ปวด, ปวดกล้ามเนื้อ, ปวดไหล่, ปวดไมเกรน, แพทย์แผนไทย

เช็คอาการปวด ที่รักษาด้วยแผนไทย

ปวดไมเกรน

แต่อย่างไรก็ตามคนไข้บางคนไม่ได้มีอาการแค่ปวดไหล่เท่านั้น แต่กลับมีอาการปวดคอ มีอาการร้าวขึ้นไปถึงศีรษะ ข้างเดียว หรือบางครั้งก็ทั้งสองข้าง สลับไปมา มีอาการ ปวด กระบอกตาร่วมด้วย

ถ้าใครมีอาการแบบนี้ต้องสงสัยก่อนเลยว่าอาจเป็นอาการของไมเกรนหรือ แพทย์ไทยเรียก ลมปะกัง  แต่ก็ใช่ว่าเสมอไป อาจเป็นเพียงแค่อาการปวดศีรษะธรรมดา ที่มีปัญหามาจากกล้ามเนื้อหลังส่วนบนและคอ

คือถ้าสังเกตดีๆจะพบว่า ระดับความสูงของโหนกแก้มทั้งสองข้างไม่เท่ากัน ไม่มีความสมมาตรกัน ซึ่งปัญหานี้เกิดจากกระดูกคอระดับ C6-C7  มีความผิดปกติ  หรือเรียกว่า ลมปลายปัตคาตสัญญาณ 5

การรักษามีความคล้ายคลึงกับการรักษาในตำแหน่งสัญญาณ 4 คือ ต้องนวดกลายกล้ามเนื้อ แต่ให้เน้นกดจุดบริเวณจุดสัญญาณตำแหน่งระหว่างกระดูกคอ C7- C6  แทน และกดจุดเสริมตำแหน่งอื่นๆตามหลักการรักษา

ในกรณีที่มีอาการปวดกระบอกตาร่วมด้วยนั้น เราต้องแน่ใจให้ได้ว่าไม่ได้มีปัญหาความผิดปกติของสายตา ดังนั้น ต้องไปตรวจเช็กสายตาให้แน่ใจก่อน หรือ ในกรณีคนที่ใส่แว่นอยู่แล้ว อาจเป็นเพราะมีอาการสายตาผิดปกติเพิ่มก็ได้ ถ้าสายตาผิดปกติจริง การตัดแว่นก็ช่วยทำให้อาการปวดศีรษะ กระบอกตา หายได้

คนที่สงสัยว่าตัวเองเป็นไมเกรนหรือเปล่า อีกหนึ่งอาการนำคือ อาจมีอาการปวดศีรษะร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียน ปวดมากวิ้งๆโดยเฉพาะเมื่อเจอแสงแดดจ้า หรือในสถานการณ์ที่เสียงดัง เช่น ในผับ งานคอนเสิร์ต ตลกร้ายสุด คือ อยู่ในกลุ่มเม้ามอยด์ของเพื่อนๆก็มีอาการปวดศรีษะขึ้นมาทันที ฮ่าๆๆ ร้ายแรงสุดบางคนมีความดันโลหิตสูง และมีอาการไข้ต่ำๆร่วมด้วย

ถ้ารู้ว่าตัวเองเป็นไมเกรนควรเลี่ยงปัจจัยเหล่านี้ให้เด็ดขาด

นวด, ปวด, แพทย์แผนไทย, ปวดไหล่, ปวดไมเกรน
นวดกดจุด ช่วยรักษาอาการปวดไมเกรน

วิธีรักษาอาการไมเกรน

การรักษาอาการ ปวด ไมเกรนนอกจากรักษาโดยการนวดกดจุด สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ที่ทำหัตถการด้วยแพทย์แผนไทย นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาเสริมอื่นๆ อีกเช่นกัน ดังนี้

  1. ตำรับขิง ชงดื่มเมื่อมีอาการ หรือกินเช้า เย็น วันละ 10-15 กรัม ก่อนอาหาร
  2. ตำรับยาหอมเนาวโกฐ ชงกินกับน้ำต้มสุก หรือน้ำลูกผักชี เช้าเย็น 1-2 ช้อนชา หรือประมาณ 1 ข้อนิ้วก้อย ก่อนอาหาร
  3. ตำรับจันทลีลา กินเช้าเย็น 250-500 มิลลิกรัม ก่อนอาหาร เช้าเย็น
  4. ตำรับเถาวัลย์เปรียง ชงดื่มหรือกินเป็นแคปซูล 250-500 มิลลิกรัม ก่อนอาหาร เช้า กลางวัน เย็น หรือเมื่อมีอาการ
  5. อบไอน้ำสมุนไพร สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที จำนวน 2 รอบ หรือครั้งละ 10 นาที จำนวน 3 รอบ

เราสามารถเลือกกินยาสมุนไพรได้ดังคำแนะนำในข้างต้น อาจจะไม่จำเป็นต้องกินหมดทุกตำรับ

แต่ตำรับที่จากไม่ได้คือ ข้อ1 ข้อ2 และการอบสมุนไพร

ตำรับอื่นๆ แล้วแต่มีอาการ ถ้ามีอาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อร่วมด้วย ให้เลือกกินตำรับเถาวัลย์เปรียยง เพราะจะช่วยลดอาการปวดและอักเสบของกล้ามเนื้อได้ โดยเฉพาะป้องกันอาการระบบมจากการนวดได้ดี

อย่างไรก็ตามการป้องกันไว้ก่อนเป็นการรักษาอาการ ปวด ทีดีกว่านะครับ

อ่านเพิ่มเติม

วิธีคลายปวดกล้ามเนื้อ แก้อาการปวดตามเนื้อตัวคนทำงาน

นวดประคบ ร้อน-เย็น แก้อาการปวดหลัง

นวด คลายปวดหลัง เอว ขา ด้วยตัวเองแบบง่ายฝุดๆ

 

 

ติดตามชีวจิตได้ทุกช่องทาง คลิ๊กเลย

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.