ใส่บาตรพระสงฆ์, ตักบาตร, วิสาขบูชา, อาหารใส่บาตร, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

เตือนชาวพุทธลดโซเดียมใส่บาตรพระสงฆ์ วันวิสาขบูชา

เมูนูต้องห้าม ตักบาตร

โดยเฉพาะอาหารชุดยอดนิยม เช่น แกงเขียวหวาน พะโล้ ผัดกะเพรา นอกจากปริมาณไขมันและน้ำตาลในอาหารเหล่านี้สูงแล้วยังพบว่าปริมาณโซเดียมสูงอีกด้วย ซึ่งมีดังต่อไปนี้ แกงเขียวหวานมีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 840 มิลลิกรัม ต่อ 1 ถ้วย พะโล้ มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 832 มิลลิกรัม ต่อ 1 ถ้วย และผัดกะเพรา มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 628 มิลลิกรัมต่อ 1 ถ้วย (1 ถ้วย ประมาณ 200 กรัม)

ในขณะเดียวกันผู้ที่ปรุงอาหารด้วยตนเองโดยใช้เครื่องปรุงรส เช่น น้ำปลา ซอสปรุงรส ผงปรุงรส ผงชูรส ซุปก้อนกึ่งสำเร็จรูป เครื่องปรุงรสต่างๆ ในครัวเรือนเหล่านี้ ล้วนมีส่วนประกอบของโซเดียม หากใช้ในปริมาณมากเกินไปก็ส่งผลให้อาหารที่ปรุงเองนั้นมีปริมาณโซเดียมสูงมากไปด้วย

ลดเค็ม, โซเดียม, วิสาขบูชา, เมนูอาหาร, ตักบาตรพระสงฆ์

กินเค็ม เสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

การบริโภคเกลือหรือโซเดียมปริมาณมาก ในการปรุงรสชาติอาหารให้มีรสเค็ม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

องค์การอนามัยโลก(WHO) แนะนำว่า ควรบริโภคโซเดียมเพียง 2,000 มก.ต่อวันเท่านั้น ฉะนั้น ขอฝากให้ประชาชนทั่วไปที่จัดทำอาหารถวายแด่พระสงฆ์ด้วยตนเองหรือร้านค้าที่ทำอาหารชุดเพื่อใส่บาตรแด่พระสงฆ์ช่วงวัน วิสาขบูชา นี้ ควรตระหนักถึงหลังโภชนาการอาหารที่จะทำบุญใส่บาตร

  • ควรหลีกเลี่ยงอาหารทอด รสจัด ไขมันสูง อาหารที่มีรสชาติเค็ม อาหารแปรรูป อาหารมักดอง
  • ควรเน้น คาร์โบไฮเดรทจากข้าวกล้อง หรือข้าวกล้องผสมข้าวขาว โปรตีนจากเนื้อปลา ไก่ กุ้ง และผักในสัดส่วนปริมาณที่เหมาะสม
  • ควรถวายน้ำปานะประเภทนมกล่องเพื่อเสริมแคลเซียม

การทำบุญในวัน วิสาขบูชา โดยคำนึงถึงสุขภาพของพระสงฆ์ นอกจากจะได้บุญได้กุศลแล้ว

พระสงฆ์ก็ยังจะมีสุขภาพที่ดี เจริญกิจของสงฆ์อย่างเป็นปกติสุขปราศจากโรคและภัย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เกลือโซเดียมภัยเงียบสุดร้าย

ถาม-ตอบ ชวนวัดความดันโลหิต พร้อมวิธีอ่านค่าได้ด้วยตนเอง

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.