ต้านมะเร็ง

20 สารอาหาร ต้านมะเร็ง

มารู้จักสารอาหาร ต้านมะเร็ง กันเถอะ

ถ้ามะเร็ง เป็นผู้ร้ายตัวฉกาจเชื่อว่าคุณไม่ได้โดดเดี่ยวหรอกค่ะ เพราะว่ารอบๆ ตัวเรามีทีมพระเอกคอยช่วยเหลือปกป้องเราให้ห่างไกลจนสามารถ ต้านมะเร็ง พระเอกที่ว่านั้นก็คือ สารแอนติออกซิแดนต์ (Antioxidant) ซึ่งมีอยู่มากมายหลายชนิดในอาหารที่เรากินอยู่เป็นประจำหรือรู้จักดีแต่แทบจะไม่ได้กินเลย น่าเสียดายมากใช่ไหมคะ

อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต ให้คำจำกัดความมะเร็งสั้นๆว่า

“เนื้องอกหรือกลุ่มเซลล์ที่ผิดปกติและไม่สามารถควบคุมได้” ซึ่งมีสาเหตุมาจากการได้รับท็อกซิน (Toxin) หรือพิษ ทั้งจากที่ร่างการสร้างขึ้นเองและสิ่งแวดล้อมภายนอก รวมกับการเกิดฟรีแรดิเคิล (Free Radicals) ภายในตัวเอง ส่งผลให้ระบบอิมมูนซิสเต็ม(Immune System) หรือภูมิชีวิตลดลง ร่างกายจึงอ่อนแอ และไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้

สารต้านมะเร็ง พระเอกของเรา โดยเฉพาะสารแอนติออกซิแดนต์ที่มีมากในผักผลไม้หลายชนิดนั้นสามารถลดท็อกซินและยับยั้งฟรีเรดิคัล จึงช่วยลดโอกาสการเป็นมะเร็งได้

นอกจากนี้ยังคอยช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายแข็งแรงต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียและไวรัสต่างๆ รวมทั้งคอยกำจัดเซลล์ผิดปกติก่อนที่มันจะก่อตัวเป็นมะเร็ง

อ่านบทความนี้จบแล้วคุณผู้อ่านจะยิ่งรักผักผลไม้เพิ่มมากขึ้นค่ะ

พระเอกมือปราบ

เรามารู้จักพระเอก 20 สารอาหารต้านมะเร็งกันค่ะ

  1. วิตามินซี เป็นแอนติออกซิแดนต์ที่เก่งฉกาจ สามารถยับยั้งและต้านทานเชื้อโรค ที่สำคัญ กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวและภูมิคุ้มกันร่างกายช่วยซ่อมแซมเซลล์ส่วนที่สึกหรอและต่อต้านการอักเสบ ตับของเราซึ่งทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันต้องการวิตามินซีด้วย เพราะฉะนั้นคนที่ขาดวิตามินซีร่างกายจะอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย และขาดอาวุธชั้นดีในการต่อสู้กับมะเร็งวิตามินซีมีในผักสดและผลไม้ หาซื้อง่ายและราคาไม่แพงเลยค่ะ เช่น กะหล่ำดอก บรอกโคลีพริกหวานแดง ฯลฯ ก็มีวิตามินซีแล้วผักพื้นบ้านอย่างดอกขี้เหล็กมีวิตามินซีสูงมากที่สุด รองลงมาเป็นยอดมะยม ฝักมะรุมวิตามินซี
  2. วิตามินอี เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมานาน เมื่อพูดถึงการชะลอวัย เรามักจะนึกถึงวิตามินอีเป็นอันดับแรก อาจเป็นเพราะมีการนำวิตามินอีมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางวิตามินอีมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการทำลายเซลล์ส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ในร่างกาย ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยการเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดขาวและช่วยป้องกันร่างกายจากมลพิษในอากาศได้อีกด้วยค่ะ เนื่องจากวิตามินอีละลายในไขมัน เราจึงพบว่าน้ำมันพืชหลายชนิดมีวิตามินอีอยู่ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพดน้ำมันจมูกข้าวสาลี ฯลฯ นอกจากนี้วิตามินอีในอาหารธรรมชาติยังหาได้จากถั่วต่างๆ ข้าวซ้อมมือ จมูกข้าว รำ งามันเทศ ผักโขม อะโวคาโด ฯลฯ
  3. ซีลีเนียม (Selenium) น่าแปลกที่ซีลีเนียมเป็นธาตุที่มีน้อยมากๆ ในโลกใบนี้ และร่างกายของเราก็ยังต้องการมัน แต่ก็เพียงน้อยนิดเท่านั้น และขาดไม่ได้เสียด้วยสิซีลีเนียมทำหน้าที่ลดการเกิดฟรีแรดิคัลและเป็นมิตรที่ดีของวิตามินอี โดยจับมือช่วยกันดูแลเนื้อเยื่อและชะลอเซลล์ไม่ให้แก่ชราไปก่อนเวลา ป้องกันมะเร็งผิวหนังใครกลัวขาดซีลีเนียมควรกินอาหารทะเลบราซิลนัทก็มีซีลีเนียมสูงนอกจากนี้ยังมีในบรอกโคลี เห็ด กะหล่ำปลี หอมหัวใหญ่ ฯลฯ
  4. ลิกแนน (Lignan) เมื่อ 2 ปีที่แล้ว สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือนที่กินอาหารซึ่งอุดมไปด้วยลิกแนนหรือสารคล้ายเอสโทรเจนจากพืชนี้จะลดโอกาส เสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมได้ร้อยละ 14 สารชนิดนี้มีคุณสมบัติเป็นแอนติออกซิแดนต์ด้วยเช่นกันอาหารที่พบลิกแนนมากที่สุดคือเมล็ดแฟลกซ์และงา นอกจากนี้ยังมีในเมล็ดทานตะวัน ถั่วเหลือง กะหล่ำปลี บรอกโคลี ข้าวโอ๊ต เอพริคอต สตรอว์เบอร์รี่ ฯลฯ

ผลไม้ High Vitamin C

ระดับความเปรี้ยวไม่ได้เป็นตัวกำหนด ปริมาณวิตามินซีอย่างที่เข้าใจกัน ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ มะขามป้อม ฝรั่ง พุทรา มะขามเทศ มะปรางสุก มะละกอสุก มะม่วงแก้วดิบ

  1. วิตามินเอ เรารู้จักวิตามินเอในฐานะวิตามินบำรุงสายตาและมีคุณสมบัติละลายในไขมันมาตั้งแต่เรียนวิชาสุขศึกษา ในฐานะแอนติออกซิแดนต์ วิตามินเอทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นหน่วยปราบปรามเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายวิตามินเอแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ เรตินอล (Retinol) ซึ่งอยู่ในรูปของวิตามินเอที่ร่างกายนำไปใช้ได้ทันที อีกรูปหนึ่งก็คือแคโรทีนซึ่งเราจะว่ากันต่อในหัวข้อถัดไปค่ะ วิตามินเอในอาหารได้มาจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์ อย่างเช่น น้ำมันปลา
  2. แคโรทีน (Carotene) เป็นแอนติออกซิแดนต์อีกชนิดหนึ่งที่เราได้ยินกันบ่อย ความจริงแล้วแคโรทีนเป็นรูปหนึ่งหรือเป็นสารประกอบของวิตามินเอนั่นเอง

หน้าถัดไป

American Cancer Society ประเทศสหรัฐอเมริกาอธิบายว่า วิตามินเอได้จากสัตว์ ส่วนวิตามินเอที่อยู่ในรูปโปรวิตามินเอแคโรทีนอยด์ (Provitamin A Carotenoid) เช่น เบต้าแคโรทีน แอลฟาแคโรทีน และอื่นๆ จะมีมากในผักผลไม้สีเข้มหลากสี เหลือง แดง ส้ม และเขียว เช่น ฟักทองแตงโม แครอต บรอกโคลี และผักใบเขียวอย่างผักโขมหรือผักบุ้ง

จะเป็นแคโรทีน เบต้าแคโรทีน หรือแคโรทีนอยด์ ชื่อไหนก็แล้วแต่ ในฐานะผู้ต้องการกินอาหารต้านมะเร็งอย่างเราๆ อย่าไปซีเรียสกับมันมากค่ะ เอาเป็นว่า ถ้าเราหันมานิยมกินผักผลไม้สีเหลือง แดง ส้ม และเขียว สีสด ๆ เข้ม ๆ เมื่อไร แสดงว่าสุขภาพของเรามีผู้คุ้มครองเข้มแข็งเพราะได้รับแอนติออกซิแดนต์ตัวสำคัญจากวิตามินเอเพียงพอ

  1. ลูทีน (Lutein) เป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ มีสีเหลืองสามารถต้านฟรีแรดิคัล มีประโยชน์อันโดดเด่น คือ การปกป้องดวงตาและบำรุงสายตา ช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตาให้ช้าลง ถ้าพูดถึงคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง ลูทีนจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด มะเร็งลำไส้และมะเร็งเต้านมได้ค่ะ เราจะหาลูทีนในอาหารได้จากผักสีเขียว ส้ม กีวี องุ่น ผักโขม ฯลฯ
  2. แคปไซซิน (Capsaicin) หลายคนอาจได้ยินชื่อสารชนิดนี้มาบ้างจากพริก คุณสมบัติเผ็ดร้อนของแคปไซซินเป็นตัวทำให้พริกหรือเครื่องเทศบางชนิดมีความเผ็ด ความเผ็ดมีประโยชน์หลายอย่างค่ะ ช่วยลดอาการปวด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และช่วยละลายลิ่มเลือดอาหารต้านมะเร็ง,อาหาร,มะเร็ง,cancer

ส่วนคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง แคปไซซินจะยับยั้งสารเคมีที่เป็นตัวกระตุ้นการเกิดมะเร็งจากการสูบบุหรี่ได้ งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมประเทศอังกฤษ รายงานว่า สารชนิดนี้จะไปทำให้เซลล์มะเร็งตายโดยไม่ไปทำร้ายเซลล์ดีที่อยู่รอบๆ

เลือกบรอกโคลี

เลือกบรอกโคลีที่มีดอกสีเข้ม ม่วง หรือเจือสีน้ำเงินซึ่งจะมีเบต้าแคโรทีนและวิตามินซีมากกว่าดอกที่มีสีเขียวอ่อนหรือเหลือง บรอกโคลีเหี่ยวนิ่มหรือแตกดอกแสดงว่าไม่มีคุณภาพ

  1. ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ต้องบอกไว้หน่อยค่ะว่า ฟลาโวนอยด์เป็นสารพฤกษเคมีในกลุ่มพอลิฟีนอล (Polyphenol) เพราะจะมีสารในกลุ่มนี้อีกหลายชนิดที่เราได้ยินกันบ่อยๆ

ฟลาโวนอยด์มีสารประกอบหลายชนิดที่ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติเป็นแอนติออกซิแดนต์ เช่น ฟลาโวน (Flavone) และคาเทชิน (Catechin) สามารถป้องกันไม่ให้เซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกายของเราถูกฟรีแรดิคัลทำลาย

และเพราะเป็นสารพฤกษเคมี ฟลาโวนอยด์จึงพบเฉพาะในพืชผักผลไม้เท่านั้น เช่น ชาเขียว องุ่นแดง หอมหัวใหญ่ กระเทียมแอ๊ปเปิ้ล ถั่วเหลือง ส้ม ฯลฯ ในเนื้อส้มและใยส้มจะมีฟลาโวนอยด์อยู่มาก การกินส้มทั้งผลย่อมทำให้ได้รับคุณค่าสูงสุด

  1. แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) อยู่ในกลุ่มพอลิฟีนอลเช่นเดียวกับฟลาโวนอยด์ค่ะ ทำหน้าที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และแน่นอนว่าเป็นสารแอนติออกซิแดนต์ที่ช่วยบำรุงเซลล์ประสาท กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดแดง ช่วยบำรุง พบมากในผักผลไม้ที่มีสีแดง ม่วง และน้ำเงิน เช่น กะหล่ำปลีม่วง องุ่นแดง ดอกอัญชัน ชมพู่แดง ทับทิม กระเจี๊ยบ แอ๊ปเปิ้ล ฯลฯ
  2. เควอร์ซิทิน (Quercetin) เป็นอีกหนึ่งสารที่สังกัดกลุ่มฟลาโวนอยด์ เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยต้านการอักเสบ ต้านแบคทีเรียและไวรัส ดีต่อหัวใจ ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็ง

ติดตามอาหารชนิดอื่น ๆ ได้อีก

ในหน้าถัดไป

มีงานวิจัยเกี่ยวกับการกินอาหารที่มีเควอร์ซิทินรายงานว่า ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งตับอ่อนในคนที่สูบบุหรี่ และผลจากการทดลองกับสัตว์พบว่า สามารถป้องกันมะเร็งลำไส้ได้

ในเครื่องดื่มอย่างชาดำหรือชาเขียวและผักผลไม้ก็พบเควอร์ซิทิน เช่นแอ๊ปเปิ้ล หอมหัวใหญ่ หอมเล็ก ผักผลไม้จำพวกส้ม มะเขือเทศ บรอกโคลี ผักสีเขียว ราสป์เบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ ฯลฯ

  1. คาเทชิน (Catechin) เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ที่ดีมาก ๆ อีกชนิดหนึ่งในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ซึ่งให้รสขมและฝาดพบมากที่สุดในชาเขียว สารชนิดนี้เมื่อสัมผัสกับความร้อนเวลาเราชงชาจะละลายตัวออกมา สถาบันชา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วิจัยพบว่าในใบชามีคาเทชินถึงประมาณร้อยละ 60 – 70 ความสามารถของคาเทชินก็คือ ช่วยป้องกันมะเร็งและป้องกันหลอดเลือดเสื่อม ช่วยในเรื่องการทำงานของกระดูกอ่อน และป้องกันโรคข้ออักเสบนอกจากชาเขียวแล้วยังพบได้ในชาขาวชาดำ โกโก้ องุ่น พีช ฯลฯ
  2. เมลาโทนิน (Melatonin) เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายของเราผลิตขึ้นมาเอง ฮอร์โมนนี้หลั่งออกมาเพื่อให้เรารู้สึกง่วงและนอนหลับสบายในตอนกลางคืน

รายงานการศึกษาบางเรื่องพบว่าเมลาโทนินเป็นแอนติออกซิแดนต์ที่ทรงประสิทธิภาพ ยับยั้งการทำงานของฟรีแรดิคัล ช่วยหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งปอด มะเร็งระบบทางเดินอาหาร และยังช่วยกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่คอยจัดการเซลล์มะเร็ง

อาหารเพิ่มเมลาโทนิน เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าว ข้าวโพดหวาน กล้วย มะเขือเทศ ขิง ถั่วเหลือง เมล็ดฟักทอง เต้าหู้ ถั่วลิสง ฯลฯ

ดื่มชาเพื่อสุขภาพ

ควรแช่ชาดำอย่างน้อย 5 นาที เพื่อดึงคาเทชินออกมามากที่สุด ควรดื่มระหว่างมื้อไม่ควรดื่มพร้อมอาหาร เพราะแทนนินในชาจะรบกวนการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร

coffee-1276778_1280

  1. กรดโฟลิก (Folic Acid) ได้ยินบ่อยๆ ว่ามีความสำคัญต่อสมองของทารกในครรภ์ แต่ประโยชน์มีมากกว่านั้นค่ะ ที่เราให้ความสนใจก็เพราะช่วยป้องกันมะเร็งได้ด้วย

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า กรดโฟลิกดูแลดีเอ็นเอของเราอยู่ การมีกรดโฟลิกต่ำจะทำให้เซลล์ที่เกิดใหม่ไม่ลอกแบบให้เหมือนเซลล์เก่า แต่ทำตัวผิดเพี้ยนไปกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ พบว่าคนที่มีเซลล์มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งปอดระยะเริ่มต้นจะมีระดับกรดโฟลิกในเลือดต่ำ

กรดโฟลิกหาได้ง่ายมากๆ ในอาหารประจำวัน เช่น ผักโขม บรอกโคลี ถั่วแดง ส้ม ฯลฯ การกินผักผลไม้ให้ได้โฟลิกเต็มๆ ควรกินผักสด เพราะโฟลิกจะหายไปเกือบครึ่งหากปรุงด้วยความร้อนสูง

  1. สังกะสี (Zinc) เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการน้อย แต่ขาดไม่ได้นะคะ ถ้าสามารถตรวจดูธาตุต่างๆ ในตัวเราจะพบว่าสังกะสีมีมากรองจากเหล็ก สังกะสี มีความสำคัญในการควบคุมการถ่ายทอดพันธุกรรมของเซลล์ต่างๆระบบประสาท ภูมิคุ้มกัน และปกป้องเราจากฟรีแรดิคัลด้วยการช่วยเม็ดเลือดขาวทำงานต้านเชื้อโรคและช่วยชะลอความชรา

สามารถพบสังกะสีได้ในอาหารหลายชนิด เช่น อาหารทะเล โดยเฉพาะหอยนางรมมีสังกะสีสูงในผักผลไม้ก็มี เช่น ข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน ถั่วเขียว ผักโขม มะม่วง แอ๊ปเปิ้ล สับปะรด ฯลฯ

  1. ทองแดง (Copper) เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการเล็กน้อยเพื่อสร้างเม็ดเลือดแดง สร้างพลังงานช่วยดูแลผิวหนังให้มีความยืดหยุ่น เป็นตัวกำจัดฟรีแรดิคัลทองแดงช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี แต่การมีธาตุเหล็กและสังกะสีในร่างกายมากเกินไปก็จะไปขัดขวางการดูดซึมทองแดงได้ คนที่ขาดทองแดงจะเกิดภาวะโลหิตจาง มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง หัวใจเต้นผิดปกติ ฯลฯ

ถ้ากลัวว่าจะขาดทองแดง ไม่ต้องมองหาจากที่อื่นไกล มีในอาหารที่เรารู้จักกันทั่วไปค่ะ อาหารประเภทไหนมีเหล็กอยู่มากก็จะมีทองแดงไปด้วย ในหอยนางรมมีทองแดงมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีในรำข้าว จมูกข้าว และธัญพืชต่างๆ ปลา มะม่วง ลูกพรุน กล้วย เห็ด ผักใบเขียว ฯลฯ

เรามาติดตามสารอาหารอีก 2 ชนิด

หน้าต่อไป

  1. วิตามินบีรวม (Vitamin B Complex) วิตามินบีมีหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันมะเร็ง เช่น วิตามินบี 1 ช่วยขจัดมลภาวะจากสารตะกั่วที่สะสมในสมอง ตับ ไต และเนื้อเยื่อได้ ในข้าวซ้อมมือมีวิตามินบี 1 มาก เปลี่ยนมากินข้าวซ้อมมือแทนข้าวขัดขาวก็จะได้ประโยชน์ตรงนี้มากทีเดียวค่ะ

วิตามินบี 2 ช่วยล้างพิษที่เกิดจากฟรีแรดิคัล คนรักสวยรักงามต้องชอบวิตามินบี 2 เพราะช่วยต้านฟรีแรดิคัลที่ทำลายผิวหน้าและเนื้อเยื่อ แถมคอยดูแลผิวให้ชุ่มชื่นตลอดวัน วิตามินบี 2 มีในธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวโอ๊ตถั่วเหลือง ฯลฯ

วิตามินบี 6 มีส่วนสำคัญในการสร้างและแบ่งตัวของเซลล์ทุกชนิด เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว หน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันตัวเก่งมีมากในข้าวซ้อมมือ และวิตามินบีทุกชนิดช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายของเราข้าวบาร์เลย์,บาร์เลย์,ป้องกันโรคหัวใจ,หัวใจ,น้ำอาร์ซี,อาร์ซี

  1. กลูตาไทโอน (Glutathione) ใช่แล้วค่ะ กลูตาไทโอนที่พูดถึงเป็นชนิดเดียวกันกับที่ฮิตกันในหมู่คนรักความขาว ซึ่งมีคนเสี่ยงอันตรายจากการกินหรือฉีดไปไม่น้อยทีเดียว เพราะอยากขาวนี่ละแต่ประโยชน์อีกด้านหนึ่งของกลูตาไทโอนคือ ช่วยต้านฟรีแรดิคัล สารชนิดนี้ร่างกายของเราจะมีมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าตัวเรามีวิตามินบีเพียงพอหรือไม่ ถ้าพอก็จะร่วมมือกันอย่างดีในการทำลายฟรีแรดิคัลให้น้อยลงและช่วยชะลอความชราร่างกายของเราสามารถผลิตกลูตาไทโอนได้เอง แล้วยังได้จากอาหารต่างๆ อย่างเช่น ผักโขม มะเขือเทศบรอกโคลี อะโวคาโด ฯลฯ
  2. โคเอนไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) หรือเรียกสั้นๆ ว่า CoQ10 เป็นสารประกอบคล้ายวิตามิน ช่วยดูแลการทำงานของอวัยวะสำคัญๆ อย่างเช่นช่วยด้านการสูบฉีดเลือดและต้านการเสื่อมของหลอดเลือดหัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ และช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน้าที่หนึ่งของโคเอนไซม์คิวเท็นก็คือ เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตและไขมันให้เป็นพลังงานเพื่อให้เซลล์นำไปใช้งาน เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน สารนี้จะค่อยๆ ลดน้อยลงร่างกายของเราผลิตโคเอนไซม์คิวเท็นเองได้ และอีกส่วนได้จากอาหาร เช่น น้ำมันปลาทะเลลึก เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน อาหารทะเล รำข้าว น้ำมัน ถั่วเหลือง ฯลฯ

เลือกผักโขมทั้งทีต้องมีเคล็ดลับ

เลือกผักโขมที่ใบและ ก้านมีสีเขียวสดกรอบไม่เหลืองเหี่ยวหรือช้ำ ถ้าอยากได้ผักโขมรสชาติอ่อนลงและเคี้ยวนุ่ม ควรเลือกซื้อผักโขมต้นอ่อน

Ask Guru Satis

วิตามินและแร่ธาตุสำคัญต่อสุขภาพอย่างไร อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต กล่าวถึงความสำคัญของวิตามินและแร่ธาตุต่อร่างกาย คือ หนึ่ง เป็นตัวก่อตั้ง สอง ผลักดัน ให้เกิดพลังงาน และ สาม ควบคุม ถ้าขาดวิตามินและแร่ธาตุจะป่วยเป็นโรคร้ายแรงแน่นอนทางที่ดีที่สุดคือ ควรกินอาหารซึ่งมีวิตามินครบและแร่ธาตุครบ นั่นคืออาหารชีวจิตนั่นเอง

ข้อมูลเรื่อง ” 20 สารอาหาร ต้านมะเร็ง ” จากนิตยสารชีวจิต คอลัมน์ เรื่องพิเศษเขียนเรื่องโดย: พรดี จันทรเวชชสมาน

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.