5 วิธี แก้อาการปวดไมเกรน

แก้ปวดไมเกรน : 5 วิธี สุดปัง หายชัวร์

แก้ปวดไมเกรน ใครๆก็อยากได้วิธีรักษาและบรรเทาอาการ เพราะอาการปวดศีรษะ ที่สร้างความรำคาญให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคนทำงานออฟฟิศ ที่ต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือนั่งโต๊ะทำงานเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้เคลื่อนไหวหรือขยับตัวไปทำกิจกรรมอย่างอื่น ส่งผลให้กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง เลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงศีรษะได้เพียงพอ หากไม่ได้รับการดูแลหรือป้องกัน และทิ้งไว้นานๆเข้าจะกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง และกลายเป็นโรคไมเกรนในที่สุด

ปวดไมเกรน VS ปวดศีรษะทั่วไป

ต่างกันอย่างไร

ผู้ช่วยศาสตรจารย์ นายแพทย์รังสรรค์  เสวิกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า

ปวดไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะที่มีลักษณะเฉพาะตัว คือ มักจะปวดข้างเดียว หรือเริ่มปวดข้างเดียวก่อนแล้วจึงค่อยเริ่มปวดทั้งสองข้าง มีอาการปวดตุ๊บ ๆ เป็นระยะ ๆ  แต่ก็มีบางครั้งที่ปวดแบบตื้อ ๆ มีความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก มักจะปวดนานหลายชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่จะไม่เกิน 1 วัน

ในบางรายอาจมีอาการนำมาก่อน เช่น สายตาพร่ามัว หรือ มองเห็นแสงกะพริบ ๆ  อาการปวดนั้นไม่เลือกเวลา หรือปวดศีรษะพร้อมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียนก็ได้

อาการ ปวดหัวไมเกรน ต่างจากอาการปวดศีรษะธรรมดาตรงที่ว่า อาการปวดศีรษะธรรมดามักจะปวดทั่วทั้งศีรษะ ส่วนใหญ่เป็นอาการปวดตื้อ ๆ ที่ไม่รุนแรงนัก และมักจะไม่มีอาการอื่น เช่น คลื่นไส้ร่วมด้วย  ซึ่งส่วนใหญ่จะหายได้เอง

แต่ทุกคนไม่ต้องกังวลไป ชีวจิตออนไลน์ มีวิธีง่ายๆที่สามารถช่วยป้องกัน บรรเทา และรักษา แก้ปวดไมเกรน ให้หายขาด แถมเป็นวิธีที่ปลอดภัยสามารถทำได้เองที่บ้าน ดังนี้

วิธีที่1  เปลี่ยนรูปแบบการตื่น -นอนหลับ แก้ปวดไมเกรน

คุณ พอลลา ฟอร์ด-มาร์ติน (Paula Ford-Martin) นักเขียนด้านสุขภาพ เจ้าของหนังสือไกด์ไลน์ปัญหาสุขภาพมากมายแนะนำไว้ในหนังสือ The Everything Health Guide To Migraines ว่าการนอนหลับกับโรคไมเกรนนั้นมีความเกี่ยวข้องกัน  โดยพบว่า การนอนหลับสนิท ทั้งในช่วงเวลาสั้นๆ และการนอนหลับเป็นเวลานานโดยไม่มีสิ่งแวดล้อมภายนอกมารบกวน นั้นบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้

แก้ปวดไมเกรน, ไมเกรน, โยคะ, ออกกำลังกาย, ปวดศีรษะ

การนอนหลับสนิทในช่วงเวลากลางคืนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงอาการปวดศีรษะได้ แต่อย่างไรก็ตามหากเรามีการปรับเปลี่ยนวิถีการนอนใหม่ ให้มีรูปแบบที่แน่นอนเป็นประจำทุกวัน ก็จะยิ่งลดการเกิดโรคไมเกรนได้ดีเป็นอันดับแรกๆ

เราสามารถปรับเปลี่ยนเวลาตื่นและเข้านอน ได้ดังต่อไปนี้

  • เข้านอน เวลา 23.00 น.
  • ตื่นนอน เวลา 06.00 น.
  • กินอาหารเช้า เวลา 07.00 น.

อย่างไรก็ตามในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเข้านอนดึก ไม่ควรเข้านอนหลังจากเวลา 01.00 น.

ไปแล้ว และไม่ควรตื่นหลังเวลาบ่าย เพราะจะทำให้อาการปวดไมเกรนกำเริบขึ้นได้ และสิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้เสมอคือ อาหารเช้าเป็นที่สำคัญที่สุด ไม่ควรกินสายกว่าเวลา 10.00 น. เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ส่งผลให้อาการปวดไมเกรนกำเริบได้เหมือนกัน

EASY TRICKS

เพิ่มประสิทธิภาพการนอน

  • ใช้ผ้าปิดตาหรือคูลเจลปิดตาก่อนนอน
  • ฝึกโยคะท่าง่ายๆหรือเปิดเพลงฟังเบาๆก่อนนอน
  • นอนแช่น้ำอุ่น พร้อมกับจิบชาที่ไม่มีคาเฟอีน

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.