ยาพาราเซตามอล

ยาพาราเซตามอล ปนเปื้อนจริงหรือ? พร้อมเทคนิคการกิน!!

ยาพาราเซตามอล เปื้อนไวรัส จริงหรือ

ยาพาราเซตามอล เปื้อนไวรัส จริงหรือ หลังจากกระแสข่าวที่แชร์กันอย่างระบาดในโลกออนไลน์ที่ว่า ยาพาราเซตามอล แบบ 500 มิลลิกรัม มีไวรัสปนเปื้อน

 

เภสัชกรประพนธ์ อางตระกูล โฆษกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า จากกรณีที่มีการแชร์ภาพแผงยาที่ผลิตจากประเทศอินเดีย ได้รับการและยืนยันว่าไม่ได้ขึ้นทะเบียนที่ประเทศไทย แปลว่าไม่มีวางขายที่ประเทศไทยแน่นอน และเชื้อมาชูโป้ไวรัสก็เป็นเชื้อที่ไม่สามารถเจริญเติบโตในที่แห้ง ดังนั้นจึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ไวรัสจะปนเปื้อนตัวยาได้

ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ย้ำว่า อย.ทำหน้าที่เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้ผู้บริโภคอย่างเข้มข้น หากพบว่า ยาใดมีการปนเปื้อนของสารอันตราย ไม่ปลอดภัยในการใช้ ทางอย. จะเรียกเก็บยาคืน และแจ้งเตือนให้ผู้บริโภคโดยเร็ว

เห็นข่าวนี้แล้วคงอุ่นใจกันได้ แต่เมื่อเข้าสู่หน้าหนาวที่ยังคงมีมรสุม จนฝนตกเป็นครั้งคราวเช่นนี้ หลายคนคงมีอาการปวดหัวตัวร้อน จนยาพาราเซตามอลเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่ต้องพึ่งพา ซึ่งก่อนจะหันไปกินยาบรรเทาปวด หรือยาลดไข้ เรามีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกัน

 

เทคนิคกินยาพาราเซตามอลให้ปลอดภัย ติดตามได้ใน หน้า 2

เทคนิคกินยาบรรเทาปวด/ลดไข้ ให้หายห่วง

สําหรับยาบรรเทาปวด/ลดไข้ที่เราใช้กันตามบ้านเรือนมีอยู่ 2 ชนิด คือ ยาพาราเซตามอลและยาแอสไพริน แต่ยาทั้งสองชนิดนี้ มีสรรพคุณลดอาการปวดและมีวิธีใช้ที่แตกต่างกัน

ยาพาราเซตามอล

ยาพาราเซตามอล

สรรพคุณ        ใช้บรรเทาอาการปวดที่ไม่รุนแรง เช่น หากปวดศีรษะเล็กน้อย สามารถกินได้

การคํานวณปริมาณยา  การกินยาให้ได้ปริมาณที่เหมาะกับร่างกาย คํานวณได้โดยสูตรน้ำหนักตัว(กิโลกรัม)×10 เช่น หากหนัก 50 กิโลกรัม ควรได้รับยา 50×10=500มิลลิกรัม

การกินยาใน 1 วัน        ทั่วไปกําหนดให้ผู้ใหญ่กินครั้งละ 1–2 เม็ด (เม็ดละ 500 มิลลิกรัม) ทุก 4–6 ชั่วโมง แต่ถ้าหลังจากกินยาแล้วอาการดีขึ้น ก็ไม่จําเป็นต้องกินซ้ำ

ผู้ที่ควรเลี่ยง      คนที่เป็นโรคตับหรือมีประวัติแพ้ยาพาราเซตามอล ไม่ควรกินยานี้ ส่วนในเด็กเล็ก หากจำเป็น ต้องกิน ควรคํานวณปริมาณยาอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้ยามีความแรงมากเกินไป

ยาแอสไพริน

สรรพคุณ ยาแอสไพริน เช่น ยาในกลุ่มไอบูโพรเฟน นิยมใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดที่ค่อนข้างรุนแรง เช่น  ปวดศีรษะหรือปวดประจําเดือนมาก

การคํานวณปริมาณยา  ในยา 1 เม็ด ประกอบด้วยตัวยา 325 มิลลิกรัม แต่ยาชนิดนี้ออกฤทธิ์รุนแรงกว่าพาราเซตามอลมาก เพื่อความปลอดภัยจึงควรให้แพทย์หรือเภสัชกรคํานวณขนาดยาให้

การกินยา ใน 1 วันโดยทั่วไปกําหนดให้ผู้ใหญ่กินครั้งละ 1–2 เม็ด ทุก 4–6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ แต่ไม่ควรกินเกิน วันละ 5 ครั้ง และมีข้อควรระวังคือ ไม่ควรกินยานี้ตอนท้องว่างเด็ดขาด เพราะยามีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหาร จากนั้นให้ดื่มน้ำตามมากๆ

ผู้ที่ควรเลี่ยง  ห้ามใช้ลดไข้ในผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส ไข้เลือดออก ผู้เป็นแผลในระบบทางเดินอาหาร หรือผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยจากการทํางานหนัก รวมทั้งเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีและหญิงมีครรภ์ ไม่ควรใช้เด็ดขาด เพราะยานี้มีฤทธิ์ที่ทําให้เกล็ดเลือดไม่จับตัวกันเป็นลิ่ม หากใช้ไม่ถูกกับโรคจึงทําให้เป็นอันตราย

ได้ข้อมูลดีๆ จากการใช้ยาไปแล้ว แต่ทางที่ดี ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการกิน นอน พักผ่อน ออกกําลังกาย และทํางานให้พอเหมาะพอดี จะได้ไม่ล้มป่วยค่ะ


บทความน่าสนใจอื่นๆ

ยา “พาราเซตามอล” ไม่ใช่แค่ยาแก้ปวดหัว

3 สเต็ป เช็กความรุนแรงป่วยเป็น ไข้

สมุนไพร + วิตามิน + ยาแก้ปวด กำราบหวั

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.