วิตามิน, วิตามินซี, วิตามินดี, สังกะสี, โพรไบโอติก, วิตามินอี, เบต้าแคโรทีน

5 วิตามิน และแร่ธาตุ เยียวยาหวัดและภูมิแพ้

2. วิตามินดี

วารสาร The British Medical Journal ทำการศึกษากับอาสาสมัคร 11,000 คนทั่วโลก โดยการเก็บข้อมูลผลของวิตามินดีกับโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด หลอดลมอักเสบ ปอดบวม พบว่า การเสริมวิตามินดีเป็นประจำอาจมีผลช่วยลดความเสี่ยงโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ศาสตราจารย์เอเดรียน มาร์ติโน (Adrian Martineau) จากควีนแมรี มหาวิทยาลัยแห่งลอนดอน (Queen Mary University of London) อังกฤษ อธิบายว่า วิตามินดีอาจช่วยเพิ่มระดับเปปไทด์ ต้านจุลชีพ (Antimicrobial Peptides) เปปไทด์สายสั้นมีบทบาทสำคัญในกลไกการป้องกันตัวของร่างกาย (Host Defense Mechanism) ต่อการบุกรุกของเชื้อจุลชีพก่อโรค และทำหน้าที่คล้ายยาปฏิชีวนะตามธรรมชาติในการต่อต้านเชื้อก่อโรคภายในปอด

นอกจากนี้รายงานจากวารสาร European Respiratory ยังพบว่า วิตามินดี มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหืดกำเริบรุนแรงชนิดที่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลหรือแผนกฉุกเฉิน รวมถึงพบว่า วิตามินดีช่วยลดอัตราการเกิดโรคหืดที่ต้องรักษาด้วยยาเม็ดสเตียรอยด์ (Steroid)

วิตามินดี, ลดความเสี่ยงโรคหอบหืด, วิตามิน, กินวิตามิน, โรคหอบหืด
วิตามินดีจากแสงแดด ช่วยลดความเสี่ยงโรคหอบหืด

แต่ทั้งนี้นักวิจัยสรุปว่า แม้พบว่าวิตามินดีมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหืด แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าใช้ได้ผลกับทุกคน นอกจากนี้การเสริมวิตามินดีอาจให้ผลดีกับเฉพาะผู้ที่ขาดหรือมีระดับวิตามินดีในเลือดต่ำเท่านั้น ดังนั้นจำเป็นต้องมีการทดลองเพื่อหาคำตอบและยืนยันผลการศึกษาต่อไป

เพื่อป้องกันการขาดวิตามินดี มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ (University of Maryland) ประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ออกกำลังกายเพื่อรับแสงแดดอ่อน ๆ ยามเช้า พร้อมสวมเสื้อผ้าที่เผยผิวเพื่อรับวิตามินดี เช่น เสื้อกล้ามเสื้อยืดแขนสั้น สำหรับคนผิวขาวแนะนำให้ตื่นมารับแสงแดดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 45 นาที ส่วนผู้ที่มีผิวคล้ำควรได้รับแสงแดดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง จึงจะได้รับวิตามินดีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

โดยชายและหญิงที่มีอายุ 19 – 50 ปีควรได้รับวิตามินดีวันละ 5 ไมโครกรัมส่วนผู้ที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไปควรได้รับวิตามินดีวันละ 10 ไมโครกรัม

ข้อควรระวัง

วิตามินดี จากแสงแดดและอาหารนั้นปลอดภัยกว่าวิตามินดีในรูปแบบเม็ดที่หากกินมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น กระหายน้ำมาก เบื่ออาหาร ปวดกระดูก เหนื่อยง่าย เจ็บตา คันบริเวณผิวหนัง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก ฉะนั้น หากต้องการกินวิตามินดีในรูปอาหารเสริมควรปรึกษาแพทย์ถึงปริมาณวิตามินดีที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล

 

3. สังกะสี

เมื่อไม่นานมานี้มีการศึกษาโดยวารสาร BMC Family Practiceพบว่า การเสริมสังกะสี (Zinc Acetate Lozenges) ปริมาณสูงช่วยให้หวัดหายเร็วขึ้น

นักวิจัยแนะนำให้เสริมสังกะสีวันละ 80 มิลลิกรัม โดยเริ่มกินภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากมีอาการหวัดและกินติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ พบว่าสามารถช่วยลดระยะเวลาการเกิดอาการต่าง ๆ ระหว่างเป็นหวัด เช่นน้ำมูกไหล คัดจมูก เจ็บคอ เสียงแหบ และไอ ช่วยให้อาการหายเร็วขึ้น 37 22 18 43 และ 46 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ แต่ไม่พบว่าสังกะสีมีผลลดระยะเวลาอาการปวดศีรษะและเป็นไข้

สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย หากกินอาหารได้ตามปกติจะไม่ขาด ยกเว้นในผู้ป่วย เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคเบาหวาน ผู้ที่กินอาหารไม่สมดุล ผู้ที่อดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ดื่มสุรา หรือกินยาปฏิชีวนะเป็นประจำ

ข้อมูลจากปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยแนะนำให้ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไปควรได้รับสังกะสีวันละ 13 มิลลิกรัมผู้หญิงควรได้รับสังกะสีวันละ 7 มิลลิกรัม สังกะสีมีอยู่ในอาหารหลายชนิด เช่น อาหารทะเล โยเกิร์ต งา ถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี โดยหอยนางรม 100 กรัม มีสังกะสีสูงถึง 75 กรัม ถั่วแดงสุก เต้าหู้แข็ง ถั่วลันเตาสุก โยเกิร์ตอย่างละครึ่งถ้วย มีสังกะสีประมาณ 1 มิลลิกรัม

อาหารทะเล, สังกะสี, วิตามิน, กินวิตามิน, อาหารที่มีสังกะสี
กินอาหารทะเล ถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี ช่วยให้ร่างกายได้รับสังกะสี

ข้อควรระวัง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการเสริมสังกะสี เช่น ไม่สบายท้อง คลื่นไส้อาเจียน รู้สึกขมในปาก หากเสริมปริมาณสูงเกินไปอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ ง่วงนอน เหงื่อออกมาก เห็นภาพหลอน จนถึงโรคโลหิตจาง โดยข้อมูลจากงานวิจัยพบว่า การกินสังกะสีในปริมาณที่น้อยกว่า 40 มิลลิกรัมเป็นปริมาณที่ปลอดภัยนอกจากนี้มีรายงานว่า การเสริมสังกะสีวันละ 100 มิลลิกรัม หรือกินติดต่อกันนานเกิน 10 ปีอาจมีผลเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย ทั้งยังพบว่า การเสริมสังกะสีปริมาณสูง

โดยไม่ปรึกษาแพทย์อาจมีผลเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.