บำรุงสมอง, อาหารสมอง, สมองดี

เติมพลังสมอง เสริมพลังกาย พร้อมลุยงานได้อย่างสนุกทุกวัน

ดร.สุภัจฉรา นพจินดา
สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย

เมื่อเราเติบโตขื้นพร้อมกับการเจริญทางเทคโนโลยีที่มีทั้งอินเทอร์เน็ตและโซเชียลเน็ตเวิร์ก และจัดได้ว่าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในชีวิต คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จึงชอบที่จะแสดงออกและมีความเป็นตัวของตัวเองสูง จะเห็นว่าคนวัยทำงานมักเลือกที่จะออกแบบชีวิตตัวเอง เพราะเชื่อว่าโอกาสและความสำเร็จมีอยู่ทุกที่เพียงแต่ต้องคิดต่างและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อต่อยอดสิ่งที่ชอบให้เป็นอาชีพที่ใช่สำหรับตน พร้อมกับการได้สร้างรายได้ที่มั่นคงสำหรับตนและอาจรวมถึงการสร้างครอบครัวในอนาคตด้วย  การทำให้เกิดอาชีพต่างๆที่กำลังได้รับความนิยม อาทิ การขายของออนไลน์ นักรีวิวเกมส์ บิวตี้บล็อกเกอร์ หรือการสร้างศิลปะให้กับอาหาร แต่ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไร นอกจากจะต้องมุ่งมั่นทุมเท หมั่นเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอแล้ว สุขภาพร่างกายและพลังสมองก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพื่อการบริหารจัดการงานต่างๆ ได้อย่างมีคุณภาพควบคู่กันไป

ดังนั้นคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่จึงควรใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองให้พร้อมอยู่เสมอ โดยเฉพาะ “สุขภาพสมอง” กองบัญชาการของร่างกายที่มีความซับซ้อนและสำคัญที่สุด เนื่องจากการทำงานของสมองจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการรับรู้ ความรู้สึกและควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยส่งสัญญาณจากประสาทไปยังอวัยวะรับความรู้สึกต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อให้มนุษย์มีความจำ ความนึกคิดและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จากข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่า แม้ว่าสมองเป็นอวัยวะที่มีน้ำหนักเพียง 2% ของน้ำหนักร่างกาย  แต่ต้องการออกซิเจนไปเลี้ยง 20% ของออกซิเจนที่สูดหายใจเข้าไป โดยเลือดจะเป็นตัวนำพาเอากลูโคสและออกซิเจนซึ่งเป็นแหล่งพลังงานมาเลี้ยงสมอง โดยเฉพาะในการทำงานของสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิด ความจำ หากเราทำงานหนัก ใช้ความคิดมากๆ แต่ร่างกายได้รับอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ สมองจะเกิดความเหนื่อยล้า ความคิดความอ่านช้า ตื้อ ตัน คิดไม่ออก ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

วิธีที่จะช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพดีและสมองทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ควรเริ่มจากการรับประทานอาหารให้หลากหลาย ครบมื้อครบหมู่ตามหลักโภชนาการ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ โดยเฉพาะในกลุ่มของวิตามินบี ซึ่งมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง รวมถึงธาตุเหล็กสารอาหารจำเป็นในการขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง เพราะธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง การขาดธาตุเหล็กอาจทำให้เซลล์สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการเรียนรู้และความจำลดลง ปัจจุบันเรายังพบอีกว่าอาหารฟังก์ชั่นที่มีประวัติการบริโภคในแถบเอเชียมาอย่างยาวนาน อย่าง ซุปไก่สกัด ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนและสารไดเปปไทด์ที่พร้อมให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ทันที และยังให้สารประกอบสำคัญคือ “ไบโอ-อะมิโน เปปไทด์ คอมเพล็กซ์” มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพในระดับนานาชาติหลายฉบับรายงานว่า มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายและสมอง อาทิ ผลงานวิจัยของนักวิจัยชาวญี่ปุ่นคือ Konagai และคณะ พบว่าซุปไก่สกัดช่วยให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจได้ดีขึ้น  นอกจากนี้ Yamano และคณะ พบว่า การรับประทานซุปไก่สกัด มีผลช่วยลดอาการอ่อนเพลียลง ช่วยให้สมองฟื้นตัวจากความเหนื่อยล้าของสมองจากภาวะเครียดได้ เห็นได้จากเวลาในการคิดตัดสินใจ (Reaction time) ในการทำแบบทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของสมองในด้านการเรียนรู้ จดจำ และทำได้เร็วขึ้น

เมื่อบำรุงสมองด้วยอาหารแล้ว ก็ไม่ควรละเลยดูแลสุขภาพด้านอื่นๆด้วย ทั้งการพักผ่อนที่เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ปล่อยวางจากความเครียด ซึ่งหลักปฏิบัติเหล่านี้มีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาพทั้งกายและใจ ช่วยลดความอ่อนล้า คลายความเครียด และยังเป็นการเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และการใช้สมองได้ดีขึ้น คุณก็จะพร้อมลุยงานอย่างสนุก เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างเต็มที่ทุกวัน

—————————————-

เอกสารอ้างอิง

  • ชนิดา ปโชติการ, ศัลยา คงสมบูรณ์เวช  และอภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์. (2557). อาหารกับสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5 สำนักพิมพ์เสริมมิตร: กรุงเทพ.
  • Konagai C, Watanabe H, Abe K, Tsuruoka N, Koga Y. Effects of essence of chicken on cognitive brain function: a near-infrared
  • spectroscopy study. Bioscience, biotechnology, and biochemistry. 2013; 77(1): 178-81.
  • Yamano E, Tanaka M, Ishii A, Tsuruoka N, Abe K, Watanabe Y. Effects of chicken essence on recovery from mental fatigue in
  • healthy males. Medical Science Monitor. 2013; 19: 540-7.
  • Geissler, C., Harada, M., Williams, A., et al., “Effects of chicken extract on iron status: animal and human studies”. The 5th International Symposium on Clinical Nutrition: Training Course in Clinical Nutrition. 1996, Bangkok: 1 – 10.
  • Li Y, He R, Tsoi B, Kurihara H. Bioactivities of chicken essence. Journal of food science. 2012; 77(4): R105-R10.

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.