ระบุว่า ปราศจากน้ำตาล (Sugar- Free)  อาหารแคลอรีต่ำ (Low-Calorie) และเครื่องดื่มต่างๆ

จากหลายรายงานการวิจัย ระบุว่า สารแอสปาร์แตมทำให้ระดับของสารสื่อประสาทเซโร

โทนินในร่างกายลดลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรน และทำให้เกิดอาการปวดศีรษะนั่นเอง

          อาหารทางเลือก แก้ปวดไมเกรน  : หญ้าหวาน ชะเอมเทศ

2. อาหารและผักผลไม้

  • ช็อกโกแล็ต คุณพอลลา ฟอร์ด-มาร์ติน (Paula Ford-Martin) ระบุว่าถึงแม้ว่ามีงานวิจัย

มากมายมีผลที่ขัดแย้งกันว่า ช็อกโกแล็ตเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดไมเกรนนั้น แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้ป่วยโรคไมเกรนยังมีความกังวลในการกินช็อกโกแลตเป็นอันดับต้นๆเลยก็ว่าได้ เพราะช็อกโกแลตมีสารฟีนิลเอททิลเอมีน (Phenylethylamine) และสารฮิสตามีน ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับการเกิดอาการไมเกรน

อาหารทางเลือก แก้ปวดไมเกรน :  แครอบ พืชตระกูลถั่ว มีรสชาติคล้ายโกโก้ แต่ไม่มีคาเฟอีน และไม่มีสารฟีนิลเอททิลเอมีนที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรน แถมยังอุดมด้วยสารแอนติออกซแดนท์ วิตามินเอ บี และดี และแคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม

  • ผักและผลไม้ มีสารธรรมชาติบางชนิดที่ส่งผลกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนได้ เช่น ผลไม้ตระกูลส้ม ที่มีสารไทรามีน (Tyramine) กล้วยหอม มีสารฮิสตามีน และไทรามีน รวมไปถึงอโวคาโดและผักโขมด้วยเช่นกัน ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรนได้

อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากอาหารในข้างต้นแล้วยังรวมไปถึง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ และโยเกิร์ต ยังส่งผลกระตุ้นให้อาการปวดไมเกรนกำเริบอีกด้วย

EASY TRICKS แก้ปวดไมเกรน

  1. ก่อนซื้ออาหารหรือผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มทุกชนิด ควรอ่านฉลากให้ถี่ถ้วนเพื่อเป็นการเช็กสารอาหารและสารเติมแต่งในอาหาร
  2. เลือกร้านอาหารที่ไว้ใจได้ หรือมีป้ายระบุไว้อย่างชัดเจนว่าไม่ใช้ผงชูรส หรือร้านอาหารที่เป็นออร์แกนิก

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.