วิตามิน, วิตามินซี, วิตามินดี, สังกะสี, โพรไบโอติก, วิตามินอี, เบต้าแคโรทีน

5 วิตามิน และแร่ธาตุ เยียวยาหวัดและภูมิแพ้

5 วิตามิน และแร่ธาตุ เยียวยาหวัดและภูมิแพ้

วิตามิน และสารอาหารต่าง ๆ ที่จะแนะนำต่อไปนี้มีการศึกษาพบว่า มีส่วนช่วยป้องกันและบรรเทาอาการของโรค แต่ส่วนใหญ่ยังไม่มีคำแนะนำที่แน่ชัดถึงปริมาณ ความปลอดภัย และระยะเวลาในการใช้ที่เหมาะสม

ฉะนั้น ก่อนกิน วิตามิน เสริมควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด

 

1. วิตามินซี

งานวิจัยล่าสุดโดยวารสาร The Cochrane Database of Systematic Reviews พบว่า วิตามินซีไม่ได้ช่วยป้องกันโรคหวัด แต่สามารถช่วยให้โรคหวัดหายเร็วขึ้น นอกจากนี้หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่า ปริมาณวิตามินซีที่แนะนำเพื่อลดความรุนแรงและระยะเวลาของโรคคือ วันละ 1 – 3 กรัม แต่ควรกินต่อเนื่องกันสักระยะหนึ่ง เพราะหากกินตอนเริ่มเป็นหวัดแล้วจะไม่สามารถช่วยลดความรุนแรงหรือระยะเวลาในการเป็นหวัดได้

นอกจากนี้ หากต้องการเสริมวิตามินซี ควรกินพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันทีเพื่อป้องกันการระคายเคืองกระเพาะอาหาร โดยอาจแบ่งกินเช้าและเย็นหรือเช้า กลางวัน เย็น ขึ้นอยู่กับปริมาณวิตามินซีที่กินใน 1 วัน โดยวิธีแบ่งกินหลายครั้งช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินซีได้ดีกว่าการกินในครั้งเดียว

สำหรับปริมาณวิตามินที่ควรได้รับจากอาหารประจำวัน ข้อมูลจากปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทยแนะนำให้ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไปควรได้รับวิตามินซีจากอาหารวันละ 90 มิลลิกรัม และผู้หญิงควรได้รับวิตามินซีจากอาหารวันละ 75 มิลลิกรัม

วิตามินซี, บรรเทาอาการหวัด, วิตามิน, อาหารที่มีวิตามินซี, วิตามินซีเสริม, กินวิตามิน
กินวิตามินซี วันละ 1 – 3 กรัม อย่างต่อเนื่อง ช่วยบรรเทาอาการหวัดให้หายเร็วขึ้น

HOW TO EAT

ผัก ที่มีวิตามินซีสูง เช่น พริกหวาน มะระขี้นก ผักเหลียง ผักหวานบ้าน มะเขือเทศ ตำลึง

ดอกแค ผักกระเฉด ผักกาดขาว ผักโขม ผักคะน้า พริก มะกอกไทย มะขามป้อม กะหล่ำปลี แครอต

กะหล่ำดอก ส่วนผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่งแป้นสีทอง ลิ้นจี่จักรพรรดิ เงาะโรงเรียน มะละกอแขกดำ มะม่วงเขียวเสวยดิบ ส้ม เชอร์รี่ มะละกอสุก กล้วย สับปะรด

ข้อควรระวัง

ไม่ควรเสริมวิตามินซีเกินวันละ 1,000 มิลลิกรัม เพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องอืด ปวดท้องเพิ่มความเสี่ยงโรคนิ่วในไต และหากกินวิตามินซีเม็ดเสริมในปริมาณสูงเป็นประจำ เมื่อหยุดกินทันทีอาจเสี่ยงเกิดโรคเลือดออกตามไรฟันนอกจากนี้ผู้ป่วยโรคทาลัสซีเมีย (Thalassemia) หรือผู้ที่มีภาวะเหล็กเกิน (Iron Overload) ควรหลีกเลี่ยงการกินวิตามินซีปริมาณสูง เพราะวิตามินซีมีผลช่วยเพิ่มการดูดซึม

ธาตุเหล็ก จึงอาจทำให้มีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับ หัวใจ ไต ระบบต่อมไร้ท่อนำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ ตับเป็นพังผืด ตับวาย ไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

 

<< อ่านต่อนหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.