หน้าฝน, แก้หวัด, วิตามินแก้หวัด, วิตามินซี, วิตามินดี, สังกะสี, วิตามินอี, เบต้าแคโรทีน

4 วิตามินแก้หวัด เพิ่มภูมิคุ้มกันรับหน้าฝน

สังกะสี

เมื่อไม่นานมานี้มีการศึกษาโดยวารสาร BMC Family Practice พบว่า การเสริมสังกะสี(Zinc Acetate Lozenges) ปริมาณสูงช่วยให้หวัดหายเร็วขึ้น

นักวิจัยแนะนำให้เสริมสังกะสีวันละ 80 มิลลิกรัม โดยเริ่มกินภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากมีอาการหวัดและกินติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ พบว่าสามารถช่วยลดระยะเวลาการเกิดอาการต่างๆ ระหว่างเป็นหวัด เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก เจ็บคอ เสียงแหบ และไอ ช่วยให้อาการหายเร็วขึ้น 37 22 18 43 และ 46 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ แต่ไม่พบว่าสังกะสีมีผล
ลดระยะเวลาอาการปวดศีรษะและเป็นไข้

สังกะสี, วิตามินแก้หวัด, อาหารที่มีสังกะสี, อาหารแก้หวัด, โรคหวัด
กินอาหารที่มีสังกะสีอย่างเพียงพอและเหมาะสม ช่วยบรรเทาอาการหวัดได้

สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย หากกินอาหารได้ตามปกติจะไม่ขาด ยกเว้นในผู้ป่วย เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคเบาหวาน ผู้ที่กินอาหารไม่สมดุล ผู้ที่อดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ดื่มสุรา หรือกินยาปฏิชีวนะ
เป็นประจำ

ข้อมูลจากปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยแนะนำให้ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไปควรได้รับสังกะสีวันละ 13 มิลลิกรัม

ผู้หญิงควรได้รับสังกะสีวันละ 7 มิลลิกรัม สังกะสีมีอยู่ในอาหารหลายชนิด เช่น อาหารทะเล โยเกิร์ต งา ถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี โดยหอยนางรม 100 กรัม มีสังกะสีสูงถึง 75 กรัม ถั่วแดงสุก เต้าหู้แข็ง ถั่วลันเตาสุก โยเกิร์ตอย่างละครึ่งถ้วย มีสังกะสีประมาณ 1 มิลลิกรัม

ข้อควรระวัง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการเสริมสังกะสี เช่น ไม่สบายท้อง คลื่นไส้อาเจียน รู้สึกขมในปาก หากเสริมปริมาณสูงเกินไปอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ ง่วงนอน เหงื่อออกมาก เห็นภาพหลอน จนถึงโรคโลหิตจาง โดยข้อมูลจากงานวิจัยพบว่า การกินสังกะสีในปริมาณที่น้อยกว่า 40 มิลลิกรัมเป็นปริมาณที่ปลอดภัย

นอกจากนี้มีรายงานว่า การเสริมสังกะสีวันละ 100 มิลลิกรัม หรือกินติดต่อกันนานเกิน 10 ปี อาจมีผลเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย ทั้งยังพบว่า การเสริมสังกะสีปริมาณสูงโดยไม่ปรึกษาแพทย์อาจมีผลเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

วิตามินอีและเบต้าแคโรทีน

งานวิจัยจากวารสาร The Central European Journal of Medicine พบว่า สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีน
และวิตามินอีมีผลดีต่อผู้ป่วยโรคหืด เพียงกินอาหารที่มีเบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene) สูงเป็นประจำ อีกทั้งวารสาร Allergy and Clinical Immunology ยังพบว่า วิตามินอีและเบต้าแคโรทีนมีส่วนช่วยบรรเทาอาการหืดและช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น

นอกจากนี้ผลการศึกษาจากศูนย์เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรคหอบหืดและชีววิทยาปอด (The Center for Environmental Medicine, Asthma and Lung Biology) มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ชาเปลฮิลล์ (University of North Carolina at Chapel Hill) ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังพบว่า การเสริมวิตามินอีชนิดแกมมา-โทโคฟีรอล
(Gamma-Tocopherol) วันละ 623 มิลลิกรัม นาน 1 – 2 สัปดาห์ สามารถช่วยลดและป้องกันการอักเสบทั้งในผู้ป่วย
โรคหืดและผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง

วิตามินอี, เบตาแคโรทีน, วิตามินแก้หวัด, วิตามิน, โรคหวัด
อาหารที่มีวิตามินอีและเบต้าแคโรทีน ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด

กินอย่างไร

เบต้าแคโรทีนพบมากในผักและผลไม้สีเหลือง ส้ม และผักใบเขียว เช่น ฟักทอง แครอต มะละกอ แคนตาลูป มะเขือเทศ ผักโขม บรอกโคลี(Broccoli)

ส่วนวิตามินอีพบมากในน้ำมันจมูกข้าวสาลี น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก เมล็ดทานตะวัน เฮเซลนัท (Hazelnut) ฟักทอง ผักโขม บรอกโคลี สาหร่าย อะโวคาโด (Avocado) แบล็กเบอร์รี่ (Blackberry) มะม่วง ปลาแซลมอน (Salmon) ปลาทูน่า (Tuna) เบต้าแคโรทีนและวิตามินอีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ฉะนั้นควรกินอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนและวิตามินอีสูงร่วมกับอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันพืชที่อุดมไปด้วยไขมันดี

ข้อควรระวัง

เบต้าแคโรทีนส่วนใหญ่พบในผักและผลไม้สีเหลือง ส้ม และแดง แต่หากกินมากเกินไปจะสะสมในไขมัน รวมถึงไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังมีสีเหลือง แต่ไม่เป็นอันตราย เมื่อหยุดกินสีผิวจะกลับมาเป็นปกติภายใน 10 วัน ส่วนวิตามินอี หากได้รับในปริมาณมากเกินไปอาจสะสมในร่างกายและก่อให้เกิดผลเสียได้ เช่น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือด
ออกง่าย นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า การเสริมวิตามินอีในปริมาณสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วย


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

3 เวลาดีกินสมุนไพรต้านหวัด

8 อาหารต้องห้าม เมื่อเป็น หวัด

รู้หรือไม่ “เป็นหวัด” ไม่จำเป็นต้องทานยาปฎิชีวนะแม้แต่เม็ดเดียว

10 สูตรต้านหวัด ช่วงปลายฝน

 

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.