บำรุงหัวใจ, หัวใจ, ป้องกันโรคหัวใจ, โรคหัวใจและหลอดเลือด 

วิธีดูแล หัวใจ ให้แข็งแรง ด้วยศาสตร์แผนจีน

ดูแล หัวใจ ให้แข็งแรง

โรค หัวใจ หรือเรียกอีกชื่อว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด  เป็น โรคอันตราย ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรม ซึ่งหากอยากจะป้องกันโรคนี้ จำเป็นต้องปรับพฤติกรรมและวิถีชีวิตให้เหมาะสมเล็กน้อย รับรองว่าทำตามได้ไม่ยาก

สมาพันธ์หัวใจโลก (World Heart Federation) จึงแนะนำให้ประชาชน เริ่มต้นดูแลสุขภาพหัวใจตั้งแต่ที่บ้าน เช่น กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ เน้นผักสดผลไม้ เตรียมอาหารกลางวัน จากบ้านไปกินที่ทำงานเอง เน้นอาหาร เพื่อสุขภาพ

ลดการกินอาหารสำเร็จรูปที่มีเกลือ ไขมัน และน้ำตาลปริมาณสูงเป็น ส่วนผสม ไม่สูบบุหรี่ ไม่นั่งอยู่เฉยๆ หรือนั่งอยู่หน้าจอต่าง ๆ เกินวันละ 2 ชั่วโมง หมั่นออกกำลังกาย ทำกิจกรรม กลางแจ้ง และตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้หัวใจ

 

แพทย์จีนอู๋ลี่ฉิน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจมานานกว่า 40 ปี แห่ง คลินิกหัวเฉียวไทย- จีน แพทย์แผน ไทย โรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า

สำหรับคนทั่วไปหรือผู้ที่เป็นโรคหัวใจแล้วก็ตามมี วิธีดูแลหัวใจให้แข็งแรงคือ ควรหลีกเลี่ยงความเหนื่อยล้า ความเครียด และความวิตกกังวล

นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องดูแล คือ อาหารการกิน การใช้ชีวิต การอยู่ ในสภาพสังคมที่เหมาะสม และการดูแล จิตใจและอารมณ์ของเราให้เป็นปกติ ก็จะช่วยลดภาระการทำงานของหัวใจได้

อาหารที่ดีต่อหัวใจคือ อาหารรส จืดและรสขม เลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน และมัน เช่น ของมัน ของทอด เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง ขนมเบเกอรี่ อาหาร ที่ผ่านการแปรรูป และควรกินผักผลไม้ มากๆ เน้นกินเนื้อปลาที่ไม่ใส่สารเคมี

กินในปริมาณน้อย แต่ต้องตรงเวลา อาจปรับการกินเป็นมื้อน้อยๆ วันละ 4 – 5 มื้อ ซึ่งรวมแล้วได้ปริมาณ ตามความต้องการของร่างกาย

การกินจนเกินอิ่ม ทำให้หัวใจรับภาระมากเกินไป อาหารเค็มจัดก็จะทำให้เกิดความดัน โลหิตสูง ซึ่งเป็นภาระของหัวใจ

นอกจากนี้ เรายังรวบรวมวิธีปฏิบัติตนตามหลักศาสตร์จีนมากฝาก มาดูกันว่ามีอะไรบ้างค่ะ

 

กินปลา, บำรุงหัวใจ, หัวใจ, ป้องกันโรคหัวใจ, โรคหัวใจและหลอดเลือด 
กินปลาเป็นประจำ ดีต่อสุขภาพหัวใจ

 

  1. ไม่ควรกินของเย็นหรือน้ำแข็งมากๆ เพราะจะทำให้หลอดเลือดหดตัว
  2. ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะไม่ดีต่อหัวใจ ยกเว้นการดื่มไวน์แดงวันละ ไม่เกิน 50 มิลลิลิตร สัปดาห์ละไม่เกิน 5 วัน
  3. ควรกินผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง โดย เฉพาะผลไม้สีเหลือง เช่น แครอต ฟักทอง มะเขือเทศ เพราะดีต่อสุขภาพหัวใจ
  4. กินปลาเป็นประจำจะมีอายุยืน เพราะหัวใจแข็งแรง
  5. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ ควรเคลื่อนไหวร่างกายช้าๆ โดยเฉพาะตอน ตื่นนอน ไม่ควรรีบลุกขึ้นทันที เพราะจะ ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลเสียต่อหัวใจ
  6. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคหัวใจไม่ควร ปล่อยให้ท้องผูกและไม่ควรเบ่งถ่ายแรงๆ เพราะการออกแรงเบ่งถ่ายมากเกินไปทำให้ มีโอกาสเสียชีวิตได้
  7. ผู้ป่วยโรคหัวใจควรพบแพทย์และ กินยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

เป็นเทคนิคการปรับวิถีชีวิตง่ายๆ ที่ไม่ว่าป่วยหรือไม่ป่วยก็อยากให้ลองนำไปปรับใช้กันดูค่ะ


บทความน่าสนใจอื่นๆ

3 ตำรับยาไทย บำรุงหัวใจ

7 สัญญาณอันตราย เสี่ยงโรคหัวใจ

ดูแล “โรคหัวใจ” ออกกำลังกายแต่พอดี

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.