ปวยเล้ง, ป้องกันโรคสมองเสื่อม, บำรุงสมอง, โรคสมองเสื่อม, สมอง

วิธีกินปวยเล้ง ป้องกันโรคสมองเสื่อม

วิธีกินปวยเล้ง ป้องกันโรคสมองเสื่อม

ชวนชาวชีวจิตมารับประทาน ปวยเล้ง เพื่อ ป้องกันโรคสมองเสื่อม กัน! ซึ่งปวยเล้งมีชื่อเรียกหลากหลาย ทั้งปวยเหล็ง สปิแนช ผักโขมจีนจนพากันสับสนว่าชื่อไหนจริง ชื่อไหนลวง

 

ประโยชน์ของปวยเล้งต่อสมอง

ปวยเล้งคือหนึ่งในผักใบเขียวที่นักวิจัยจาก Brigham and Women’s Hospital ประเทศสหรัฐอเมริกา ยืนยันว่า ช่วยชะลออาการสมองเสื่อมในคนสูงอายุได้นักวิจัยได้ทำการศึกษาโดยให้อาสาสมัครหญิงวัย 60 ปี ร่วมทำแบบทดสอบความจำและตอบคำถามเรื่องการกินอาหารในชีวิตประจำวัน

หลังจากนั้น 10 ปี นักวิจัยให้อาสาสมัครหญิงชุดเดิมทำแบบทดสอบอีกครั้ง การศึกษาพบว่า แม้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองในหญิงสูงวัยส่วนใหญ่ลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น แต่ผู้ที่กินผักใบเขียว เช่น ปวยเล้งเป็นประจำจะมีคะแนนความจำดีกว่าผู้ที่ไม่กิน

อีกทั้งยังพบว่า หากกินผักสัปดาห์ละ 8 ทัพพี สมองจะทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่กินผักน้อยกว่าสัปดาห์ละ 5 ทัพพี แม้ไม่ได้ทดลองกับเพศชาย แต่นักวิจัยเชื่อว่าจะมีผลเช่นเดียวกันพร้อมเสริมว่า นอกจากปวยเล้ง การกินบรอกโคลีและผักกาดหวาน (Romaine Lettuce) ก็ช่วยต้านโรคสมองเสื่อมได้เช่นกัน

 

ปวยเล้ง, ป้องกันโรคสมองเสื่อม, บำรุงสมอง, โรคสมองเสื่อม, สมอง
กินปวยเล้งในปริมาณที่เหมาะสม ป้องกันโรคสมองเสื่อมได้

 

วิธีกินปวยเล้งให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ศูนย์โภชนาการอาหารและสุขภาพ (The Center for Nutrition, Diet and Health) มหาวิทยาลัยแห่งเขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย (University of the District of Columbia) ประเทศสหรัฐอเมริกา แนะวิธีซื้อและเตรียมปวยเล้งก่อนปรุงอาหารตามขั้นตอนนี้เลือกซื้อ ควรเลือกลำต้นสีเขียวอ่อน มีใบใหญ่สีเขียวเข้ม ไม่ควรเลือกใบหนาสีเหลือง เพราะเป็นผักที่ใกล้เสียแล้วเก็บรักษา หากไม่ทำอาหารทันที ควรล้างทำความสะอาด แล้วเก็บในถุงพลาสติกหรือกล่องใส่อาหาร

แช่ในตู้เย็นช่องเก็บผัก สามารถเก็บได้นาน 3 - 4 วัน

เมื่อพร้อมแสดงฝีมือ ก็เลือกสัก 1 เมนู ปวยเล้งสามารถกินเป็นผักสดกับน้ำพริก หั่นใส่สลัด หรือ

ทำแกงเลียง แกงส้ม ต้มจืด สุกี้ ผัดไฟแดงก็อร่อย ได้ประโยชน์และบำรุงสมองในคราวเดียว

 

ข้อควรระวังการกินปวยเล้ง

ปวยเล้งมีประโยชน์ แต่ก็อาจก่อโทษหากกินมากเกินไป โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคนิ่วสาเหตุหนึ่งของโรคนิ่วเกิดจากร่างกายดูดซึมและขับสารออกซาเลตผิดปกติ เมื่อสารนี้สะสมจนถึงจุดอิ่มตัวจะทำให้เกิดผลึกก้อนนิ่วได้ปวยเล้งมีกรดออกซาลิก (Oxalic acid) สูง

ข้อมูลจากกลุ่มวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ กองโภชนาการ พบว่า ปวยเล้งมีกรดออกซาลิก 970มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม ในขณะที่ผักคะน้าและผักกาดหอมมีประมาณ 7.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัมเท่านั้น แม้สามารถกินกรดออกซาลิกจากอาหารได้วันละ 22,000 มิลลิกรัมหรือ 22 กรัม (สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม) โดยไม่เกิดโรค แต่เพื่อลดความเสี่ยงผู้ที่มีประวัติเป็นโรคนิ่วหรือเป็นโรคนิ่วอยู่ขณะนี้ ก็ควรหลีกเลี่ยง

รู้จักปวยเล้ง แถมวิธีกินอย่างฉลาด ไม่ว่าวัยไหนก็สมองใส ความจำแจ๋วได้ค่ะ

 

ข้อมูลจาก คอลัมน์มื้อสุขภาพ นิตยสารชีวจิต


บทความน่าสนใจอื่นๆ

คู่มือ ฉลาด กินผัก

กินผักผลไม้ แค่ไหน ให้ไกลโรค

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.