ภัยร้ายจาก “หลอดไฟ” ที่เราทุกคนควรระวัง

ในสังคมปัจจุบัน เรามีชีวิตที่ติดอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ไอแพด และสมาร์ทโฟน เฉลี่ยแล้ว 7.2 ชั่วโมงต่อวัน แต่สิ่งที่หลายคนมองข้ามไปคือ เราอยู่กับหลอดไฟเป็นระยะเวลามากถึง 16 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นไม่เพียงแต่เทคโนโลยีที่เป็นภัยร้ายแก่ดวงตาของเรา แต่หลอดไฟก็อีกหนึ่งภัยร้ายที่ควรระวัง

ดวงตาเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่มีบทบาทสำคัญ ต่อระบบการรับรู้เป็นอย่างมาก กว่า 80% ของการรับรู้ เกิดขึ้นจากการมองเห็นทั้งสิ้น คนส่วนมากมักมองข้ามความสำคัญของดวงตา และใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายแก่ดวงตากันอยู่มาก

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตา อาจเกิดจากหลายปัจจัย หรือแค่ปัจจัยเดียว โรคตาที่พบบ่อย ได้แก่

  • เกิดจากอายุ ที่เพิ่มสูงขึ้น : สายตายาวในผู้สูงอายุ , โรคต้อกระจก , โรคต้อหิน , โรควุ้นตาเสื่อม
  • เกิดจากการติดเชื้อ : โรคตาแดงจากไวรัส , โรคตากุ้งยิง , โรคริดสีดวงตา
  • เกิดจากการสู้แสงแดดเป็นระยะเวลานาน : โรคต้อกระจก , โรคต้อเนื้อ , โรคต้อลม
  • เกิดจากการใช้พลังงานของร่างกาย : โรคเบาหวานขึ้นตา
  • เกิดจากพันธุกรรม : โรคตาขี้เกียจ , โรคตาบอดสี , โรคตาบอดกลางคืน , โรคสายตาผิดปกติ , โรคตาเข , โรคตาเหล่

นอกจากนี้ ในแต่ละช่วงวัย ก็มีการใช้ชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคดวงตาได้เช่นกันโดยแบ่งได้ 3 ช่วงวัยดังนี้

วัยเด็ก : สถิติล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุข พบเด็กสายตาสั้นเพิ่มมากขึ้น ถึง 3 เท่าตัว สาเหตุส่วนมาจากพฤติกรรมการเล่นสมาร์ทโฟน เล่นคอมพิวเตอร์ ในระยะเวลานาน ไม่เพียงเท่านี้ การอ่านหนังสือในที่แสงสว่างไม่เพียงพอ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสายตาเช่นกัน จนเกิดเป็นปัญหาต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น ปัญหาในด้านการเรียน เด็กจะมองตัวหนังสือบนกระดานได้ไม่ชัด ต้องเพ่งสายตามากขึ้น อาจทำให้เกิดอาการปวดตา ปวดศีรษะได้ โดยไม่ทราบสาเหตุ

วัยเรียน : ส่วนมากวัยนี้ มักให้ความสำคัญกับการอ่านหนังสือ เคร่งเครียดกับการทำการบ้านค่อนข้างมาก จนมองข้ามความสำคัญของแสงสว่างในห้อง คิดเพียงแต่ว่า “ไม่เป็นไรมองเห็น” ไม่ได้ใส่ใจการเลือกหลอดไฟเท่าไรนักจนเป็นต้นเหตุของอาการตาล้า ปวดตา ปวดศีรษะ ส่งผลให้จอประสาทตาเสื่อมก่อนวัยอันควร

วัยทำงาน : คนวัยทำงานส่วนมาก มักไม่ค่อยมีเวลาดูแลสุขภาพมากนัก เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หน้าเอกสาร แทบทั้งวัน จนหลงลืมไปว่า แสงต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวนั้นเป็นอันตรายต่อสายตามากเพียงใด ในที่นี้รวมไปแสงไฟในออฟฟิศ ที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย ทำให้เราต้องใช้สายตาเพ่งข้อมูลบนจอคอมพิวเตอร์ อ่านเอกสารต่าง ๆ มากมาย จนเกิดอาการตาล้า ถือเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดสายตาผิดปกติเพิ่มขึ้นอีกด้วย

หากไม่อยากสายตาผิดปกติก่อนวัย ควรให้ความสำคัญ และดูแลดวงตาอย่างเป็นประจำ รวมถึงใส่ใจบรรยากาศแสงไฟรอบข้าง เพราะแสงไฟจากหลอดไฟเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสายตา ฉะนั้นก่อนจะเลือกหลอดไฟ ควรพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • Flicker (แสงกระพริบ) โดยทั่วไปหลอดไฟจะมีแสงกระพริบ ในความถี่ที่ตาเราอาจจะมองไม่เห็น หากเป็นหลอดไฟที่ไม่ได้มาตรฐานจะให้แสงสั่นกระพริบ ซึ่งส่งผลต่อดวงตาเมื่อต้องใช้สายตาภายใต้แสงไฟที่ไม่ได้คุณภาพระยะยาว อาจทำให้รู้สึกมึนหัวได้
  • Stroboscopic effect เกิดจากการที่แสงส่องกระทบวัตถุแล้วแสงสะท้อน เข้าสู่ดวงตา ต่างจาก Flicker ที่แสงจะสะท้อนเข้าสู่ดวงตาโดยตรง Stroboscopic effect เกิดขึ้นเมื่อวัตถุที่อยู่ภายใต้แสง เคลื่อนที่ด้วยความหน่วงและความถี่สูง ทำให้เวลามองวัตถุไปนานๆ จะเกิดอาการมึนหัว
  • Glare (แสงสว่างที่เกินความจำเป็น) เกิดจากเมื่อแสงตกกระทบบนพื้นผิว สะท้อนมาเข้าตา ด้วยค่าความสว่าง (ลูเมน) ที่มากเกินไป
  • Blue Light มีคุณสมบัติยับยั้งการหลั่งสารเมลาโทนิน ส่งผลเสียต่อการนอนหลับและมีผลต่อดวงตา เพราะฉะนั้น หลอดไฟ LED ในต่างประเทศต้องผ่านการทดสอบ Blue Light Hazard ที่ส่งผลกระทบต่อดวงตา ในประเทศไทย หลอดไฟ LED จะต้องผ่านมาตรฐาน มอก. โดยเน้นเรื่องความปลอดภัยของการใช้งานเป็นหลัก

ถนอมดวงตาของเรากันตั้งแต่วันนี้ ด้วยวิธีง่าย ๆ อย่าง เข้าพบหมอตาตามความเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย , ก่อนออกแดดทุกครั้งอย่าลืมพกแว่นกันแดด พักสายตาทุกครั้งที่เล่นคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนรับประทานผักใบเขียว ที่อุดมไปด้วยลูทีน ซึ่งมีส่วนช่วยในการกรองรังสีสีฟ้า หรือลองมองหาหลอดไฟดี ๆ สักหลอดที่มีคุณสมบัติช่วยถนอมสายตา ลดแสงสั่นกระพริบ ลดแสงจ้าที่มากเกินไป แต่ยังให้ความสว่างอย่างทั่วถึง อย่างหลอดไฟ “Eye Comfort” จาก Philips ก็เป็นอีกตัวช่วยที่ดีนะคะ

หากสนใจ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://goo.gl/mBoMMz
#EyeComfort #PhilipsLED

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.