แก้โรคกรดไหลย้อน แบบง่ายๆ หยุดมะเร็งในอนาคต

แก้โรคกรดไหลย้อน ด้วยยาฝรั่งและการปรับไลฟ์สไตล์ แบบปลอดภัย

แก้โรคกรดไหลย้อน ด้วยอะไรดี คำถามโลกแตกนี้ เรามีคำตอบ โดยเรามีทั้งสาเหตุของอาการและกระบวนการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันที่ปลอดภัยและไว้วางใจได้

อาการกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease – GERD) รู้จักกันทั่วไปว่าอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ (Heartburn) เกิดจากเอนไซม์และกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนผ่านหูรูดส่วนกลางของหลอดอาหาร ซึ่งกล้ามเนื้อส่วนนี้จะทำงานโดยการบีบตัวหรือคลายตัวป้องกันไม่ให้เกิด อาการกรดไหลย้อน

หากกล้ามเนื้อส่วนนี้คลายตัวผิดเวลาก็จะทำให้สิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนออกมา ทำให้ผนังหลอดอาหารอักเสบเป็นแผล หากเกิดขึ้นเป็นเวลานาน กรดจะทำลายเนื้อเยื่อส่วนของหูรูดและผนังหลอดอาหารอย่างถาวร และอาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งในที่สุด

รู้จักกรดไหลย้อนหรือยัง

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สมชาย ลีลากุศลวงศ์ สรุปให้ฟังง่ายๆ ว่า ภาวะกรดไหลย้อนคือภาวะที่เกิดจากการไหลของสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกรดน้ําย่อย หรือแก๊สย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร จนรบกวนการใช้ชีวิต เนื่องจากอาการดังต่อไปนี้
-แสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางหน้าอก
-มีความรู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปากและคอ
-มีอาหารย้อนขึ้นมาในปากและคอ
-อาจมีอาการเจ็บคอ ไอเรื้อรังไม่มีสาเหตุ เจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ มีกลิ่นปาก และโรคหืดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
หากมีอาการข้างต้นสามารถให้การวินิจฉัยโรคได้เลยโดยไม่จําเป็นต้องส่องกล้อง ยกเว้นกรณีที่รักษาแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการเตือนดังนี้ เบื่ออาหาร เลือดออกในทางเดินอาหาร(อุจจาระดํา อาเจียนเป็นเลือด) ปวดท้องอย่างรุนแรง และมีอาการกลืนติด กลืนเจ็บ

3 วิธีหนีห่างอย่างไร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงมณฑิรา มณีรัตนะพร ได้แนะนําวิธีการรักษาไว้ 3 วิธี ดังต่อไปนี้
1. รักษาโดยไม่ใช้ยา
เช่น การลดน้ําหนักในผู้ป่วยที่อ้วน งดสูบบุหรี่ งดรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่กระตุ้นอาการโดยเฉพาะแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน นอนศีรษะสูง หรือนอนตะแคงซ้ายในผู้ที่มีอาการตอนกลางคืน เป็นต้น
2. รักษาด้วยยา
มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม ได้แก่
2.1 ยาลดการหลั่งกรด ได้แก่ ยากลุ่ม Proton Pump Inhibitor(PPI) และกลุ่ม H2 Receptor Antagonist(H2RA) จัดเป็นยามาตรฐาน เหมาะสําหรับผู้ที่มีอาการเกิดขึ้นบ่อยๆ หรือมีอาการเป็นประจํา
2.2 ยาที่ใช้ระงับอาการ เช่น Alum Milk หรือยากลุ่ม Alginate เช่น Alginic Acid เหมาะสําหรับผู้ที่มีอาการไม่บ่อยนัก สามารถใช้เป็นยาเดี่ยวได้ หรือใช้เป็นยาเสริมกรณีที่ใช้ยากลุ่มแรกแล้วยังมีอาการอยู่ เนื่องจากออกฤทธิ์เร็ว ระงับอาการได้ทันที
3. รักษาด้วยการส่องกล้องหรือการผ่าตัด ใช้ในกรณีที่มีอาการรุนแรง และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองท่านแนะนําว่า การรักษาด้วยยาควรทําควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการรับประทานยาลดกรด และหากมีข้อสงสัยหรืออาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์

ข้อระวังในการใช้ยา

แม้พบว่า ยังไม่มีผลเสียร้ายแรงจากการกินยาเหล่านี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน แต่ก็ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ โดยให้ข้อมูลจําเป็นแก่แพทย์ขณะจ่ายยาเสมอ กลุ่มยายับยั้งการหลั่งกรด เช่น Proton Pump Inhibitor และ H2 Receptor Antagonist ควรระวัง ในผู้ที่แพ้ยา มีแผนหรือกําลังตั้งครรภ์ ให้นมบุตร เป็นโรคตับ และยากลุ่มนี้อาจทําให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ท้องผูก ผมร่วง ปวดศีรษะ ซึ่งควรแจ้งแพทย์ ในการจ่ายยาครั้งต่อไป เพื่อปรับเปลี่ยนหรือเลือกชนิดยาให้เหมาะสม
ในส่วนของยา Alum Milk ควรให้ข้อมูลจําเป็น แก่แพทย์ดังนี้ ประวัติแพ้ยา เป็นโรคไต ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ท้องผูกเป็นระยะเวลานาน มีฟอสเฟตในกระแสเลือดต่ํา ผู้ที่กินยาบํารุงเลือดที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ กินยารักษาโรคหัวใจ เป็นต้น
และควรพบแพทย์ทันทีหากก่อให้เกิดอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง หน้าบวม วิงเวียนศีรษะ อุจจาระสีดํา ทั้งนี้แพทย์ทั้งสองท่านยังแนะนําว่า หากกินยาเหล่านี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน แล้วยังไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาถึงการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การผ่าตัด เป็นต้น
แก้โรคกรดไหลย้อน, ออกกำลังกาย, กรดไหลย้อน, โรคกรดไหลย้อน

ปรับไลฟ์สไตล์ ไกลโรค

แพทย์ทั้งสองท่านได้ให้ข้อแนะนําในการบรรเทาอาการของโรคกรดไหลย้อน เพื่อนําไปปฏิบัติคู่กับการรักษาด้วยยาไว้ดังนี้

อาหารการกิน

หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน อาหารรสเผ็ดหรือเปรี้ยวจัด และผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจัด เช่น ส้ม มะนาว มะขาม มะยม รวมถึงของดองทุกชนิด หากสามารถงดชา กาแฟ น้ําอัดลม และช็อกโกแลตได้ด้วยยิ่งดี งดแอลกอฮอล์ทุกชนิด เช่น เหล้า ไวน์ เครื่องดื่มมึนเมา รวมถึงบุหรี่
ออกกําลังกาย
นอกจากจะช่วยให้สุขภาพดี คลายเครียดได้แล้ว การที่เรารักษาน้ําหนักให้สมส่วนไม่มากเกิน ช่วยให้ไม่เกิดแรงดันในช่องท้อง อันจะทําให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ ที่สําคัญคือ อย่ากินจนเกินอิ่ม ไม่ควรเข้านอนหรือเอนกายทันทีหลังกินอาหาร ควรเว้นระยะเวลาไว้สัก 3 ชั่วโมง และเวลานอนควรยกศีรษะให้สูงและใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบายจะช่วยให้อาการดีขึ้น นับเป็นกิจกรรมดีๆ ที่เน้นย้ําให้ตระหนักถึงความสําคัญของการดูแลสุขภาพ แม้กรดไหลย้อนจะไม่ใช่โรคอันตราย แต่ก็สร้างความรําคาญและส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตพอสมควร ดังนั้นสู้ไม่ป่วยเลยจะดีที่สุดค่ะ
หากไม่เต็มอิ่มกับเรื่องโรคและการดูแลร่างกาย ลองไปติดตามงานนี้กันได้เลยค่ะ
แก้โรคกรดไหลย้อน, ออกกำลังกาย, กรดไหลย้อน, โรคกรดไหลย้อน

บทความอื่นที่น่าสนใจ

สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.