แพทย์แผนจีน กับอาหารสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคไต

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต

อาหารสุขภาพที่จะแนะนำในบทความนี้จะมุ่งเน้นไปที่ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังหรือ อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต ในทัศนะแผนปัจจุบัน (แพทย์แผนจีนมองว่าโรคไตวายเรื้อรังมีพื้นฐานจากความเสื่อมพร่องของม้ามและไต) คือ ภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่อย่างเรื้อรังทำให้เกิดการคั่งของของเสียและน้ำ การทำงานของไตลดลงเหลือตั้งแต่ 25 – 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง กรวยไตอักเสบเรื้อรัง และไขมันในเลือดสูงเป็นเวลานาน ๆ

“ไต”

ในความหมายแพทย์จีนมีความหมายที่กว้าง ไม่ได้หมายถึงอวัยวะไต โรคเกี่ยวกับไตจึงไม่ได้หมายถึงไตอักเสบหรือไตวายเรื้อรังแต่ครอบคลุมถึงต่อมหมวกไต ระบบฮอร์โมน ระบบสืบพันธุ์ระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะหยิน – หยาง (ร้อน – เย็นของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย) และระบบประสาทอัตโนมัติ ฯลฯ

แม้ว่าผู้ป่วยบางรายจะอยู่ระหว่างการรักษาโดยการ “ล้างไต” โดยเครื่องไตเทียมหรือใช้การล้างไตโดยผ่านทางช่องท้อง การดูแลสุขภาพโดยการปรับเร่อื งของอาหาร ปริมาณโปรตีน แร่ธาตุ เช่น โซเดียม โพแทสเซียมแมกนีเซียม ฟอสฟอรัสก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันเพื่อลดผลที่ข้างเคียงจากการฟอกเลือดรวมถึงลดอาการต่าง ๆ จากภาวะเสียสมดุลของสารอาหารในร่างกายโดยควรปฏิบัติตนดังนี้

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต
เลือดหมู ช่วยบำรุงเลือดกุยช่ายใบเขียว ช่วยล้างลำไส้ ศาสตร์แพทย์แผนจีน

 

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

  • เสริมบำรุงโปรตีนให้พอ แต่ต้องควบคุมไม่ให้มากเกินไป เพื่อเป็นการลดการทำงานของไต ป้องกันภาวะฟอสเฟตสูง กรณีที่ไขมันในเลือดสูงให้หลีกเลี่ยงการรับประทานโปรตีนจากสัตว์ เลือกรับประทานโปรตีนจากปลา โดยทั่วไปจำกัดโปรตีนไม่ให้เกิน 20 – 25 กรัมต่อวัน
  • งดเว้นการรับประทานอาหารประเภทไขมันหรืออาหารรสหวานจัด มีปริมาณน้ำตาลสูง
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต
เลือดหมู ช่วยบำรุงเลือด กุยช่ายใบเขียว ช่วยล้างลำไส้ ศาสตร์แพทย์แผนจีน
  • ควบคุมอาหารรสเค็ม ผงชูรส ซอส น้ำปลาเกลือ กินอาหารรสธรรมชาติไม่ปรุงแต่ง อาจใช้เครื่องเทศกลิ่นหอมเพื่อปรุงเพิ่มรสชาติของอาหารให้อร่อยแทน
  • ควบคุมโพแทสเซียมซึ่งมีมากในซุปเข้มข้นผักผลไม้สด ปลาดิบ (ปริมาณข้นึ กับผลเลือดและตามคำแนะนำของแพทย์)
  • ควบคุมฟอสฟอรัส ซึ่งพบในกระดูกอ่อนธัญพืชเนื้อในเมล็ดต่างๆ เช่น ถั่วเมล็ดแห้งเมล็ดทานตะวัน ไข่ปลา ไข่แดงกุ้งปู (ปริมาณขึ้นกับผลเลือดและตามคำแนะนำของแพทย์)

อีกสิ่งที่ต้องจดจำคือโปรตีนที่มากทำให้เกิดของเสียเพิ่ม ภาระการขับถ่ายของไต ส่วนอาหารทะเลหม้อไฟจะอุดมด้วยสารพิวรีน (purine) ทำให้เกิดความเป็นกรดในเลือดทำให้กรดยูริกเพิ่มขึ้น มีโอกาสเกิดโรคเกาต์แทรกซ้อนได้ง่าย

สรรพคุณวัตถุดิบ

  • เลือดหมู มีส่วนประกอบธาตุเหล็กที่ดูดซึมง่าย และมีส่วนประกอบโปรตีนช่วยบำรุงเลือด
  • กุยช่ายใบเขียว(韭菜)มีอีกชื่อหนึ่งว่าหญ้าทำให้กำเนิดหยางพลังร้อนหรือพลังทางเพศ(起阳草,壮阳草)ฤทธิ์ อุ่นร้อนรสเผ็ดบำรุงม้าม กระเพาะอาหารอุ่นไต ขับพิษ กระจายเลือด ช่วยขับถ่าย (มีกากใย) เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไตที่มีภาวะหยางพร่องขี้หนาว ไม่เหมาะสำหรับคนที่มีภาวะหยินพร่องขี้ร้อน ใบกุยช่ายชนิดนี้มีส่วนประกอบของแคลเซียม เหล็กฟอสฟอรัส ในทางแพทย์จีนจัดเป็นอาหารที่ช่วยล้างลำไส้ เพราะมีไฟเบอร์สูง อุ่นบำรุงไต เสริมร้อน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตที่เลือดจาง ร่างกายหนาวง่าย

ส่วนกุยช่ายขาวหรือเหลือง (韭黄) ฤทธิ์อุ่นร้อนน้อยกว่ากุยช่ายใบเขียว(韭菜การกระตุ้นให้เกิดร้อนหรือการไหลเวียนเลือดรุนแรงน้อยกว่า สตรีมีครรภ์อ่อนหลีกเลี่ยงการรับประทานกุยช่ายใบเขียวให้เลือกรับประทานกุยช่ายขาวแทน

โดย : แพทย์จีน นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล อุปนายกและเลขาธิการสมาคมแพทย์แผนจีนประเทศไทย (www.samluangclinic.com)

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.