แพ้กุ้ง, แพ้อาหาร, แพ้อาหารทะเล, กุ้ง, กินกุ้ง

วิธีสังเกตอาการ แพ้กุ้ง และการกินกุ้งแบบไม่แพ้

แพ้สารอะไรในตัวกุ้ง

โครงการวิจัยล่าสุดตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2553 เรื่อง “การศึกษาหาสารก่อภูมิแพ้ที่จำเพาะที่เป็นสาเหตุของการแพ้กุ้งน้ำจืดและกุ้งทะเลที่นิยมบริโภคในคนไทย” ชี้ให้เห็นว่า กุ้งน้ำจืดที่พบรายงานการแพ้มากที่สุดคือ กุ้งก้ามกราม ส่วนกุ้งทะเลคือกุ้งกุลาดำ ทั้งนี้อาการแพ้อาจเกิดจากกุ้งเพียงชนิดเดียวหรือมากกว่าหนึ่งชนิด

ดร.สุรพล พิบูลโภคานันท์ นักวิจัยผู้ควบคุมโครงการจากสถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนำตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครที่แพ้กุ้งมาทดสอบและวิเคราะห์หาสารก่อภูมิแพ้ จึงค้นพบว่า สารก่อภูมิแพ้ที่จำเพาะต่อคนไทยในกุ้งก้ามกราม คือ โปรตีนเฮโมไซยานิน (hemocyanin protein) ส่วนสารก่อภูมิแพ้ในกุ้งกุลาดำ คือ โปรตีนลิพิดไบน์ดิง (lipid binding protein) และโปรตีนแอลฟาแอกตินิน(alpha actinin protein)

ใครบ้างที่มีโอกาสแพ้กุ้ง

สำหรับวิธีสังเกตเบื้องต้น มูลนิธิมาโยเพื่อการศึกษาทางการแพทย์และการวิจัย ประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดอาการแพ้กุ้งส่วนใหญ่บุคคลในครอบครัวจะมีประวัติการแพ้ และผู้ที่แพ้อาหารทะเล เช่น ปู หอยปลาหมึก มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะแพ้กุ้งร่วมด้วย

 

หาคุณหมอ ทดสอบอาการแพ้

อาการแพ้ไม่อาจเดาสุ่มได้ ควรทดสอบให้ทราบแน่ชัดว่าร่างกายแพ้กุ้งหรือไม่

การทดสอบอาการแพ้ทำบริเวณผิวหนัง โดยหยดน้ำยาที่สกัดจากสารภูมิแพ้ ที่มีอยู่ในอาหารลงบนผิวหนังที่แขน และใช้เข็มสะกิดผิวหนังเพื่อทดสอบการแพ้ (skin prick test) หรือฉีดน้ำยาเข้าผิวหนัง (intradermal test) ทิ้งไว้ประมาณ 10 – 15 นาที หากเกิดรอยนูน ผื่นแดง หรือรู้สึกคัน แสดงว่าแพ้อาหารชนิดนั้น

การป้องกันอาการแพ้ทุกชนิด ไม่ว่าจะแพ้กุ้ง แพ้อากาศหรือแพ้ขนสัตว์ เราป้องกันได้ด้วยการกิน นอน พักผ่อนออกกำลังกาย และทำงานให้สมดุลค่ะ

แพ้กุ้ง, แพ้อาหาร, แพ้อาหารทะเล, กุ้ง, กินกุ้ง
ผู้ที่แพ้ปู หอย ปลาหมึก มีโอกาสที่จะแพ้กุ้งร่วมด้วย

ฉลาดกินกุ้งให้ดีต่อสุขภาพ

อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิตแนะนำการกินกุ้งว่า ควรกินอย่างพอดี คือไม่เกินสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้งหากกินมากกว่านั้นไม่แนะนำ เพราะกุ้งมีคอเลสเตอรอลสูง แนะนำให้กินปลาเป็นหลักดีที่สุด

 

จาก คอลัมน์มื้อสุขภาพ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 335


บทความน่าสนใจอื่นๆ

แพ้อาหารเรื่องเล็กๆที่ไม่ควรมองข้าม

วิธีแก้แพ้อาหารแบบชีวจิต

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.