โรคนอนกรน โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ รักษาโรคนอนกรน นอน นอนหลับ นอนกรน

โรค นอนกรน หรือโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ

โรค นอนกรน หรือโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ในปัจจุบัน นอนกรน กำลังเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ฮิต ที่ไต่อันดับความนิยมที่ไม่น่าชื่นชม ทั้งกับคนกรนและคนข้างตัวสูงขึ้นทุกวัน ไม่เพียงเท่านี้ จากการศึกษาในต่างประเทศยังพบว่า ผู้ชายนอนกรนมากกว่าผู้หญิง โดยผู้ชายที่นอนกรน มีประมาณร้อยละ 20 - 50 และมีปัญหาหยุดหายใจจากทางเดินหายใจอุดตันขณะนอนหลับร้อยละ 25

ส่วนผู้หญิงที่นอนกรนมีประมาณร้อยละ 10 - 20 และมีปัญหาหยุดหายใจร้อยละ 10 จะเห็นได้ว่า อุบัติการณ์ของโรคนอนกรนนั้นมีไม่น้อยเลยทีเดียว ผมจึงขอถือโอกาสหยิบยกเรื่องนี้มาพูดจากันเสียหน่อย

โรคนอนกรน โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ รักษาโรคนอนกรน, นอน นอนหลับ นอนกรน
ผู้ที่เป็นโรคนอนกรน มักมีอาการง่วงตอนกลางวัน สมองไม่แล่น

โรคนอนกรนหรือโรคหยุดหายใจระหว่างหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ตามนิยามของวิทยาลัยอายุรศาสตร์การนอนหลับอเมริกา (AASM) คือ ภาวะที่ทางเดินลมหายใจส่วนบนยุบตัวลงระหว่างนอนหลับ ทำให้หยุดหายใจไปเลย นานครั้งละ 10 วินาทีขึ้นไป แล้วสะดุ้งตื่น ไม่ต่ำกว่าชั่วโมงละ 5 ครั้ง หรือมีดัชนีการรบกวนการหายใจ (Respiratory Distress Index, RDI) ซึ่งเป็นตัวเลขที่บอกว่าคนคนนั้นต้องสะดุ้งตื่นเพราะถูกรบกวนการหายใจแบบใดๆ (Respiratory Event–Related Arousals, RERA) มากกว่าชั่วโมงละ 15 ครั้งขึ้นไปทั้งหมดนี้ต้องร่วมกับมีอาการง่วงตอนกลางวัน โดยที่ไม่อาจบรรเทาได้โดยการใช้ยาใดๆ ช่วย

โดยการจะระบุจำนวนครั้ง ที่เกิดการหยุดหายใจ หรือจำนวนครั้งของการสะดุ้งตื่นเพราะถูกรบกวนการหายใจระหว่างนอนหลับเพื่อวินิจฉัยโรคนี้ จำเป็นต้องทำการตรวจวัดค่าต่างๆ ขณะนอนหลับ (Polysomnography, PSG) ซึ่งต้องทำในห้อง Sleep Lab หรือเข้าเครื่องตรวจขณะนอนหลับก่อนเท่านั้น

ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการง่วงนอนตอนกลางวัน (EDS, Excessive Daytime Sleepiness) มึนงงตั้งแต่เช้า ความจำเสื่อม สมองไม่แล่น ไม่ว่องไว ซึมเศร้าวิตกกังวล บุคลิกและอารมณ์เปลี่ยนแปลงหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นโรคกรดไหลย้อน โดยการหยุดหายใจมักเกิดในระยะหลับฝัน หรือที่เรียกว่า REM Sleep

 

 

 

 

<< หน้าที่ 2 มีวิธีการรักษาโรคนอนกรน >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.