สารสกัดหญ้าหวาน, หญ้าหวาน, น้ำตาล, ความหวาน, ประโยชน์ของหญ้าหวาน, Stevioside

ฉลาดเลือก! หญ้าหวาน ลดน้ำตาล กินแบบไหนไม่เสี่ยงโรค

หญ้าหวานก่อมะเร็งเป็นหมันจริงหรือ

แม้ไม่นานมานี้จะมีการรายงานว่า มีชาวปารากวัยที่กินหญ้าหวานแล้วกลายเป็นหมันหรือจำนวนอสุจิลดน้อยลงก็ตาม แต่จากข้อมูลของ สถาบันการแพทย์แผนไทยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลวิจัยจากต่างประเทศซึ่งพบว่าการใช้หญ้าหวานไม่ได้ทำให้เกิดผลกระทบหรือผลข้างเคียงแต่อย่างใด เพราะหลังจากทดลองกับหนูทดลองถึง 3 ชั่วอายุ ไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์หรือกลายเป็นหมัน

สารสกัดหญ้าหวาน, หญ้าหวาน, น้ำตาล, ความหวาน, ประโยชน์ของหญ้าหวาน, Stevioside
สารสกัดหญ้าหวาน ช่วยบำรุงตับอ่อน ลดไขมันในเลือด

“หญ้าหวานสามารถกินได้ทุกเพศทุกวัย ทั้งนี้ในแต่ละวันไม่ควรกินเกิน 4มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่อย่าลืมว่าหญ้าหวาน มีรสขมเล็กน้อยดังนั้นจึงควรระวังเวลานำไปใช้เพราะอาจทำให้รสชาติอาหารเปลี่ยนแปลงได้

“ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยกินหญ้าหวาน อาจจะค่อยๆ เริ่มกินเพื่อปรับตัวให้ชินกับรสชาติหวานที่มีรสขมติดปลายลิ้นด้วยเล็กน้อยค่ะ” อาจารย์ ดร.ณัฐิรากล่าว ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของเหล่านักวิจัย ที่ได้ร่วมกันทบทวนผลงานวิจัยถึงคุณประโยชน์และโทษเกี่ยวกับหญ้าหวาน โดยสถาบันการแพทย์แผนไทยว่า

“หญ้าหวานไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงาน นักวิชาการจึงสนใจประเด็นสารสกัดสตีวิโอไซด์ว่ามีพิษหรือไม่ และควรกินเท่าใดจึงปลอดภัย ซึ่งได้คำตอบว่า สตีวิโอไซด์ปลอดภัยในทุกกรณี และค่าสูงสุดที่กินได้คือถึง 7.938 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่สูงมาก เพราะในความเป็นจริงมีผู้บริโภคได้แค่ 2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมเท่านั้นก็หวานมากเกินไปแล้ว”

เรียกว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับคนรักสุขภาพค่ะ

 

จาก คอลัมน์ TEENDY HEALTH นิตยสารชีวจิต ฉบับ 416 (1 กุมภาพันธ์ 2549)


บทความน่าสนใจอื่นๆ

ดีท็อกซ์ผิว + ลดน้ำตาล ด้วยย่านาง

อบเชย …ไม่เชย ลดน้ำตาล ความดัน และไขมัน

กิน ” น้ำตาล ” อย่างไร ให้ไม่อ้วน

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.